การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) : อาการ สาเหตุ การักษา

การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) : อาการ สาเหตุ การักษา

12.11
2623
0

การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Prenancy) เกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงเกิดการตั้งครรภ์แต่ตัวอ่อนไปฝังตัวในเยื่อบุมดลูกนอกตำแหน่งปกติ ซึ่งทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติจึงทำให้เกิดอันตรายต่อผู้หญิงที่ตั้งครรภ์

Ectopic Pregnancy

อาการตั้งครรภ์นอกมดลูก

ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกในระยะเริ่มต้นมีลักษณะเหมือนกับการตั้งครรภ์ตามปกติทั่วไป โดยผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะมีผลการตรวจการตั้งครรภ์เป็นบวก

นอกจากนี้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะไม่มีรอบเดือนและอาจมีอาการคลื่นไส้ หน้าอกหนาขึ้นและบางครั้งมักจะมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย

หลังจากที่เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกประมาณ 4 ถึง 10 สัปดาห์มักจะเริ่มแสดงอาการของการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติเกิดขึ้น

โดยมีลักษณะอาการดังต่อไปน้ี : 

  • เจ็บที่ข้างใดข้างหนึ่งของช่องท้อง : อาการปวดอาจจะรุนแรงและมีอาการมากขึ้นตามลำดับ
  • มีเลือดออกในช่องคลอด : เลือดที่ออกมาจากช่องคลอดจะเป็นสีแดงจางๆหรือสีแดงเข้มก็ได้แต่มักจะหนืดน้อยกว่ารอบเดือนปกติ หากผู้หญิงไม่ทราบว่าตนมีการตั้งครรภ์ก็อาจจะคิดว่าเป็นรอบเดือนที่มาตามปกติ
  • อาการปวดหัวไหล่ อาการนี้มักเป็นสัญญาณของการมีเลือดออดที่อวัยวะภายใน โดยภาวะเลือดออกนี้มักจะส่งผลต่อเส้นประสาท phrenic nerve เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดบริเวณไหล่
  • มีอาการปวดเมื่อปัสสาวะหรืออุจจาระ : อาการนี้อาจจะบ่งบอกถึงภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • เป็นลมหรือล้มลงหมดสติ : ในกรณีที่ท่อนำไข่เกิดการแตกทะลุจะเป็นสาเหตุทำให้หญิงตั้งครรภ์มีอาการหน้ามืดเป็นลมหรืออาจล้มลงหมดสติก็ได้ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

อาการแสดงอื่นๆที่พบได้จากการที่มีเลือดออกในอวัยวะภายใน มีดังนี้ :

  • อาการวิงเวียนศรีษะ
  • หน้ามืด
  • ท้องเสีย
  • ผิวหนังซีด

การที่ท่อนำไข่เกิดการแตกทะลุสามารถเกิดได้ในช่วงระหว่าง 6 ถึง 16 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์นอกมดลูก หากมีการแตกทะลุของท่อนำไข่ก็ควรที่จะทำการรักษา

ไข่ที่เกิดการปฏิสนธิแล้วไม่จะสามารถมีชีวิตรอดภายนอกมดลูกได้ ดังนั้นตัวอ่อนเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกก็จะไม่สามารถมีชวิตรอดได้เช่นเดียวกันซึ่งไม่ควรรักษาภาวะการตั้งครรภ์นี้ไว้

การรักษาการตั้งครรภ์นอกมดลูก

หากมีการวินิจฉัยว่ามีภาวะท้องนอกมดลูกก่อนที่จะมีการแตกทะลุของท่อนำไข่จะสามารถรักษาได้ตามแนวทางในการรักษา ดังนี้

การผ่าตัด

การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (Keyhole surgery) สามารถทำโดยการนำเอาชิ้นส่วนเนื้อเยื่อที่เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกออกไป หรือที่เรียกกันว่า laparoscopy คือการใช้กล้องส่องเข้าไปดูอวัยวะในอุ้งเชิงกรานเพื่อทำการผ่าตัด 

ในการผ่าตัดแบบ laparoscopy ศัลยแพทย์จะทำการกรีดแผลขนาดเล็กๆ บริเวณสะดือจากนั้นจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า laparoscope เพื่อเข้าไปดูอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานเพื่อทำการผ่าตัด

การผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น การสอดท่อโดยการกรีดแผลขนาดเล็กๆเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อที่อยู่นอกมดลูกออกไป 

บริเวณท่อทำไข่ที่เกิดพยาธิสภาพของโรค ศัลยแพทย์อาจจะทำการซ่อมแซมโดยในขั้นตอนการผ่าตัดอาจจะมีการเอาท่อนำไข่ส่วนที่เกิดความเสียหายออก

การตั้งครรภ์ตามปกติจะยังคงสามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณท่อนำไข่ที่ยังคงสภาพปกติดี

หากมีภาวะเลือดออกภายในที่รุนแรงเกิดขึ้นอาจจะทำการผ่าตัดโดยกรีดแผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งเรียกว่าการผ่าตัดเปิดช่องท้อง (laparotomy)

การรักษาโดยใช้ยา 

การรักษาโดยการใช้ยาอาจจะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีการตรวจพบการตั้งครรภ์นอกมดลูกในระยะเริ่มต้น 

แพทย์จะทำการฉีดยา methotrexate เข้ากล้ามเนื้อของผู้ป่วยหรือฉีดเข้าสู่บริเวณท่อนำไข่เพื่อทำให้เซลล์หยุดการเจริญเติบโตและเกิดการสลายของเซลล์ตามมา ในกรณีที่ระดับฮอร์โมน hCG ในเลือดยังไม่ลดลงผู้ป่วยอาจจะต้องได้รับการฉีดยาซ้ำเข้าไปอีกครั้ง

อาการไม่พึงประสงค์จากยา methotrexate มีดังนี้ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีแผลในช่องปาก ในระหว่างที่ทำการรักษาหากผู้ป่วยมีการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปริมาณมากจะทำให้ประสิทธิภาพของยา methotrexate ลดลง

แพทย์บางท่านอาจจะแนะนำให้รอจนเกิดการยุติการตั้งครรภ์นอกมดลูกเองโดยไม่ได้ทำการรักษาด้วยวิธีอื่นใด

ข้อสรุปเกี่ยวกับการตั้งครรภ์นอกมดลูก

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูกเกี่ยวข้องกับการเจริญของตัวอ่อนบริเวณนอกมดลูกซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์
  • ตัวอ่อนจะไม่สามารถมีชีวิตรอดได้จากการท้องนอกมดลูก อย่างไรก็ตามหากผนังของตัวอ่อนมีการแตกทะลุขึ้นจะทำให้เกิดอันตรายตามมาและจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
  • ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก ประกอบไปด้วย การมีประวัติติดเชื้อบริเวณท่อนำไข่ เช่น มีภาวะปีกมดลูกอักเสบ การสูบบุหรี่ มีประวัติภาวะมีบุตรยาก มีการคุมกำเนิดโดยใช้ห่วงอนามัย การใช้ยา รวมไปถึงเป็นผู้ที่มีอายุเยอะ
  • วิธีรักษาท้องนอกมดลูกใช้วิธีการกล้องส่องเข้าไปดูอวัยวะในอุ้งเชิงกรานเพื่อทำการผ่าตัด (laparoscopic surgery) นอกจากนี้ยังรักษาโดยการใช้ยา methotrexane 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *