ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (Ganglion Cyst) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (Ganglion Cyst) : อาการ สาเหตุ การรักษา

12.05
8360
0

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (Ganglion Cyst) คือถุงขนาดเล็ก ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายและเต็มไปด้วยของเหลว ถุงชนิดนี้มักเกิดขึ้นใกล้กับข้อต่อ หรือส่วนที่ห่อหุ้มเอ็นเอาไว้

ซีสต์เหล่านี้มักเกิดขึ้นที่ข้อมือ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นบริเวณมือ ข้อเท้า เท้า หรือหัวเข่า ได้เช่นกัน รูปร่างลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ ใต้ผิวหนัง

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ไม่ใช่มะเร็งและโดยปกติจะไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวด เคลื่อนไหวข้อต่อได้ลำบาก หรือรู้สึกว่าทำให้ร่างกายไม่น่าดู ต้องพบแพทย์เพื่อนำออกไป

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ส่วนมากพบในผู้ที่มีอายุระหว่าง 15–40 ปีและมักเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยสาเหตุของการเกิดยังคงเป็นเรื่องที่ไม่ทราบอย่างแน่ชัด

สาเหตุของก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

แพทย์ยังไม่ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดของก้อนถุงน้ำที่ข้อมือได้ อาจเกิดจากของเหลวบริเวณข้อต่อรั่วออกมา

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือมีแนวโน้มจะยึดติดกับเยื่อหุ้มข้อ หรือปลอกเอ็น ก้องถุงน้ำยังสามารถลุกลามไปข้อต่อหรือเส้นเอ็นจนโป่พองงออกมาได้

อาการก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

แม้ว่าจะยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน แต่คาดว่าความเครียดอาจเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดซีสต์ได้ โดยเฉพาะบริเวณของร่างกายที่ใช้งานมากเกินไป หรือเกิดการบาดเจ็บ

เมื่อเกิดการรั่วไหลของน้ำออกจากไขข้อหรือข้อต่อ ก็จะกระจายออกไปยังบริเวณโดยรอบ

แต่ยังไม่สามารถหาสาเหตุทีทำให้เกิดอาการได้ชัดเจน

การรักษาก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือมักไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา หากอาการไม่ทำให้รู้สึกไม่สบาย หรือเจ็บปวด ผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่งสามารถหายได้เองโดยไม่มีอาการอื่น ๆ แทรกแซง แต่บางคนอาจใช้เวลาหลายปีกว่าอาการจะหายสนิท

แพทย์แนะนำรูปแบบการรักษาเพิ่มเติม หากถุงน้ำกดทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวด

เคล็ดลับและวิธีดูแลที่บ้าน

หากถุงน้ำทำให้รู้สึกไม่สบายสามารถแก่ไขด้วยตนเองได้ ดังนี้:

การปรับขนาดรองเท้า: หากถุงน้ำอยู่ที่เท้า หรือข้อเท้าไม่ควรถู หรือสัมผัสกับรองเท้าให้ระคายเคือง ควรเลือกสวมรองเท้าที่นุ่ม หรือไม่คับ มีการใส่แผ่นรอง หรือผูกเชือกรองเท้าหลวม ๆ

การตรึงให้เคลื่อนไหวไม่ได้: การเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ จะทำให้ขนาดของถุงน้ำขยายเพิ่มขึ้นได้ การใส่เฝือกหรือสายรั้งจะช่วยควบคุมการเคลื่อนไหว และอาจช่วยให้ถุงน้ำหดตัวลงได้

การบรรเทาอาการปวด: หากถุงน้ำทำให้รู้สึกเจ็บปวด สามารถใช้ยาแก้ปวดที่แพทย์ไม่ต้องสั่ง อย่างยาไอบูโพรเฟนบรรเทาอาการได้

มีความเชื่อแบบดั้งเดิมว่าการรักษาก้อนถุงน้ำที่ข้อมือให้ใช้ของหนัก ๆ เช่น หนังสือตีบริเวณที่บวม ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าวิธีการดังกล่าวมีความปลอดภัย หรือสามารถรักษาอาการได้ แพทย์จึงไม่แนะนำเพราะอาจเกิดอันตรายกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกายรอบถุงน้ำได้

ผู้มีอาการไม่ควรพยายาม“ เจาะ” ถุงน้ำด้วยตนเอง  เนื่องจากอาจนำไปสู่การติดเชื้อ และไม่สามารถแก้ไขอาการได้

หากผู้มีอาการรู้สึกไม่สบายมาก ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการรักษา

ganglion cyst

การกำจัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

ผู้มีอาการก้อนถุงน้ำที่ข้อมือมากกว่า 50% สามารถหายได้เอง โดยไม่เข้ารับการรักษา แต่หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่ก็จะรู้สึกเจ็บปวด หรือก่อให้เกิดปัญหาได้ แพทย์อาจแนะนำให้กำจัดออกด้วยเทคนิคใดเทคนิคหนึ่ง ต่อไปนี้:

การใช้อากาศ: คือการใช้อากาศเข้ามาทดแทนของเหลวที่อยู่ใน แต่เนื่องจากโครงสร้างของถุงน้ำยังคงอยู่ จึงอาจเกิดอาการซ้ำใหม่ได้ ผู้มีอาการบางคนต้องเข้ารับการผ่าตัดหลายครั้ง

การผ่าตัด: ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดเป็นแผลขนาดเล็กเพื่อนำถุงน้ำและส่วนที่ยื่นออกมาออกไปได้ การผ่าตัดมีขนาดแค่รูกุญแจ หรือผ่าตัดด้วยกล้องจุลทรรศน์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี 2549 พบว่าประมาณ 30% ของถุงน้ำสามารถกลับมาเป็นซ้ำหลังการผ่าตัดได้

อย่างไรก็ตามนักวิจัยปี 2557 ตั้งข้อสังเกตว่าการผ่าตัดด้วยอาจเป็นหนทางในการแก้ไขก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เพราะไม่ทำให้เกิด แผลเป็น(Scars)

การฟื้นฟูอาการ

หลังเข้ารับการผ่าตัดผู้ป่วยควรปกปิดบริเวณแผลผ่าตัดเอาไว้ และป้องกันไม่ให้ถูกกระแทก โดยมีเคล็ดลับในการดูแลแผล ดังนี้ :

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
  • ใส่เฝือก 2 – 3 วัน กรณีที่เกิดถุงน้ำที่มือหรือข้อมือ
  • ใช้ยาบรรเทาอาการปวดที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์หากจำเป็น
  • ยกแขนขาขึ้นเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการบวม
  • หากยังรู้สึกไม่สบาย ให้รีบไปพบแพทย์

ปัจจัยเสี่ยงของก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึง:

อายุและเพศ: ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือสามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้ตลอดเวลา แต่ส่วนมากมักเกิดในเพศหญิงอายุระหว่าง 15-40 ปี

การใช้งานหนักเกินไป: ผู้ที่ใช้ข้อต่ออย่างรุนแรงอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือได้ ตัวอย่างเช่น นักยิมนาสติกหญิงอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดถุงน้ำชนิดนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป

การบาดเจ็บบริเวณข้อต่อหรือเส้นเอ็น: ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือประมาณ 10% เกิดขึ้นบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บมาก่อน

เคยได้รับบาดเจ็บ: อาจเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์เดียว หรืออาการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง

การวินิจฉัยโรคก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

แพทย์อาจฉายแสงผ่านถุงน้ำเพื่อตรวจดูว่าถุงน้ำมีลักษณะโปร่งใสหรือทึบแสง ภายในก้อนถุงน้ำที่ข้อมือของเหลวจะใสและปริมาณมาก

การสแกนภาพ เช่น เอ็กซ์เรย์ อัลตราซาวนด์ หรือ MRI ช่วยให้แพทย์ระบุสาเหตุของก้อนน้ำ จากปัญหาอื่น ๆ ได้

สรุปภาพรวมก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

ถุงปมประสาทก้อนถุงน้ำที่ข้อมือไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง แต่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หรือมีข้อ จำกัดในการเคลื่อนไหว ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อข้อคำแนะนำในการรักษา

การผ่าตัดอาจทำให้เกิดแผลเป็น และมีความเสี่ยงที่ถุงน้ำจะกลับมาเป็นใหม่อีกครั้ง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *