โรคต้อหิน (Glaucoma) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคต้อหิน (Glaucoma) : อาการ สาเหตุ การรักษา

06.10
5561
0

โรคต้อหิน (Glaucoma) คือการที่ความดันตาสูงทำให้เส้นประสาทภายในดวงตาถูกทำลาย 

จากโครงสร้างตามีบริเวณช่องว่าขนาดเล็กที่อยู่ตรงหัวตาเรียกว่าช่องหน้าลูกตา (anterior chamber) ซึ่งในบริเสณนี้จะมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ใกล้กับเนื้อเยื่อที่ชุ่มไปด้วยน้ำ หากผู้ป่วยเป็นโรคต้อหินในดวงตาน้ำที่หล่อเลี้ยงบริเวณหัวตาจะค่อยๆไหลออกจากดวงตาจึงทำให้ของเหลวเหล่านี้เกิดขึ้นปริมาณมากเเละทำให้ความดันภายในดวงตาเพิ่มมากขึ้น  

นอกจากนี้ถ้าหากความดันสูงขึ้นเเละลดลงจนควบคุมได้แล้วเส้นประสาทของตาและส่วนอื่นๆของดวงตาได้รับความเสียหายซึ่งนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้ 

โดยปกติโรคต้อหินสามารถเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้าง แม้ว่าดวงตาข้างใดข้างหนึ่งจะมีอาการรุนเเรงกว่าอีกข้างหนึ่ง 

สาเหตุของโรคต้อหิน

ผู้เชี่ยวชาญยังไม่เเน่ใจเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต้อหินในดวงตาแต่อาการต้อหินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังต่อไปนี้ 

  • อาการต้อหินเฉียบพลันหมายถึงต้อหินที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อาการต้อหินทุติยภูมิหมายถึงต้อหินที่เกิดขึ้นจาสาเหตุดังต่อไปนี้เช่นอาการบวม โรคเบาหวาน โรคต้อกระจกชนิดรุนเเรงหรือการติดเชื้อ  

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหินมีหลายปัจจัยได้แก่ 

  • ผู้สูงอายุ
  • ภูมิหลังทางเชื้อชาติเช่นผู้ที่มีเชื้อชาติเอเชียตะวันออก แอฟริกา อเมริกันและสเปนมักมีความเสี่ยงเป็นโรคต้อหินสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคนเชื้อชาติคอเคเซี่ยน
  • ผู้ที่เจ็บป่วยเเละเป็นโรคเช่นโรคเบาหวานและโรคต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
  • ดวงตาได้รับการบาดเจ็บหรือเกิดโรคเกี่ยวกับดวงตา
  • การผ่าตัดศัลยกรรมตา
  • ภาวะที่แสงจากวัตถุตกบริเวณหน้าจอรับภาพในตา

การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

ผู้ป่วยที่ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นระยะเวลายาวนานมักมีอาการร้ายเเรงหลายอย่างเกิดขึ้นได้รวมถึงโรคต้อหินในดวงตา ซึ่งผู้ที่ใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์มักมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น

ประเภทของโรคต้อหิน

ต้อหินเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นภายในดวงตา 

ประเภทของโรคต้อหินแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆได้แก่ต้อหินมุมเปิดเเละต่อหินมุมปิด 

ต้อหินมุมปิด (ต้อหินมุมปิดเเบบเฉียบพลัน)

โรคต้อหินชนิดนี้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันในผู้ป่วยที่มีเคยมีอาการเจ็บปวดในดวงตาและสูญเสียการมองเห็นแบบเฉียบพลัน

โชคดีที่อาการเจ็บปวดเหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการไปพบเเพทย์และผลจากการรักษาทันทีสามารถช่วยป้องกันอาการเจ็บปวดรุนเเรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้  

อาการเบื้องต้นของต้อหินมุมเปิด (โรคต้อหินแบบเรื้อรัง)

โรคต้อหินประเภทนี้มีกระบวนการเกิดขึ้นอย่างช้าๆซึ่งผู้ป่วยจะไม่สามารถสังเกตุอาการใดๆได้จนกระทั่งเกิดการสูญเสียการมองเห็น โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อหินชนิดนี้หากปล่อยไว้แล้วไม่รักษาสามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บรุนเเรงแบบถาวรได้

โรคต้อหินความดันต่ำ

โรคต้อหินชนิดนี้พบได้น้อยมากซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคต้อหินชนิดนี้ผู้เชี่ยวชาญยังไม่มั่นใจว่าเกิดจากอะไร แม้ว่าความดันภายในดวงตาเป็นปกติเเต่เส้นประสาทที่ถูกทำลายยังสามารกเกิดขึ้นได้เนื่องจากเลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงในเส้นประสาทของตาลดลง 

ต้อหินที่เกิดจากเม็ดสีของตาหลุดไปอุดท่อระบายน้ำที่หล่อเลี้ยงดวงตา

โดยทั่วไปโรคต้อหินแบบมุมเปิดชนิดนี้เกิดในคนวัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือตอนกลาง 

เซลล์เม็ดสีที่เกิดขึ้นในม่านตาเกิดการแพร่กระจายไปทั่วภายในดวงตา ถ้าหากเซลล์ชนิดนี้เกิดขึ้นในท่อน้ำที่หล่อเลี้ยงลูกตาเม็ดสีเล่านี้สามารถหลุดเข้าไปอุดท่อระบายน้ำจึงทำให้ความดันตาสูงขึ้น 

อาการของต้อหินมีอะไรบ้าง

สัญญาณเเละอาการของต้อหินแบบมุมเปิดและปิดมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้อาการต้อหินมุมปิดที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลันค่อนข้างมีความแตกต่างอีกด้วย 

อาการเบื้องต้นของต้อหินแบบมุมเปิดมีดังต่อไปนี้

  • การมองเห็นภาพค่อนๆเลื่อนหายไป โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับตาทั้งสองข้าง  
  •  โรคต้อหินขั้นรุนแรงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นไปได้

อาการของต้อหินแบบมุมปิดได้แก่ 

  • อาการปวดตาอย่างรุนเเรง
  • มีอาการเห็นภาพไม่ชัด
  • มีอาการเจ็บปวดตาซึ่งมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
  • มองเห็นเเสงเกิดขึ้นภายในตา
  • มีอาการตาเเดง
  • มีปัญหามองเห็นภาพไม่ชัดเจนโดยเฉพาะในที่ที่มีเเสงน้อย 

การรักษาโรคต้อหิน

การรักษาต้อหินทำได้ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำที่หล่อเลี้ยงภายในดวงตาหรือลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงหรือสามารถทำได้ทั้งสองวิธี

การใช้ยาหยอดตาเพื่อรักษาอาการต้อหิน

โดยส่วนใหญ่การรักษาอาการต้อหินมักเริ่มต้นด้วยการใช้ยาหยอดตา

เนื่องด้วยการรักษาต้อหินด้วยการใช้ยาหยอดตามีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดและเป็นการป้องกันผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ควรใช้ยาหยอดตาตามคำแนะนำของเเพทย์

ตัวอย่างของยาหยอดตาได้แก่

  • ยาโปรสตาแกลนดินอานาลอก (prostaglandin analogues) 
  • กลุ่มยา carbonic anhydrase inhibitors
  • ยาพวกโคลิเนอร์จิค (cholinergic agents)
  • ยาต้านเบต้า (beta blockers)

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาหยอดตาได้แก่อาการตาเเดง ขนตายาวและดวงตาเปลี่ยนสี นอกจากนี้บางครั้งยังสามารถทำให้เกิดจอประสาทหลุดลอกและทำให้หายใจลำบาก ถ้าหากใช้ยาหยอดตารักษาเเล้อาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์จะสั่งให้ทานยากลุ่ม oral carbonic anhydrase inhibitor

เนื่องจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาเกิดขึ้นได้น้อยกว่าหากทานยาหลังมื้ออาหาร โดยผลข้างเคียงเบื้องต้นได้แก่อาการชาที่ปลายนิ้วมือเเละนิ้วเท้าและปวดปัสสาวะบ่อย อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้สามารถหายไปได้เองภายในไม่กี่วัน  

โดยทั่วไปมักจะไม่มีอาการผื่นขึ้น มีนิ่วในไต ปวดท้อง น้ำหนักลด เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ร่างกายอ่อนเพลียและได้รับรสชาติแปลกๆเมื่อดื่มน้ำเย็น

การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคต้อหิน

หากการใช้ยารักษาโรคต้อหินไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยไม่สามารถทนกับความเจ็บปวดของโรคต้อหินได้ การผ่าตัดจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง โดยเป้าหมายของการผ่าตัดคือการลดความดันที่เกิดขึ้นภายในตาตัวอย่างของการผ่าตัดได้แก่    

  • การผ่าตัดเพื่อเปิดทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา วิธีนี้ทำได้โดยการใช้เเสงเลเซอร์เปิดทางท่อระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาจึงทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลออกจากตาได้ง่ายขึ้น
  • การผ่าตัดควักลูกตา วิธีนี้ใช้เมื่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆใช้ไม่ได้ผลรวมไปถึงการผ่าตัดด้วยใช้เลเซอร์แล้วก็ตาม การที่ท่อน้ำในดวงตาเปิดออกสามารถทำให้ของเหลวภายในดวงตาไหลได้ดีขึ้น 
  • การผ่าตัดเยื่อบุตาการผ่าตัดประเภทนี้ส่วนใหญ่มักใช้ผ่าตัดสำหรับเด็กหรือผู้ที่มีอาการของโรคต้อหินในระยะที่สอง โดยการผ่าตัดประเภทนี้จะใช้วิธีสอดท่อนซิลโคนขนาดเล็กเข้าไปในดวงตาเพื่อช่วยทำให้น้ำหล่อเลี้ยงในดวงตาระบายได้ดีขึ้น  

โรคต้อหินมุมปิดแบบเฉียบพลัน

โรคต้อหินมุมปิดแบบเฉียบต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อลดความดันสูงในดวงตาเเละจำเป็นต้องนอนในโรงพยาบาลเพื่อดูอาการต่อไป

โดยปกติมักการผ่าตัดด้วยการใช้เเสงเลเซอร์เพื่อสร้างรูขนาดเล็กที่ม่านทำให้ทางระบายออกของน้ำในลูกตาทำงานได้ดีขึ้นวิธีการนี้เรียกว่าการยิงแสงเลเซอร์ผ่านขอบม่านตาเพื่อสร้างรูระบายน้ำหล่อเลี้ยงตา

ถ้าหากเกิดต้อหินภายในตาข้างใดข้างหนึ่งแล้ว แพทย์จะตัดสินใจรักษาดวงตาทั้งสองข้างเพราะเมื่อเกิดโรคต้อหินขึ้นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งเเล้ว ดวงตาอีกข้างหนึ่งสามารถเกิดต้อหินขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *