อาหารจีเอ็มโอ (GMO Foods)

อาหารจีเอ็มโอ (GMO Foods)

01.08
1240
0

GMO คือ

พืชได้รับการออกแบบทางวิศวกรรมจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอจนมีความแข็งแกร่งขึ้น มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น หรือมีรสชาติที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย  และมีข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการใช้ GMOs

ผู้ผลิต Gmos โดยนำสารพันธุกรรมหรือ DNA จากสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน ผ่านกระบวนการที่เรียกว่าพันธุวิศวกรรมเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ GMO อาหารจีเอ็มโอที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนมากเป็นพืช เช่น ผลไม้และผัก มีข้อสงสัยเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของอาหารจีเอ็มโอ  ซึ่งข้อดีและข้อเสียของพืช GMO ควรพิจารณาจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ตามรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไปนี้

ประโยชน์ของพืช GMO

ผู้ผลิตใช้การดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ได้อาหารที่มีลักษณะตามต้องการ เช่น ออกแบบให้กลายเป็นแอปเปิ้ลใหม่ 2 สายพันธุ์ที่เกิดสีน้ำตาลน้อยลง เมื่อถูกตัด หรือเกิดรอยช้ำ และยังใช้เพื่อให้พืชผลเกิดความต้านทานโรคได้มากขึ้น ในระหว่างที่กำลังเจริญเติบโต และยังใช้พันธุวิศวกรรมมาเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ หรือทนทานต่อสารกำจัดวัชพืชมากขึ้น

การอนุรักษ์พันธุ์พืชเป็นอีกเหตุผลของการดัดแปลงพันธุกรรมพืชประเภทนี้ เมื่อพืชมีความทนทานต่อโรคระบาดโดยแมลงหรือไวรัสมากขึ้น ซึ่งทำให้เกษตรกรได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้น และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดูดีอีกด้วย การดัดแปลงพันธุกรรมยังช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการหรือเพิ่มรสชาติได้ ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ส่งผลให้ต้นทุนของผู้บริโภคลดลง  ทำให้ผู้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้

ข้อเสียของ GMO

เนื่องจากอาหารจากกระบวนการพันธุวิศวกรรมเป็นแนวทางปฏิบัติที่ค่อนข้างใหม่ จึงยังไม่ค่อยทราบถึงผลกระทบระยะยาว และความปลอดภัยในการบริโภคมีการกล่าวอ้างถึงข้อเสียหลายประการ แต่ก็ยังขาดหลักฐานที่ชัดเจน และประเด็นสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับอาหารจีเอ็มโอก็ยังคงเป็นเรื่องโต้เถียงที่ไม่มีข้อสรุป และยังคงวิจัยหาข้อเท็จจริงอยู่ โดยพบข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับอาหารจีเอ็มโอ ดังนี้

อาการภูมิแพ้

เชื่อว่าอาหารจีเอ็มโอมีส่วนกระตุ้นปฏิกิริยาการแพ้ให้เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากอาจมียีนที่มาจากสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในกระบวนการ ทำให้อาหาร GMO เข้าไปกระตุ้นภาวะภูมิแพ้ได้

องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังไม่อนุญาตให้วิศวกรด้านพันธุศาสตร์นำ DNA จากสารก่อภูมิแพ้มาใช้ เว้นแต่จะสามารถพิสูจน์ได้ว่ายีนดังกล่าวไม่ทำให้เกิดปัญหา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานอาการแพ้ที่เกิดจากอาหารตัดต่อพันธุกรรมที่จัดจำหน่ายอยู่

GMO Foods

โรคมะเร็ง

เชื่อว่าการกินอาหารจีเอ็มโอจะส่งผลกระทบต่อการเกิดมะเร็งได้ พวกเขาคาดว่าโรคมะเร็งอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ใน DNA ในยีนใหม่ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะกลายเป็นอันตรายได้ แต่เป็นสันนิษฐานที่ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์อย่างชัดเจน

ความต้านทานของเชื้อแบคทีเรีย

เนื่องจาดการดัดแปลงพันธุกรรมจะเพิ่มความต้านทานต่อโรคของพืช หรือทำให้พืชมีความทนทานต่อสารกำจัดวัชพืชมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการป้องกันโรคของมนุษย์

มีโอกาสเล็กน้อยที่ยีนในอาหารจะถูกถ่ายโอนไปยังเซลล์ของร่างกาย หรือแบคทีเรียในลำไส้ พืชจีเอ็มโอบางชนิดยังมียีนที่ทำให้เกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะบางชนิด และการต่อต้านนี้อาจส่งต่อไปยังมนุษย์ได้

ความกังวลนี้กำลังเพิ่มขึ้น เมื่อพบว่าผู้คนจากทั่วโลกเริ่มเกิดอาการดื้อยาปฏิชีวนะมากขึ้น ซึ่งคาดว่าอาหารจีเอ็มโอมีส่วนทำให้เกิดปัญหานี้

WHO ระบุว่าความเสี่ยงของการถ่ายโอนยีนนั้นมีน้อย แต่เพื่อป้องกันไว้ก่อน ผู้ผลิต GMO ควรหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมเอาไว้

การผสมข้ามสายพันธุ์

การผสมข้ามพันธุ์เป็นความเสี่ยงที่ยีนของพืชจีเอ็มโอบางชนิดจะผสมข้ามสายพันธุ์กับยีนของพืชทั่วไป มีรายงานเกี่ยวกับพืชจีเอ็มโอในระดับต่ำที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการบริโภคของมนุษย์

วิธีระบุอาหาร GMO

บางประเทศยังไม่มีข้อบังคับกำหนดให้อาหารที่ได้จาก GMOs ต้องติดฉลาก เนื่องจากอาหารเหล่านี้ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยเช่นเดียวกันกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อยู่แล้ว

แต่บางประเทศอย่างประเทศไทยจะกำหนดได้ระบุว่าควรติดฉลากอาหาร GMO โดยเฉพาะในกรณีที่ “แตกต่างอย่างมาก” กับอาหารทั่วไป ตัวอย่างเช่น:

  • น้ำมันคาโนลาจีเอ็มโอที่มีกรดลอริกมากกว่าน้ำมันคาโนลาแบบทั่วไป จึงให้ใช้ชื่อว่า “น้ำมันคาโนลาลอเรต”
  • น้ำมันถั่วเหลืองจีเอ็มโอมีกรดโอเลอิกสูงกว่าน้ำมันถั่วเหลืองทั่วไป จึงต้องระบุว่า “น้ำมันถั่วเหลืองโอเลอิกสูง”
  • น้ำมันถั่วเหลืองจีเอ็มโอที่มีกรดสเตียริโดนิกในปริมาณมากกว่าถั่วเหลืองตามธรรมชาติ จึงต้องติดฉลากว่า “น้ำมันถั่วเหลืองสเตียริโดเนต”

นอกจากนี้อาหารที่มีส่วนผสมของพืชที่ตัดต่อพันธุกรรมจะต้องระบุว่า “มาจากวิศวกรรมชีวภาพ” หรือ “เป็นวิศวกรรมชีวภาพ”

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *