โรคหนองใน (Gonorrhea) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคหนองใน (Gonorrhea) : อาการ สาเหตุ การรักษา

16.02
3952
0

โรคหนองใน (Gonorrhea) เป็นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infection:STI) ที่พบได้บ่อย และสามารถแพร่เชื้อได้ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทุกประเภท เมื่อแพทย์วินิจฉัยได้เร็วเท่าไหร่ก็จะสามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากบุคคลไม่ได้รับการรักษา โรคหนองในอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้

เมื่อเป็นโรคหนองในเป็นโรคที่ต้องแจ้งให้ทราบ หมายถึงแพทย์จะต้องรายงานการวินิจฉัยทั้งหมดแก่ ระบบเฝ้าระวังโรคที่แจ้งเตือนแห่งชาติ (The National Notifiable Diseases Surveillance System) เพื่อให้หน่วยงานสุขภาพสามารถวางแผนกลยุทธ์การรักษาและการป้องกันได้

โรคหนองในรักษาได้ง่าย แต่การชะลอการรักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงและถาวรได้ ตัวอย่างเช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease :PID) เกิดในเพศหญิงเมื่อโรคหนองในส่งผลต่อมดลูกหรือท่อนำไข่ ภาวะดังกล่าวนำสู่การมีบุตรยากได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองในที่เป็นไปได้ในเพศชาย ได้แก่ อัณฑะอักเสบ (Epididymitis) ซึ่งเกิดการติดเชื้อที่ท่อนำอสุจิ ผลที่ตามมาคือการมีบุตรยากเช่นกัน

อาการของโรคหนองใน

มีหลายคนที่เป็นโรคหนองในแล้วไม่แสดงอาการ ในบางคนมักรู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะ

อาการหนองในในเพศชายอาจสังเหตเห็นได้เช่น:

  • มีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากอวัยวะเพศชาย โดยมีสีขาว เขียว หรือเหลือง

  • ปวด หรือบวมในถุงอัณฑะ

  • มีอาการอักเสบ หรือบวมบริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ

ในผู้หญิงอาจมีอาการตกขาวเพิ่มขึ้นและมีเลือดออกระหว่างที่เป็นโรค

อาจเกิดอาการทางทวารหนักขึ้นในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวาร มีดังนี้:

  • มีสารคัดหลั่งเกิดขึ้น

  • คันรอบ ๆ รูทวารหนัก

  • มีเลือดออก

  • รู้สึกปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหวของลำไส้

หากเป็นโรคหนองในจากการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องปาก บุคคลอาจมีการติดเชื้อภายในลำคอ แต่อาจไม่สังเกตเห็นอาการใดๆ

โรคหนองในเป็นการติดเชื้อของแบคทีเรีย และหากน้ำอสุจิหรือของเหลวในช่องคลอดที่มีแบคทีเรียดังกล่าวเข้าสู่ดวงตา อาจพัฒนาไปเป็นภาวะเยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) ทั่วไปเรียกว่า ตาแดง

การวินิจฉัยโรคหนองใน

บุคคลอาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหนองใน หากไปพบแพทย์เนื่องจากมีอาการ หรือสงสัยว่าตนเองติดเชื้อ

แพทย์จะสอบถามบุคคลเกี่ยวกับอาการและประวัติทางการแพทย์ นอกจากนี้อาจเก็บสิ่งเพื่อส่งตรวจ เช่น ตัวอย่างปัสสาวะ หรือการป้ายเชื้อส่งตรวจจากอวัยวะเพศ ปากมดลูก ทวารหนัก หรือลำคอ

ผู้ที่ใช้ชุดตรวจที่บ้าน(ปัจจุบันมีชุดตรวจที่บ้าน สามารถซื้อทางออนไลน์ได้)สามารถส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการ และรอรับผลโดยตรงได้ หากผลเป็นบวกจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา และแพทย์จะส่งตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมเพื่อเป็นการยืนยันผล

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ชุดตรวจให้ตรงตามคำแนะนำ มิฉะนั้นผลลัพธ์อาจออกมาไม่ถูกต้อง เนื่องจากการตรวจอาจมีความแม่นยำแตกต่างกันไป จึงควรไปพบแพทย์หากเป็นไปได้

หากคนใดได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหนองใน คู่นอนควรได้รับการตรวจด้วย

การรักษาโรคหนองใน

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหนองในจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเพื่อหยุดการติดเชื้อ การรักษามักส่วนใหญ่แล้วมักใช้ยาปฏิชีวนะเข้าช่วย

ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการติดเชื้อได้ สิ่งสำคัญคือควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคอยากเรียกร้องให้ผู้คนรับประทานยาทั้งหมดตามที่แพทย์สั่ง และหลีกเลี่ยงการแบ่งยาให้ผู้อื่น

อย่างไรก็ตาม Neisseria gonorrhoeae เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุก่อโรคหนองใน ได้พัฒนาความต้านทานต่อยาปฏิชีวนะเกือบทั้งหมดที่แพทย์ใช้ในการรักษาแบบดั้งเดิม

การดื้อยาทำให้การรักษาโรคหนองในยากขึ้นเรื่อยๆ หากบุคคลไม่สังเกตเห็นว่าอาการดีขึ้นภายหลังผ่านไปหลายวัน พวกเขาควรกลับไปพยแพทย์ เพื่อตรวจประเมินเพิ่มเติมว่าการรักษาได้ผลหรือไม่

บุคคลควรไปพบแพทย์ตามนัด และเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะเห็นว่าปลอดภัย

หากโรคหนองในเกิดขณะตั้งครรภ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องแจ้งให้ทีมสุขภาพทราบ เพราะการติดเชื้อดังกล่าวสามารถติดต่อสู่ทารกระหว่างคลอดได้ ดังนั้นโดบปกติทารกแรกเกิดจะต้องได้ยาปฏิชีวนะทันที

ทารกแรกเกิดบางรายมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ และโรคหนองในก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่เกิดได้ โดยอาการมักจะเกิดใน 2-4 วันหลังคลอดรวมถึงมีอาการตาแดง ขี้ตาเยอะ และเปลือกตาบวม

หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ยังอาจเป็นผลมาจากภาวะร้ายแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย

สาเหตุของโรคหนองใน

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย N. gonorrhoeae มีหน้าที่ทำให้เกิดโรคหนองใน โดยแบคทีเรียดังกล่าวจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่อุ่นและชื้น และการติดเชื้อยังสามารถเกิดขึ้นในเยื่อเมือกภายในร่างกาย เช่น อวัยวะเพศ  ช่องปาก ภายในลำคอ  ดวงตา และทวารหนัก

โรคหนองในสามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางเพศสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะเพศชาย ช่องคลอด ทวารหนัก หรือช่องปาก โดยเพศชายไม่จำเป็นต้องหลั่งเพื่อแพร่เชื้อ หรือติดเชื้อหนองใน

มันสามารถติดต่อสู่ทารกระหว่างคลอดได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองใน

มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรคหนองในอยู่พอสมควร ด้วยเหตุนี้สิ่งสำคัญคือต้องเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด

ในเพศหญิง โรคหนองในอาจนำไปสู่:

  • อุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflamatory Disease)

  • ปวดภายในอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง

  • มีบุตรยาก

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy) ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆของการติดเชื้อดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ และระหว่างคลอด หากไม่ได้รับการรักษา อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

โรคหนองในสามารถติดต่อสู่ทารกได้ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อร่วมกับการสูญเสียการมองเห็น หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดที่อันตรายถึงชีวิตได้

ในเพศชาย โรคหนองในทำให้เกิดอัณฑะอักเสบ (Epididymitis) ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีบุตรยาก

ในทุกคนที่ไม่ได้รับการรักษาโรคหนองในจะนำไปสุ่การแพร่กระจายของเชื้อโกโนคอคคัส ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต อาการและอาการแสดงบางอย่าง ลักษณะหนองในได้แก่:

  • ผิวหนังอักเสบ โดยมักเกิดผดผื่น คัน ผิวแห้ง

  • มีไข้

  • ข้ออักเสบ

  • อักเสบ และบวมรอบเส้นเอ็น

    Gonorrhea

ผู้ที่เป็นโรคหนองในจะมีความเสี่ยงสูงในการติดต่อหรือแพร่เชื้อเอชไอวี สาเหตุหนึ่งคือการติดเชื้ออาจทำให้เกิดแผลเปิด ซึ่งทำให้เชื้อไวรัสและแบคทีเรียสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น

การป้องกัน

หนทางเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคหนองใน ได้แก่:

  • เลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หากมีโอกาสในการติดเชื้อ

  • ใช้สิ่งป้องกัน เช่น ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทางทวารหนัก

  • ใช้ถุงยางอนามัย หรือแผ่นยางอนามัยขณะที่มีเพศสัมพันธ์ทางปาก

  • ควรมีคู่นอนเพียงคนเดียวที่ไม่มีการติดเชื้อ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *