โรคหัวใจ (Hearth Disease) คือ กลุ่มโรคที่เป็นปัญหาหรือมีความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ซึ่งสามารถนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตได้
จำนวนคนไทยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดคือ 432,943 คน จากสถิติล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข ที่เปิดเผย ณ วันที่ 16 กันยายน 2561 โดยจากจำนวนดังกล่าว มีอัตราการตายถึง 20,855 คน ต่อปี หรือ ชั่วโมงละ 2 คน อ้างอิงจาก ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ต่อประชากร 100,000 คน ปี พ.ศ. 2555 – 2559 เท่ากับ 23.4, 26.9, 27.8, 29.9 และ 32.3 แนวโน้ม การเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ประเภทของโรคหัวใจ
โรคหัวใจนั้นมีหลายประเภทด้วยกัน ขึ้นกับความผิดปกติและตำแหน่งที่เกิดอาการ
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease)
เป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับหัวใจตั้งแต่กำเนิด ได้แก่:
- ข้อบกพร่องการมีช่องว่างระหว่างสองห้องของหัวใจ
- ข้อบกพร่องในการไหลเวียนของเลือดผ่านห้องต่างๆของหัวใจถูกปิดกั้น
- ข้ออบกพร่องหัวใจที่ทำให้เกิดการขาดแคลนออกซิเจนทั่วร่างกาย
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)
เป็นการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ โดยสามารถเกิดได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน ได้แก่:
- Tachycardia ภาวะหัวใจเต้นเร็วเกินไป
- Bradycardia ภาวะหัวใจเต้นช้าเกินไป
- Abnormal beats ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
- Fibrillation ภาวะหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้น เมื่อแรงกระตุ้นไฟฟ้าในหัวใจทำงานไม่ถูกต้อง สิ่งเหล่านี้ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติไม่ว่าจะเร็วหรือช้าเกินไป
การเต้นของหัวใจผิดปกติเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนสามารถพบเจอได้ อย่างไรก็ตามเมื่อจังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลงมากเกินไป จำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
หลอดเลือดหัวใจตีบสามารถสร้างความเสียหายให้กับหัวใจได้ โดยปกติจะการตีบตันจะเกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ซึ่งส่งผลให้หัวใจได้รับออกซิเจนและสารอาหารน้อยลง
โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ (Dilated cardiomyopathy)
เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ ทำให้ห้องหัวใจขยายตัว และไม่สามารถสูบฉีดโลหิตได้อย่างเหมาะสม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ ออกซิเจนไม่เพียงพอที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ สืบเนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจ มักพบปัญหานี้ในหัวใจห้องซ้าย
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)
คือ การไหลเวียนของเลือดถูกขัดจังหวะ หรือไปทำลายส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งมักเกิดจากลิ่มเลือดที่ที่ก่อตัวในหลอดเลือดหัวใจที่ตีบและอาจเกิดขึ้นได้จากการกระตุกของหลอดเลือดแดงอย่างกระทันหัน
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)
ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อหัวใจไม่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพเหมือนปกติ ห้องหัวใจด้านซ้ายหรือด้านขวาจะได้รับผลกระทบ ในขณะที่การได้รับผลกระทบทั้ง 2 ห้องหัวใจนั้นพบได้ยาก โรคหลอดเลือดหัวใจหรือความดันโลหิตสูงสามารถส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างที่เคยเป็น
โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ (Hypertrophic cardiomyopathy)
เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ผนังของห้องหัวใจด้านซ้ายหนาขึ้น จนทำให้เลือดสูบฉีดออกจากหัวใจได้ยากขึ้น ซึ่งนี่คือต้นเหตุของการเสียชีวิตอย่างกะทันหันผู้ที่ออกกำลังกายหนัก พ่อแม่ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ (hypertrophic cardiomyopathy) มีโอกาส 50% ที่จะถ่ายทอดความผิดปกติไปสู่ลูก
โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Mitral regurgitation)
คือความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจไมตรัลไม่ได้ปิดแน่นตามที่ควรเป็น ส่งผลให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจเมื่อเลือดถูกสูบฉีดออกไปแล้ว เป็นผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนผ่านหัวใจหรือร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรคลิ้นหัวใจโป่งพอง (Mitral valve prolapse)
คือการที่ลิ้นหัวใจระหว่างห้องไม่ได้ปิดสนิท โดยนูนขึ้นหรือย้อยกลับเข้าไปในห้องหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจประเภทนี้โดยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษา มีเพียงผู้ป่วยบางรายเท่านั้นที่อาการรุนแรงจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษา
โรคลิ้นหัวใจตีบแคบ (Pulmonary stenosis)
คือ ความผิดปกติที่ทำให้หัวใจที่สูบฉีดเลือดจากห้องหัวใจไปยังหลอดเลือดแดงที่ปอดได้ยากขึ้น เนื่องจากลิ้นหัวใจแน่นเกินไป ห้องหัวใจจำเป็นต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดผ่านสิ่งกีดขวาง โรคนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาหากความดันในหัวใจห้องขวาสูงเกินไป อาจจะทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด เช่น ทำบอลลูนหัวใจ
อาการของโรคหัวใจ
อาการของคนเป็นโรคหัวใจขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามอาการที่พบบ่อย ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก และใจสั่น สำหรับอาการเจ็บหน้าอกนั้นพบได้บ่อยใน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และเกิดจากการที่ส่วนหนึ่งของหัวใจไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถเกิดได้จากภาวะเครียด หรือการออกแรงโรคหัวใจวายนั้นมีอาการคล้ายกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการของโรคหัวใจวายบางครั้งอาจมีอาการคล้ายกับอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้และปวดท้อง อาการคนเป็นโรคหัวใจวาย ได้แก่
- อาการปวดจากหน้าอกไปจนถึงแขน คอ หลัง หน้าท้องหรือกราม
- มึนงงและวิงเวียนศีรษะ
- เหงื่อออกมาก
- คลื่นไส้และอาเจียน
หัวใจล้มเหลวนั้นเป็นผลมาจากโรคหัวใจ และการหยุดหายใจก็อาจเกิดขึ้นได้เมื่อหัวใจอ่อนแรงจนไม่สามารถหมุนเวียนเลือดได้
โรคหัวใจบางอย่างเกิดขึ้นโดยผู้ป่วยไม่มีอาการเลย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเบาหวาน “โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด” มีอาการทั่วไป ดังนี้ :
- เหงื่อออกมาก
- เหนื่อยล้ามาก
- การหายใจและการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติ
- หายใจไม่อิ่ม
- เจ็บหน้าอก
- ผิวซีด
- นิ้วปุ้ม
ในกรณีที่รุนแรงอาการอาจเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้อาจไม่ปรากฏจนกว่าผู้ป่วยจะอายุมากกว่า 13 ปี
โรคหัวใจเกิดจากอะไร
สาเหตุโรคหัวใจเกิดจากความเสียหายทั้งหมดหรือแค่บางส่วนของหัวใจ ทำให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือดหัวใจ การขาดสารอาหาร หรือการลำเลียงอ็อกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆในร่างกาย
โรคหัวใจบางชนิด เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (hypertrophic cardiomyopathy) เป็นพันธุกรรมดังนั้นผู้ป่วยสามารถจะมีอาการนี้ติดต่อมาแต่กำเนิดได้
มีหลายสิ่งในชีวิตประจำวันที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ ได้แก่
- ความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลสูง
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- ภาวะน้ำหนักเกิน
- โรคเบาหวาน
- พันธุกรรม
- อาหารขยะ
- อายุ
- ภาวะครรภ์เป็นพิษในระหว่างตั้งครรภ์
- การอยู่กับที่เป็นระยะเวลานาน เช่น นั่งทำงาน
การมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจอย่างมาก แต่บางอย่าง เช่น อายุ นั้นเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย
การรักษาโรคหัวใจ
การรักษาโรคหัวใจมี 2 วิธีการหลักๆ เบื้องต้นแพทย์จะใช้ยาในการรักษา แต่หากอาการไม่ดีขึ้นอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหา
ยารักษาโรคหัวใจ
ยาสำหรับรักษาโรคหัวใจนั้นมีหลากหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นยาช่วยป้องกันการอุดตันของเลือด และยาอื่นๆ มีดังนี้
- Statins ยาลดคอเลสเตอรอล
- Blood thinners ยาป้องกันการอุดตันของเลือด
- Beta-blockers และ Angiotensin-converting enzyme (ACE) รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวและความดันโลหิตสูง
แพทย์จะวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วย เพื่อหายาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษา
การผ่าตัดเพื่อรักษาหัวใจ
การผ่าตัดหัวใจเป็นการรักษาทางเลือกที่ต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดนั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาปัญหาหัวใจ ที่ยาอาจไม่สามารถรักษาให้หายได้
การผ่าตัดหัวใจมีดังนี้:
- การทำบอลลูนหัวใจ เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบที่
- การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดไปถึงส่วนที่ถูกปิดกั้นในหัวใจ
- การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมลิ้นหัวใจผิดปกติ
- เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือเครื่องควบคุมการเต้นของหัวใจสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การปลูกถ่ายหัวใจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา อย่างไรก็ตามการหาหัวใจที่เหมาะสมในเรื่องขนาดที่เหมาะสม และกรุ๊ปเลือด รวมถึงในเวลาที่ต้องการ ทำให้ผู้ป่วยที่รอหัวใจอาจจะต้องรอนานเป็นปี
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-disease/symptoms-causes/syc-20353118
- https://www.cdc.gov/heartdisease/facts.htm
- https://www.heart.org/en/health-topics/consumer-healthcare/what-is-cardiovascular-disease
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก