โรคลมพิษ (Hives) คือ ผื่นลมพิษที่มีลักษณะแดงที่บวมนูน และคันที่ บางครั้งเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ ที่ไปกระตุ้นอาการแพ้ให้ปรากฏ
จากสถิติการรักษาผู้ป่วยโรคลมพิษโรงพยาบาลรามคำแหงพบว่า ผู้ป่วยโรคลมพิษที่มารับการรักษาส่วนใหญ่ คือวัยทำงาน อายุระหว่าง 20-40 ปี อาจเพราะมีอาการเครียดสะสม และละเลยการดูแลสุขภาพ
อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถเกิดได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งลมพิษแบ่งได้เป็นชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยพบว่าลมพิษเฉียบพลันประมาณ 10-20% ผื่นอาจขึ้นต่อเนื่องจนเป็นลมพิษเรื้อรังได้
อาการโรคลมพิษ
อาการของลมพิษจะมีอาการบวม นูนและเป็นผื่นแดงบนผิวหนังโดยเป็นรูปไข่หรือรูปทรงกลม ลมพิษสามารถเป็นผื่นได้ในรัศมีไม่กี่มิลลิเมตรไปจนถึงเซ็นติเมตร ลมพิษทำให้เกิดอาการคันและมีสีแดงรอบๆบริเวณที่เกิดอาการ
พบบริเวณที่เกิดลมพิษบ่อย ๆ คือ บนใบหน้า หรือแขนขา รวมทั้งมือนิ้ว และนิ้วเท้า
โดยปกติแล้วลมพิษจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง แต่สามารถเกิดซ้ำได้อีก
ในบางกรณีลมพิษสามารถเกิดได้ต่อเนื่องอีกหลายวัน ผู้ที่มีอาการโรคลมพิษเรื้อรังอาจมีอาการเป็นเดือนหรือเป็นปี
ปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรง Anaphylaxis
อาการ Anaphylaxis เป็นอาการแพ้อย่างรุนแรง ที่สามารถส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของร่างกาย
มันสามารถนำไปสู่การหายใจลำบาก และการหมดสติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ลมพิษเป็นเรื่องฉุกเฉินทางการแพทย์ หากมีอาการดังต่อไปนี้ ให้พบแพทย์โดยทันที:
- คลื่นไส้และอาเจียน
- เยื่อบุในปาก ลิ้น ริมฝีปาก และลำคอบวม ทำให้หายใจลำบาก
- ตัวเย็นและชุ่มเหงื่อ
- หัวใจเต้นเร็ว
- หน้ามืดหรือวิงเวียนศีรษะ
- มีความวิตกกังวลฉับพลัน
โรคลมพิษเรื้อรัง
ลมพิษเรื้อรังสามารถทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกไม่สบายในระยะยาว และบางครั้งนำมาสู่ภาวะแทรกซ้อน โดยการรักษาแตกต่างจากลมพิษเฉียบพลัน ยาปฏิชีวนะเช่น Dapsone สามารถลดรอยแดงและบวม ในขณะที่ Omalizumab หรือ Xolair เป็นยาฉีดที่บล็อก immunoglobin E ซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทในการตอบสนองต่อการแพ้ มันสามารถลดอาการของลมพิษเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเป็นลมพิษชนิดที่สามารถอยู่ได้นานหลายเดือนหรือหลายปี
สาเหตุของโรคลมพิษ
สาเหตุลมพิษเกิดจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ ละปล่อยฮีสตามีน รวมไปถึงสารเคมีอื่น ๆ ออกทางผิวหนัง
ฮีสตามีน และสารเคมี ทำให้เกิดการอักเสบและการสะสมของเหลวที่อยู่ใต้ผิวหนังทำให้เกิดผื่นลมพิษ ตัวอย่างสารก่อภูมิแพ้ได้แก่ :
- ยาปฏิชีวนะบางตัว และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียร์รอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน และสารยับยั้ง ACE สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
- อาหาร ได้แก่ ถั่ว หอย เครื่องปรุง ไข่ สตรอเบอร์รี่และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี
- การติดเชื้อได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ หวัดทั่วไป และไวรัสตับอักเสบบี
- การติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและคอ
- ปรสิตในลำไส้
- มีไข้
- อุณหภูมิของร่างกายสูง
- ขนสัตว์เลี้ยง
- ไรฝุ่น
- แมลงสาบ
- น้ำยาง
- ละอองเกสร
- พืชบางชนิด ได้แก่ ตำแย ไม้เลื้อยพิษ และต้นโอ๊กพิษ
- แมลงกัดต่อย
- สารเคมีบางชนิด
- การเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคต่อมไทรอยด์ หรือโรคลูปัส
- แสงแดด
- น้ำบนผิวหนัง
- รอยขีดข่วน
- การออกกำลังกาย
ลมพิษเรื้อรังอาจเป็นอาการเริ่มต้นของผู้ป่วยแพ้ภูมิตัวเอง
เป็นลมพิษรักษาอย่างไร
การรักษาลมพิษเฉียบพลัน นิยมใช้ยาแก้แพ้กันอย่างแพร่หลาย
ยาแก้แพ้ เช่น Cetirizine หรือ Fexofenadine ช่วยการปิดกั้นผลกระทบของฮิสตามีน และลดผื่น ไปจนถึงหายจากอาการคัน ยาแก้แพ้หลายชนิดสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือออนไลน์
วิธีแก้ลมพิษด้วยยาแก้แพ้บางชนิดทำให้เกิดอาการง่วงนอน โดยเฉพาะถ้าผู้ใช้ดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย ยารักษาลมพิษสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ เว้นแต่จะได้รับยาจากคำสั่งจากแพทย์
ผู้ป่วยที่มีภาวะ Angioedema อาจทำให้หายใจลำบาก ดังนั้นจำเป็นต้องพบแพทย์ผิวหนังหากมีอาการ Angioedema
หากมีอาการบวมของลิ้น หรือริมฝีปาก หรือหากหายใจลำบาก แพทย์จะทำการจ่ายยาอะดรีนาลีน เช่น EpiPen ในกรณีฉุกเฉิน หากเป็นไปได้ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสารที่จะกระตุ้นให้เกิดลมพิษได้
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-hives/symptoms-causes/syc-20352719
- https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/hives-urticaria-angioedema
- https://www.nhs.uk/conditions/hives/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก