ปวดฟัน
อาการปวดฟันมักก่อให้เกิดความกังวล คือวิธีในการบรรเทาอาการ ทั้งความเจ็บปวดที่รุนแรง เกิดเป็นระยะ ๆ สร้างความน่ารำคาญ และยังสามารถทำลายวันดี ๆ ของผู้ป่วย หรือทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้
เมื่อต้องการให้ความเจ็บปวดหายไปเร็วที่สุด หลายคนอาจสงสัยว่ามีวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเองได้หรือไม่ แน่นอนว่าการรักษาสุขภาพช่องปากที่ดี จะช่วยป้องกันปัญหาเกี่ยวกับฟัน และเหงือกได้ และยังสามารถใช้วิธีการเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตนเองได้ ดังนี้
วิธีแก้อาการปวดฟันด้วยตนเอง
อาการปวดฟันเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฟันผุ เหงือกระคายเคืองจากอาหาร ฟันหัก การเคลื่อนไหวปากแบบซ้ำ ๆ เช่น การเคี้ยว การถอนฟัน หรือเกิดฝีที่เหงือก สาเหตุส่วนมากที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันคือการระคายเคืองที่เส้นประสาทในรากฟัน
วิธีแก้ไขหลายวิธีคือการจัดการกับอาการอักเสบในปาก กำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตราย หรือทำให้เกิดปัญหาในช่องปากบ้างเล็กน้อย อาการปวดฟันประเภทนี้ส่วนมากสามารถป้องกันได้ ด้วยไหมขัดฟัน การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และทำความสะอาดฟันด้วยทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน
วิธีการเหล่ารี้นอกจากจะช่วยรักษาอาการปวดฟันได้แล้ว ยังลดโอกาสที่ฟันผุจะลุกลามไปยังเส้นประสาท ส่วนที่ไวต่อความร้อนและความเย็น เพราะหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ดูแลอย่างเหมาะสม อาจทำให้อาการปวดรุนแรง และเกิดผลกระทบมากขึ้นได้ กรณีมีอาการปวดฟันที่รุนแรง ควรเข้ารับการรักษาทันที กรุณาติดต่อทันตแพทย์เพื่อนัดหมาย
หมายเหตุ: กรณีที่กำลังตั้งครรภ์ ให้นมบุตรหรือมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ห้ามมิให้ใช้วิธีการรักษาด้วยสมุนไพร และควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนใช้
- น้ำแข็ง
การใช้น้ำแข็งบริเวณที่ปวดฟันสามารถทำให้อาการปวดชาลงได้ อาจปรับวิธีการด้วยการห่อน้ำแข็งด้วยผ้าขนหนูแล้วนำไปประคบบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ประคบทิ้งไว้ 15 นาทีต่อครั้ง หรือลองอมน้ำแข็งเอาไว้ในปากครั้งละหลาย ๆ วินาที แต่ห้ามกัดน้ำแข็งเพราะอาจทำให้ฟันแตกได้
- ยกศีรษะขึ้น
ในขณะที่ปวดฟันมักนอนหลับยาก ดังนั้นเมื่อรู้สึกปวดฟัน การนอนราบจะกระตุ้นให้อาการปวดรุนแรงขึ้นได้ เนื่องจากความดันโลหิตที่ศีรษะจะเพิ่มขึ้นเมื่อนอนในท่าราบ เวลาเข้านอนให้หนุนหมอนหรือนอนเอนบนเก้าอี้ในท่าที่สบาย
- การใช้ยาที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์
ยา เช่น แอสไพริน และไอบูโพรเฟนสามารถลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวดได้ การใช้ acetaminophen (Tylenol) และ ibuprofen (Advil) สลับกันสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้มากขึ้น เจลบางชนิดสามารถทาบริเวณฟันและเหงือกได้โดยตรงเพื่อบรรเทาอาการปวดได้
- การใช้น้ำเกลือ
การบ้วนปากด้วยน้ำเกลือสามารถให้ประโยชน์ 2 ประการ คือล้างเพื่อขับสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ระหว่างฟัน และเนื่องจากเกลือเป็นสารฆ่าเชื้อตามธรรมชาติจึงสามารถจัดการกับการติดเชื้อได้ จึงช่วยลดการอักเสบ ผสมเกลือ ½ ช้อนชากับน้ำอุ่นแล้วกลั้วคอเหมือนน้ำยาบ้วนปาก
- ล้างด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มีคุณสมบัติจัดการกับการอักเสบและแบคทีเรียได้ การใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ล้างปาก ให้ผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3% 1 ส่วน กับน้ำ 2 ส่วน ห้ามกลืนลงไป แต่ให้ใช้บ้วนปาก
- ถุงชา
ควรใช้ถุงชาที่ใช้แล้ว และทิ้งให้เย็นลง ไม่ร้อนเกินไป แต่ยังอุ่น ๆ อยู่ หากต้องการให้เย็นมาก แนะนำให้ลองวางถุงชาที่ใช้แล้วในช่องแช่แข็งสักครู่ ก่อนนำมาใช้กับฟันของคุณ
ชาเปปเปอร์มินต์ให้ผลดีเป็นพิเศษสำหรับอาการปวดฟัน เนื่องจากมีคุณสมบัติต่อสู้กับแบคทีเรีย แต่ชาอาจทำให้ฟันสกปรกได้ จึงไม่ควรใช้วิธีนี้บ่อย ๆ
- กระเทียม
มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย และกระเทียมยังเป็นยาบรรเทาอาการปวดได้ สามารถนำกระเทียมบดมาใช้กับฟันได้ โดยเคี้ยวกานพลู และกระเทียมสดสักชิ้น หรือแช่สำลีก้อนลงในน้ำมันกระเทียมแล้ววางลงบนฟันก็ได้
- สารสกัดวานิลลา
วานิลลามีฤทธิ์ต้านการอักเสบตามธรรมชาติ สามารถช่วยทำให้อาการปวดที่เกิดจากอาการปวดฟันชามากขึ้นได้ โดยใช้นิ้วหรือสำลีจุ่มสารสกัดในปริมาณเล็กน้อย แล้วทาบริเวณที่ปวด วันละ 2 – 3 ครั้ง
- กานพลู
สามารถใช้เครื่องเทศนี้รักษาอาการปวดฟันได้หลายวิธี เนื่องจากกานพลูเป็นยาฆ่าเชื้อจึงมีประโยชน์ในการลดการอักเสบและความเจ็บปวด สามารถใส่น้ำมันกานพลูลงบนสำลีและทาลงบนบริเวณที่ปวด หรือหยดน้ำมันลงบนฟันที่ปวดโดยตรง หรือหยดน้ำมันกานพลูลงในแก้วน้ำเพื่อนำมาบ้วนปาก
- ใบฝรั่ง
ใบฝรั่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและต้านเชื้อจุลินทรีย์ จึงสามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้ สามารถใช้ใบฝรั่งเพื่อชงชา เมื่อปล่อยให้เย็นก็นำมาบ้สนปาก หรือเคี้ยวใบเพื่อบรรเทาอาการ
- ต้นอ่อนข้าวสาลี
ต้นอ่อนข้าวสาลีมีประโยชน์ในการรักษาอาการปวดฟันได้ เหมาะสำหรับการจัดการกับอาการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เพียงแค่นำน้ำจากต้นอ่อนข้าวสาลีมาบ้วนปากวันละ 2 – 3 ครั้ง
- โหระพา
น้ำมันโหระพาสามารถใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก หรือทาลงบนฟันที่ปวดได้โดยตรง ใช้น้ำมันโหระพาหยดลงในแก้วน้ำเพื่อใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก การทาลงบนฟันให้เจือจางน้ำมันด้วยน้ำเปล่า หรือหยดลงบนสำลีแล้วทาลงบนฟันที่ปวด
แม้ว่าวิธีเหล่านี้จะสามารถบรรเทาอาการปวกได้ชั่วคราว เท่านั้น ดังนั้นการรักษาทางทันตกรรมยังคงมีความจำเป็นและสำคัญมาก
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.interdent.com/gentle-dental/resources/stop-toothaches/
- https://www.nhs.uk/conditions/toothache/
- https://www.webmd.com/oral-health/home-remedies-toothache
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก