สายตายาว (Hyperopia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

สายตายาว (Hyperopia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

17.10
1211
0

อาการสายตายาว (Hyperopia) คือความผิดปกติทั่วไปเกี่ยวกับการมองเห็นภาพที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ได้ โดยผู้ที่มีสายตายาวสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ในระยะไกลได้เท่านั้นหรือไม่สามารถมองเห็นอะไรได้เลย  โดยปกติแล้ว สายตาผู้สูงอายุมักจะมีอาการสายตายาว

Hyperopia

สัญญาณเตือนส่วนใหญ่ของผู้มีอาการสายตายาวได้แก่

  • มองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้เป็นภาพเบลอ
  • ผู้ที่มีสายตายาวต้องหรี่ตาเพื่อมองวัตถุนั้นๆให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • มีอาการปวดหัวหรือรู้สึกมีอาการเวียนศีรษะหลังจากอ่านหรือเขียนหนังสือ
  • เกิดอาการดวงตาอ่อนล้าจึงทำให้เกิดอาการปวดตาเเละแสบร้อนรอบดวงตา
  • ผู้ที่มีอาการสายตายาวไม่สามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนได้

หากปล่อยอาการสายตายาวทิ้งไว้ไม่รักษาอาจมีอาการอื่นๆเกิดขึ้นได้เช่นอาการตาขี้เกียจหรือตาพร่ามัวและตาเหล่หรือตาเขได้ 

สาเหตุสายตายาว

มีส่วนประกอบของตา 2 หลักที่ทำให้ดวงตาสามารถมองเห็นภาพหรือวัตถุได้ชัดเจน

กระจกตาคือบริเวณที่มีลักษณะเป็นแผ่นใสอยู่ด้านหน้าของดวงตาทำหน้าที่รับเเสงโฟกัสเข้าสู่ดวงตา 

เลนส์ตาคือบริเวณที่โปร่งแสงภายในดวงตาที่ทำให้แสงตกกระทบลงบนจอประสาทตา 

จอประสาทตาเป็นชั้นเนื้อเยื่อของจอประสาทที่อยู่ด้านหลังของดวงตามีความไวต่อเเสงและทำหน้าที่ส่งสัญญาณภาพผ่านเส้นประสาทตาไปยังสมอง

เส้นประสาทตาทำหน้าเชื่อมต่อตาเข้ากับสมองและส่งสัญญาณเมื่อได้รับแสงโฟกัสที่ตกกระทบลงบนจอประสาทตาเพื่อนำไปประมวลผลที่สมองเพื่อทำให้สมองแปลความหมายออกมาเป็นภาพวัตถุที่เห็น 

ลักษณะของตาที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบคือมีความโค้งนูนของกระจกตาเเละเลนส์ตาอย่างสมดุล กระจกตาและเลนส์ทำหน้าที่สะท้อนเเสงหรือหักเหเเสงที่เข้ามาตกกระทบบนดวงตา เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ภาพจะถูกโฟกัสอย่างรวดเร็วบนจอประสาทตา ซึ่งความโค้งนูนของด้วยตาที่สมบูรณ์แบบทำให้แสงที่เข้ามาตกกระทบกันดวงตาเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

ภาวะสายตายาวเกิดขึ้นเมื่อแสงหักเลงบนดวงตาไม่เท่ากันหรือกระจกตามีความโค้งนูนไม่สม่ำเสมอซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดของเเสงที่หักเหลงบนดวงตา ทั้งนี้ความผิดปกติของการหักเหเเสงในดวงตาสามารถทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นหรือมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลได้ไม่ชัดเจนและเกิดภาวะตาพร่า  

แสงโฟกัสจะตรงเข้าสู่ตาตรงบริเวณด้านหลังของจอประสาทตาแต่ลำแสงนี้จะไม่สามารถเข้าสู่จอประสาทตาได้ถ้าหากความโค้งนูนของตาไม่เรียบสม่ำเสมอ โดยแสงเหล่านี้จะเข้าไปตกกระทบที่จอประสาทตาก่อนและเมื่อเกิดการสะท้อนออกจากดวงตาเเสงจะหักเหไปที่เลนส์ตาเเละกระจกตาก่อนจึงทำให้เกิดการมองเห็นภาพที่ไม่ชัดเจนเมื่อมองวัตถุที่อยู่ใกล้  

ผู้ที่มีภาวะสายตายาวมาตั้งเเต่เกิดทำให้ไม่สามารถมองเห็นภาพของวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ตั้งเเต่วัยเด็กอย่างไรเมื่อโตขึ้นในวัยผู้ใหญ่ก็จะมีภาวะสายตายาวที่ทำให้ไม่สามารถมองเห็นภาพวัตถุในระยะใกล้หรืออาจจะมองเห็นได้ไม่ชัด

ในกรณีที่พบได้น้อยมากที่ภาวะสายตายาวทำให้เกิดความผิดปกติดังต่อไปนี้

  • โรคเบาหวาน
  • เนื้องอก
  • ภาวะไร้ม่านตาหมายถึงอาการที่เกิดจุดด่างที่ขึ้นอยู่บนดวงตาบริเวณจอประสาทตา 

ภาวะไร้ม่านตามักมีความเกี่ยวข้องกับโรคผิวเผือก 

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าภาวะสายตายาวอาจเกิดจากพันธุกรรมดังนั้นภาวะนี้จึงถูกส่งต่อจากรุ่นพ่อเเม่มาสู่รุ่นลูกของพวกเขา 

การรักษาสายตายาว

วิธีรักษาสายตายาวมีจุดประสงค์เพื่อช่วยทำให้แสงโฟกัสตกกระทบลงบนดวงตาบนตำแหน่งที่ถูกต้อง การผ่าตัดเพื่อแก้ไขเลนส์ตาหรือแก้ไขการหักเหของเเสงอาจเป็นวิธีการรักษาที่ช่วยได้

การผ่าตัดแก้ไขเลนส์ตา

ผู้ที่มีอายุน้อยเเละมีภาวะสายตาสั้นไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขเลนส์ตาเพราะแสงที่เข้าสู่ดวงตาสามารถชดเชยด้วยการมุ่งเน้นไปที่วัตถุที่ใกล้กว่าเเทน

การสวมใส่เเว่นตาสามารถช่วยทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนถูกต้องยิ่งขึ้นและสามารถช่วยทำให้ผู้ที่มีภาวะสายตายาวมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีมักมีเลนส์ตาที่ยืดหนุ่นได้น้อยดังนั้นผู้สูงอายุส่วนใหญ่จึงมีปัญหาสายตายาวซึ่งจำเป็นต้องได้รับการเเก้ไขเลนส์ตา 

วิธีแก้ไขเลนส์ตาหลักๆมีอยู่ 2 วิธีได้แก่ 

  • การสวมใส่เเว่นตา วิธีนี้ได้แก่การใส่เเว่นแบบสองเลนส์หรือแว่นแบบสามเลนส์รวมถึงเเว่นอ่านหนังสือแบบธรรมดาทั่วไป
  • การใส่คอนเเทคเลนส์ ปัจจุบันมีคอนเทคเลนส์หลายประเภทให้เลือกใช้โดยมีระดับของความอ่อนโยนที่เเตกต่างกันและมีอายุการใช้งานสำหรับการส่วนใส่ที่แตกต่างกัน 

การผ่าตัดเพื่อแก้ไขจุดหักเหเเสง 

การผ่าตัดแก้ไขจุดหักเหแสงเป็นวิธีปกติทั่วไปที่ใช้รักษาอาการสายตาสั้นหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า myopia แต่การผ่าตัดด้วยวิธีนี้สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาสายตายาวได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น 

  • การผ่าตัดด้วยวิธีเลสิก (Laser-assisted in situ keratomileusis: LASIK) เป็นวิธีใช้เลเซอร์ผ่าตัดเพื่อปรับปรุงรูปร่างกระจกตาให้มีความโค้งดีขึ้น
  • การผ่าตัดด้วยวิธี LASEK (Laser epithelial keratomileusis) เป็นการผ่าตัดเพื่อปรับปรุงรูปร่างที่ขอบของกระจกตาเพื่อทำให้กระจกตามีความโค้งเพิ่มมากขึ้น
  • การผ่าตัดด้วยวิธี (Photorefractive keratectomy :PRK) แพทย์ผ่าตัดจะทำการผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อชั้นนอกของกระจกตาออกและให้เลเซอร์ปรับความโค้งของตาเช่นเดียวกับวิธี LASEK ซึ่งเนื้อเยื่อชั้นนอกจะกลับมาเติบโตขึ้นอีกภายใน 10 วัน 
  • วิธีผ่าตัดแบบ Conductive keratoplasty (CK) เป็นการผ่าตัดกระจกตาเพื่อปรับรูปร่างโดยใช้คลื่นวิทยุทำลายเนื้อเยื่อบริเวณที่มีปัญหาที่ทำให้เกิดการหักเหของเเสงผิดปกติบริเวณเส้นรอบวงของกระจกตา 

การผ่าตัดด้วยการใช้เลเซอร์ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ 

  • เป็นโรคเบาหวาน 
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร 
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 
  • ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาเช่นโรคต้อกระจกหรือโรคต้อหิน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *