ภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิในร่างกายลดลงจนต่ำกว่าระดับที่ปลอดภัย อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ทารกและผู้สูงอายุนับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวได้มากขึ้น
ภายใต้สภาวะปกติ ร่างกายจะรักษาอุณหภูมิไว้ค่อนข้างคงที่ไว้ประมาณ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 37 องศาเซลเซียส
หากสภาวะแวดล้อมเย็นจนเกินไปหรือร่างกายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถสร้างความร้อนเองได้อย่างเพียงพอ อุณหภูมิในอวัยวะแกนกลางร่างกายอาจลดลงและทำให้เกิดภาวะตัวเย็นเกินได้
ภาวะตัวเย็นเกินคืออะไร
ภาวะตัวเย็นเกินเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างพลังงานได้เพียงพอที่จะทำให้ร่างกายอบอุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้สูงอายุและเด็ก
ภาวะตัวเย็นเกินเป็นภาวะรุนแรงที่อุณหภูมิของร่างกายลดลงถึงระดับต่ำผิดปกติ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างความร้อนได้เพียงพอที่จะทดแทนความร้อนที่สูญเสียไป
สมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย มีชื่อเรียกว่าไฮโปทาลามัส เมื่อไฮโปทาลามัสรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในร่างกายมันจะเริ่มการตอบสนองเพื่อให้อุณหภูมิภายในร่างกายกลับมาอยู่ในระดับสมดุลอีกครั้ง
ร่างกายจะสร้างความร้อนระหว่างกระบวนการเผาผลาญตามปกติภายในเซลล์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของร่างกาย ความร้อนส่วนใหญ่จะออกจากร่างกายผ่านทางผิวหนังโดยกระบวนการพาความร้อน การนำความร้อน การแผ่รังสี และการระเหย
หากสภาพแวดล้อมเย็นลงร่างกายจะเกิดอาการสั่น กิจกรรมของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความร้อนมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากร่างกายสูญเสียความร้อนเร็วเกินกว่าที่จะสามารถสร้างมาทดแทนได้ อุณหภูมิในอวัยวะแกนกลางร่างกายก็จะลดลง
เมื่ออุณหภูมิลดลงทำให้ร่างกายหยุดส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงบริเวณผิวหนังเพื่อลดปริมาณความร้อนที่จะสูญเสียไป
ในทางกลับกันเลือดจะถูกส่งไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด ไต และสมอง หัวใจและสมอง ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความไวต่ออุณหภูมิที่ลดลงมากที่สุดและคลื่นไฟฟ้าในอวัยวะเหล่านี้จะช้าลงเมื่อมันอวัยวะเหล่านี้เย็นลง
หากอุณหภูมิในร่างกายลดลงเรื่อยๆ อวัยวะต่าง ๆ จะเริ่มเกิดภาวะล้มเหลว ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้
ภาวะตัวเย็นเกินนั้นตรงกันข้ามกับภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้น โดยอาจมีอาการอ่อนเพลียจากความร้อนหรือโรคลมแดดร่วมด้วย
อาการตัวเย็น และการรักษา
สำหรับผู้ที่ประสบภาวะนี้อาจมีอาการสับสนและไม่สามารถทำกิจกรรมใดเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นได้
เมื่ออุณหภูมิลดลงความสามารถในการใช้ความคิด การเคลื่อนไหวและการป้องกันร่างกายทำได้ยากขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายมากเพราะหมายความว่าผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติจะไม่สามารถทำให้ร่างกายตัวเองอบอุ่นและปลอดภัยจากความหนาวเย็นได้
ร่างกายจะเริ่มทำงานช้าลง หากบุคคลนั้นหยุดตัวสั่นอาจเป็นสัญญาณว่าอาการของพวกเขาแย่ลง
สำหรับผู้ที่ประสบภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำจะมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตขณะนอนหลับได้ในบางกรณีอาจจะมีการถอดเสื้อผ้าออกก่อนที่จะเกิดอาการนี้
การรักษาขึ้นอยู่กับระดับของอุณหภูมิในร่างกาย โดยมีจุดมุ่งหมายคือการทำให้บุคคลที่อุณหภูมิร่างกายอบอุ่นมากขึ้น
วิธีการรักษามีดังต่อไปนี้
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินจะต้องได้รับการความช่วยเหลือทางการแพทย์ในทันที
จนกว่าความช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึง การปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้จะสามารถช่วยได้:
- หากเป็นไปได้ให้ย้ายผู้ป่วยไปยังสถานที่ที่อบอุ่นและแห้งหรือปกป้องพวกเขาจากสภาวะแวดล้อมภายนอก
- ถอดเสื้อผ้าที่เปียกออก หรือตัดออกหากจำเป็น
- ห่มผ้าคลุมทั้งร่างกายและศีรษะ เว้นเฉพาะช่วงใบหน้า
- วางผู้ป่วยลงบนผ้าห่มเพื่อป้องกันร่างกายสัมผัสพื้น
- สังเกตการหายใจและทำ (CPR) เมื่อผู้ป่วยหยุดหายใจ
- หากเป็นไปได้ให้ทำการสัมผัสกันแบบเนื้อแนบเนื้อโดยการถอดเสื้อผ้าออกและใช้ผ้าห่มห่อหุ้มตนเองและผู้ป่วยเพื่อถ่ายเทความร้อน
- หากผู้ป่วยมีสติ ให้ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ ที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไม่ใช้ความร้อนโดยตรง เช่น ความร้อนจากหลอดไฟหรือน้ำร้อน เพราะอาจทำให้ผิวหนังเกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดปกติและอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้น
นอกจากนี้อย่าถูหรือนวดผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิร่างกายลดลงผิดปกติ เพราะการเคลื่อนไหวของร่างกายในลักษณะนี้อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นได้เช่นกัน
การรักษาทางคลินิค
การอบอุ่นร่างกายจากภายนอก เป็นวิธีที่ใช้สำหรับผู้ที่ไม่สามารถสร้างความร้อนด้วยตัวเอง การรักษาด้วยวิธีนี้ ได้แก่การถอดเสื้อผ้าที่เย็นและเปียกออก ควรเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าแห้งที่มีฉนวนกันลมหุ้มอย่างเพียงพอและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ในที่ที่อบอุ่น
การใช้ความร้อนภายนอก: คือการใช้อุปกรณ์เพื่อให้ความร้อน เช่น ถุงร้อน หรือเครื่องเป่าลมร้อน ให้เกิดการถ่ายความร้อนจากภายนอกไปยังบริเวณของร่างกาย ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยสามารถถือถุงร้อนไว้ใต้แขนทั้งสองข้าง
ความร้อนจากอวัยวะภายในแกนกลาง ได้แก่การให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ เพื่อทดแทนน้ำในร่างกาย รวมถึงทรวงอก เยื่อบุช่องท้อง กระเพาะอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ ตัวเลือกอื่น ๆ ได้แก่ การให้ผู้ป่วยสูดอากาศที่อบอุ่น ความชื้น หรือการให้ความอบอุ่นจากภายนอกโดยใช้เครื่องประทังหัวใจปอด
อย่าให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินและหลีกเลี่ยงการให้เครื่องดื่มใด ๆ แก่ผู้ป่วยที่หมดสติ
ผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินอย่างรุนแรงอาจดูเหมือนไม่มีสัญญาณชีพจรหรือหายใจไม่ออก หากพวกเขาดูเหมือนเสียชีวิตแล้วแล้ว แนะนำให้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ทำ (CPR) ในขณะที่ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอบอุ่นและรอความช่วยเหลือฉุกเฉิน ซึ่งเป็นไปได้ว่าสิ่งนี้อาจช่วยยื้อชีวิตพวกเขาได้
อาการอื่น ๆ ของภาวะตัวเย็นเกินอาจรวมถึง
อาการไม่รุนแรง
- วิงเวียนศีรษะ
- หิวและคลื่นไส้
- ความสามารถในการพูดลดลง
อาการปานกลางจนถึงรุนแรง
- อาการสั่นอาจหยุดลง
- พูดไม่ชัด
- มีความรู้สึกสับสนอย่างเห็นได้ชัด
- มีอาการง่วงนอน
- มีอาการเฉยเมยหรือขาดความรู้สึกวิตกกังวล
- มีสัญญาณชีพจรอ่อนลง
เมื่อมีภาวะตัวเย็นเกินอย่างรุนแรง พวกเขาอาจไม่รู้ตัวอีกแล้วว่ากำลังทำอะไรอยู่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสติในส่วนของการตระหนักรู้
เด็กทารก
ทารกสูญเสียความร้อนในร่างกายได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่และไม่สามารถทำให้ตัวสั่นเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นได้
ทารกที่มีภาวะตัวเย็นเกินอาจมีอาการดังนี้:
- มีผิวสีแดง
- ผิวเย็น
- มีเรี่ยวแรงน้อย
- ร้องไห้ด้วยความอ่อนแรง
เด็กทารกไม่ควรที่จะนอนหลับในห้องที่มีอากาศเย็น การใช้ห่มผ้าที่มากเกินไป ล้วนมีผลให้ทารกเจ็บป่วยทั้งสิ้น
แพทย์แนะนำให้จัดเตรียมทางเลือกอื่น หากไม่สามารถรักษาอุณหภูมิในห้องนอนของทารกให้อบอุ่นได้
การป้องกันภาวะตัวเย็น
การทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมสำหรับภาวะตัวเย็นเกินนั้นถือเป็นส่วนสำคัญในการป้องกัน
คนเหล่านี้จะมีความเสียงสูงหากพวกเขา:
- ทำงานกลางแจ้งในสภาวะที่มีอากาศหนาวเย็น
- การฝึกซ้อมกีฬาที่เล่นบนหิมะ กีฬาทางน้ำ หรือกิจกรรมกลางแจ้งอื่น ๆ
- อยู่บ้านในช่วงฤดูหนาวโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ
- ติดอยู่ในยานพาหนะในฤดูหนาวที่รุนแรง
- หลับกลางแจ้ง
- มีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์
- มีการใช้แอลกอฮอล์หรือยาที่ผิดกฎหมาย
การดูแลตนเองที่บ้าน
เพื่อป้องกันภาวะตัวเย็นเกินภายในอาคาร สถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ (National Institute on Aging: NIA) แนะนำดังต่อไปนี้:
- ทำความร้อนในห้องให้ถึง 68–70 องศาฟาเรนไฮต์ และปิดห้องอื่น ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟ
- ป้องกันอากาศเย็นเข้ามาในบ้านของคุณโดยการปรับปรุงอาคารหรือปูผ้าขนหนูแบบม้วนเพื่อป้องกันลงที่จะเข้ามาจากช่องประตู
- ควรมีผู้ดูแลเพื่อมาตรวจดูอาการของคุณเป็นประจำหากอาศัยอยู่บ้านคนเดียว
ติดอยู่ในยานพาหนะ
ใครก็ตามที่ติดอยู่ในยานพาหนะควรย้ายทุกสิ่งที่ต้องการจากท้ายรถไปไว้ในรถ
พวกเขาควรสตาร์ทรถเป็นเวลา 10 นาที ทุก ๆ ชั่วโมง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีหิมะปกคลุมท่อระบายอากาศและเปิดหน้าต่างไว้เพื่อป้องกันการสะสมของควัน
ควรพิจารณาสร้างชุดยังชีพในฤดูหนาวเอาไว้ในรถ ชุดอุปกรณ์ควรประกอบด้วยอาหาร ผ้าห่ม ชุดปฐมพยาบาล น้ำ และยาที่จำเป็น
กิจกรรมกลางแจ้ง
ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกไปข้างนอกและแต่งกายให้เหมาะสม
เคล็ดลับในการหลีกเลี่ยงภาวะตัวเย็นเกินเมื่ออยู่กลางแจ้ง ได้แก่ :
- ตรวจสอบสภาพอากาศล่วงหน้าและเตรียมความพร้อม
- สวมเสื้อผ้าหลายชั้นโดยชั้นในสุดเป็นเสื้อท่ีทำจากขนสัตว์ไหมหรือโพลีโพรพีลีน เนื่องจากวัสดุเหล่านี้เก็บความร้อนได้ดีกว่าผ้าฝ้าย
- ใส่เสื้อผ้าหลาย ๆ ชั้น เพื่อดักอากาศ
การออกแรงมากเกินไปไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้น เพราะอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและส่งผลให้เสื้อผ้าเปียกเหงื่อซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีส่วนทำให้เกิดการสูญเสียความร้อน
ผู้ที่เริ่มมีอาการหรือแสดงอาการของภาวะตัวเย็นเกิน ควรย้ายไปอยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิอุ่นขึ้นทันที เพื่อป้องกันการลุกลามไปสู่ภาวะที่เสี่ยงต่อชีวิต
เคล็ดลับอื่น ๆ
คำแนะนำอื่น ๆ สำหรับผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็น ได้แก่ :
- สวมหมวกหรือผ้าพันคอหนา ๆ แม้จะอยู่ในบ้าน
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ทานอาหารที่มีแคลอรี่ในปริมาณที่เพียงพอ เนื่องจากไขมันที่เพิ่มขึ้นใต้ผิวหนังสามารถช่วยป้องกันความหนาวเย็นได้ในช่วงฤดูหนาวได้
ภาวะตัวเย็นเกินในฤดูร้อน (Hypothermia in summer)
ภาวะตัวเย็นเกินอาจเกิดขึ้นในฤดูร้อนได้เช่นกัน การใช้เครื่องปรับอากาศหรือการทำกิจกรรมทางน้ำที่เย็นจัดมากเกินไปจะทำให้เกิดความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของทารกและผู้สูงอายุที่อาจไม่สามารถแสดงออกได้อย่างชัดเจนว่ากำลังรู้สึกอย่างไร
สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health: NIH) แนะนำให้รักษาอุณหภูมิห้องไว้ที่ 68 องศาฟาเรนไฮต์ (20 องศาเซลเซียส) ขึ้นไปและปิดห้องที่ไม่ได้ใช้งาน
การวินิจฉัย
การสังเกตอาการและการวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมมิเตอร์สามารถแสดงได้ว่าพวกเขากำลังประสบกับภาวะตัวเย็นเกินหรือไม่
เดอะบีเอ็มเจ (The BMJ) กำหนดไว้ว่าภาวะตัวเย็นเกินเมื่ออุณหภูมิในร่างกายของคนเราต่ำกว่า 95 องศาฟาเรนไฮต์ (35 องศาเซลเซียส)
เครื่องวัดอุณหภูมิในช่องปากอาจไม่แสดงอุณหภูมิที่อยู่ในระดับที่ต่ำขนาดนี้ ไม่ว่าในกรณีใด สิ่งสำคัญคือต้องไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
สาเหตุภาวะตัวเย็นเกิน
ภาวะตัวเย็นเกินอาจเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็นอย่างยาวนาน เช่น ในประเทศที่มีฤดูหนาวนานหรืออาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เช่น หากคนตกน้ำเย็น
สมาคมควบคุมโรคเน้นว่าไม่จำเป็นว่าอุณหภูมิต้องเย็นจัดเพื่อให้เกิดภาวะตัวเย็นเกิน หากอุณหภูมิของอากาศอยู่ที่ 40 องศาฟาเรนไฮต์ (4.4 องศาเซลเซียส) และผู้นั้นตัวเปียกก็สามารถเกิดภาวะอุณหภูมิต่ำได้
ภาวะตัวเย็นเกินในน้ำ
คนเราสูญเสียความร้อนในน้ำได้เร็วกว่าบนบก อุณหภูมิของน้ำที่ทำให้รู้สึกสบายตัวเหมือนกับอุณหภูมิอากาศภายนอกอาจทำให้อุณหภูมิในร่างกายต่ำลงได้
จากบทความที่ตีพิมพ์ในวราสารอเมริการระบุว่าคนที่อยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิ 41 องศาฟาเรนไฮต์ (5 องศาเซลเซียส) สามารถสูญเสียความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวได้ในเวลาเพียง 10 นาที
แม้จะอยู่ที่ 79 องศาฟาเรนไฮต์ (26 องศาเซลเซียส) คนที่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานก็อาจเสี่ยงต่อภาวะตัวเย็นเกิน
สาเหตุที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในอาคาร
สภาพแวดล้อมในอาคารทำให้เกิดการขาดความร้อนได้ รวมถึงการปรับอุณหภูมิของเครื่องทำอากาศมากเกินไป หรือการแช่ตัวในอ่างน้ำแข็ง อาจส่งผลให้เกิดภาวะตัวเย็นเกินได้เช่นกัน
ภาวะตัวเย็นเกินในอาคารมักส่งผลไม่ดี เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุและการวินิจฉัยมักเกิดขึ้นในช่วงปลายของสภาวะดังกล่าว
สาเหตุทางการแพทย์
สาเหตุอื่น ๆ ของภาวะตัวเย็นเกินรวมไปถึงความผิดปกติของการเผาผลาญที่ส่งผลให้อัตราการเผาผลาญพื้นฐานลดลง ความผิดปกติเหล่านี้ทำให้ร่างกายสร้างความร้อนภายในร่างกายน้อยลง
การได้รับสารพิษและความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง อาจเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดภาวะตัวเย็นเกิน
นี่คือแหล้งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hypothermia/symptoms-causes/syc-20352682#:~:text=Hypothermia%20is%20a%20medical%20emergency,95%20F%20(35%20C).
- https://www.cdc.gov/disasters/winter/staysafe/hypothermia.html
- https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-hypothermia
- https://www.uofmhealth.org/health-library/aa53968spec
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก