โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

21.12
1731
0

โรคคาวาซากิ (Kawasaki) เป็นโรคที่พบได้ยากและส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็ก โดยอาการที่เกิดขึ้นได้แก่หลอดเลือดอักเสบติดเชื้อ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเส้นเลือดใหญ่และทำให้เกิดความเสียหายที่หัวใจในระยะยาวได้ 

ข้อมูลจากสถาบันโรคคาวาซากิระบุว่าโรคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปีประมาณ 80 เปอร์เซนต์ แต่เกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุมากกว่าหรือวัยรุ่นน้อยกว่า

โรคคาวาซากิเป็นความผิดปกติเมื่อเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนเนื่องจากพวกเขาได้รับแอนตี้บอดี้ป้องกันจากแม่ 

ไข้คาวาซากิทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อเกิดขึ้นที่ผนังของหลอดเลือดแดงทั่วทั่งร่างกายได้แก่หลอดเลือดโคโรนารีซึ่งเป็นหลอดเลือดที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ  

โรคคาวาซากิทำให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโตและผิวหนังอักเสบรวมถึงทำให้มีเยื่อเมือกเกิดขึ้นภายในจมูกปากและลำคอ โดยเมือกเหล่านี้เรียกว่ากลุ่มอาการเยื่อเมือกผิวหนังต่อมน้ำเหลืองอักเสบ 

Kawasaki disease

อาการของโรคคาวาซากิ

สัญญาณและอาการของโรคคาวาซากิที่เกิดขึ้นแบ่งเป็น 3 ระดับได้แก่

ระยะโรคเฉียบพลันหรือระยะที่ 1

ถ้าหากมีอาการของโรคคาวาซากิเกิดขึ้นตั้งเเต่ 1 ถึง 11 วัน ควรไปพบเเพทย์ฉุนเฉินเพื่อเข้ารับการรักษาทันที

โดยอาการที่เกิดขึ้นได้แก่

  • อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นหรือมีไข้ต่อเนื่อง 5 วันและมีไข้สูงถึง 104 ฟาเรนไฮด์หรือ 40 องศาเซลลเซียส ซึ่งไข้ไม่ลดลงเมื่อทานยาแก้ปวดลดไขที่สามารถซื้อเองได้เช่นยาไอบลูโพรเฟนหรือไทลินอล
  • เยื่อบุตาขาวอักเสบที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้าง ทำให้เกิดอาการตาแดงรวมถึงมีอาการคันตา น้ำตาคลอและเจ็บตา
  • เจ็บคอ
  • ปากบวมเเละเเห้ง
  • ลิ้นบวมโดยปกติมักมีตุ่มเเดงเกิดขึ้นเรียกว่าตุ่มแดงบวมคล้ายผลสตรอว์เบอร์รี่
  • ต่อมน้ำเหลืองบวมที่ลำคอ
  • มีผื่นขึ้นที่แขน ขาและลำตัว รวมถึงบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก
  • มีผื่นเกิดขึ้นครั้งที่สองบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าและส้นเท้าและมีอาการผิวซีดเกิดร่วมด้วย

สำหรับเด็กที่เป็นโรคคาวาซากิที่มีผื่นเกิดขึ้นบนขาจะไม่สามารถขยับขาได้

ระยะกึ่งเฉียบพลันหรือระยะที่ 2 

มีอาการของโรคคาวาซากิเกิดขึ้นตั้งแต่ 12 ถึง 21 วัน สำหรับอาการของไข้คาวาซากิระยะนี้ไม่ค่อยมีอาการที่รุนเเรง แต่เป็นอาการเกิดขึ้นยาวนานและเรื้อรังทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติ

อาการที่เกิดขึ้นได้แก่

ภาวะแทรกซ้อนมีแนวโน้มเกิดขึ้นในระยะนี้ได้มากที่สุด ซึ่งทำให้เด็กที่ป่วยมีอาการเจ็บปวดมากและอารมณ์อ่อนไหวง่าย

ระยะพักฟื้นหรือระยะที่ 3

ในระยะพักฟื้นนี้มีระยะเวลาตั้งแต่ 22  ถึง 60 วัน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและค่อยๆหายดีขึ้น จนกระทั่งอาการต่างของโรคคาวาซากิหายไป

สาเหตุของโรคคาวาซากิ

โรคคาวาซากิเป็นโรคที่ส่งผลต่อเยื่อบุผนังเซลล์

ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบสาเหตุของโรคคาวาซากิ

หนึ่งในสาเหตุที่เป็นไปได้คือการตอบสนองต่อไวรัสที่คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิต้านทานต่อไวรัส จึงทำให้เกิดการติดเชื้อจากไวรัสเกิดขึ้นแต่ยังไม่ทราบและระบุได้ว่าโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียเฉพาะชนิดใด

สาเหตุอีกประการหนึ่งคือความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเนื้อเยื่อที่ปกติเหมือนต่อสู้กับเชื้อโรค จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคขึ้น

การรักษาโรคคาวาซากิ

โดยปกติผู้ที่เป็นโรคคาวาซากิต้องรักษาตัวในโรคงพยาบาลเนื่องจากมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ โดยการรักษาโรคทันทีเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสทำให้หายจากโรคได้เร็วขึ้นและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเเทรกซ้อนได้

แพทย์จะใช้ยาบางชนิดเพื่อทำการรักษา ซึ่งได้แก่

ยาแอสไพริน : โรคคาวาซากิเป็นโรคที่ทำให้มีเกล็ดเลือดเกิดขึ้นสูงมากจึงส่งผลเสี่ยงทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในกระเเสเลือด ยาแอสไพรินนำมาใช้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและลดไข้ รวมถึงบรรเทาอาการติดเชื้อที่ทำให้มีผื่นและข้อต่อบวมเกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องในยาแอสไพรินในปริมาณมาก

ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังและตรวจสอบการเกิดภาวะเเทรกซ้อนและอาจต้องใช้ยาแอสไพรินรักษาหลายสัปดาห์ต่อเนื่องหลังจากมีอาการดีขึ้น

ภาวะทนต่อการให้อิมมิวโนโกลบูลินทางหลอดเลือดดำ (IVIG-Resistant) : เป็นวิธีที่ใช้เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่โป่งพอ แต่ยังคงไม่ทราบวิธีการทำงานของสารที่ใช้เป็นภูมิต้านทานชนิดนี้

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์และสารยับยั้ง tumor necrosis : นำมาใช้เมื่อวิธีการรักษาประเภทอื่นๆใช้ไม่ได้ผล

ผู้ป่วยต้องดื่มน้ำให้เยอะๆเพื่อป้องกันภาวะการขาดน้ำ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *