โรคขนคุด (Keratosis Pilaris) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคขนคุด (Keratosis Pilaris) : อาการ สาเหตุ การรักษา

18.08
65201
0

ขนคุด (Keratosis Pilaris) คืออาการทางผิวหนังที่เกิดการอุดตันที่รูขุมขนที่พบได้ทั่วไป และไม่มีอาการที่รุนแรงนัก เนื่องจากเป็นตุ่มขนาดเล็ก หากมีตุ่มนี้เป็นจำนวนมาก เวลาที่สัมผัสบนผิวนั้นจะมีความรู้สึกที่สากเหมือนกระดาษทราย 

ตุ่มขนคุดนั้นมักมีสีที่อ่อน และ มักเกิดขึ้นที่แขนส่วนบน ต้นขา และบริเวณใบหน้า บางครั้งอาจะมีอาการบวมและแดง ขนคุดอาจจะก่อให้เกิดอาการคันได้ โดยทั่วไปแล้วขนคุดมักไม่มีอาการเจ็บ เว้นแต่ขนคุดเกิดการอักเสบอาจจะก่อให้เกิดหนองได้ ส่วนใหญ่ขนคุดมักเกิดขึ้นในเด็กและวัยรุ่นและมักหายไปเมื่อมีอายุมากขึ้น 

สาเหตุของโรคขนคุด

ขนคุดเกิดจากความผิดปกติของการสะสมของสารเคราติน ที่เป็นโปรตีนที่ป้องกันผิวหนังไม่ให้เกิดการติดเชื้อและสารอันตรายที่เกิดกับผิวหนัง ซึ่งการติดเชื้อทำให้เกิดการอุดตันที่รูขุมขนจนทำให้เกิดขนคุดขึ้นมาและเกิดการอักเสบที่รูขุมขน จนเป็นขนคุดอักเสบได้ แต่แพทย์ก็ยังไม่สามารถทราบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการสะสมของเคราตินที่ผิดปกติ จนทำให้เกิดการขนคุดได้เลย

หากคุณมีอาการผิวแห้ง คุณสามารถเป็นโรคขนคุดได้ง่าย ซึ่งมักเกิดในเดือนที่มีอากาศหนาว เมื่ออยู่ในที่แห้ง และขนคุดจะหายไปเมื่อถึงเดือนที่มีอากาศร้อน 

ขนคุดมักทำให้เกิดอาการที่เกี่ยวกับผิวด้วย รวมถึงโรคผิวหนังอักเสบด้วย (มักเรียกว่า โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง)

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคขนคุด โดยการตรวจที่ผิวหนังของคุณด้วยตาเปล่าเบื้องต้นเท่านั้น 

โรคขนคุด (Keratosis Pilaris)

วิธีรักษาขนคุด

มีผลิตภัณฑ์ครีมหรือยาอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ที่ช่วยบรรเทาอาการโรคขนคุดให้ดีขึ้นได้ ซึ่งคุณต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรักษา คุณควรทำตามการแนะนำของการใช้ครีม หรือคำแนะนำของแพทย์ที่สั่งยามาให้คุณอย่างเคร่งครัด เพื่อการรักษาขนคุดในระยะยาว

สารที่ใช้ในการผลัดผิวเฉพาะที่ 

ซึ่งทำหน้าที่ผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วจากผิวหนังของคุณ สารที่ใช้การผลัดผิวประกอบด้วยกรคอัลฟาไฮดรอกซี กรดแลคติค กรดซาลิไซลิก หรือกรดยูริก

กรดเหล่านี้หากใช้ไปแล้วอาจมีอาการแสบ มีรอยแดง หรือไหม้ได้ ซึ่งกรดเหล่านี้มักไม่แนะนำให้รักษาอาการขนคุดในเด็ก

สารเรตินอยด์เฉพาะที่ 

ที่เกี่ยวข้องกับอนุพันธ์ของวิตามินเอ ซึ่งป้องกันการอุดตันที่รูขุมขน ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเตรทติโนอิน (อะทราลิน อะวิต้า เรโนว่า และ เรติน เอ) และ สารทาราโรทีน (อาวาจี ทาโซแรค) แต่สารเหล่านี้อาจมีการระคายเคือง ทำให้ผิวมีรอยแดงหรือมีแผลถลอกได้

สตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเหล่านี้ทันที 

การรักษาด้วยเลเซอร์ 

เป็นการยิงแสงเลเซอร์ที่ไปยังผิวหนังที่มีอาการขนคุด ซึ่งบางครั้งการใช้แสงเลเซอร์เพื่อรักษาอาการรอยแดงและการอักเสบให้ลดลง การรักษาแบบเลเซอร์นี้อาจจะไม่ช่วยให้ขนคุดหายขาดได้ แต่อาจช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ 

การดูแลตัวเองในช่วงที่มีโรคขนคุดโดยการทำให้มีผิวมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา 

การดูแลตัวเองที่สามารถทำให้ผิวหนังมีความสบายตัวมากขึ้นและไม่เกิดการระคายเคือง มีดังนี้

  • ไม่เกาหรือถูบริเวณผิวหนังที่มีอาการขนคุด 
  • อาบน้ำด้วยน้ำอุ่นแทนน้ำอุณหภูมิปกติ ในการอาบน้ำ
  • พยายามใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เพื่อรักษาความชุ่มชื้น
  • ใช้ครีมที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวเป็นประจำ โดยใช้เวลาที่ผิวกำลังหมาด เพื่อให้ครีมทำงานได้ดีขึ้น

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *