โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteroarthritis) อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteroarthritis) อาการ สาเหตุ การรักษา

01.11
942
0

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteroarthritis) จะมีผลต่อกระดูก กระดูกอ่อนและไขข้อในเข่า

กระดูกอ่อนเป็นเนื้อเยื่อ ที่มีพื้นผิวเรียบและลื่น มีหน้าที่ในการเคลื่อนไหวของข้อต่อและเป็นเบาะกั้นระหว่างกระดูก

กระดูกอ่อนจะมีลักษณะนิ่ม และเรียงตัวไปตามข้อต่อ และจะผลิตของเหลวที่เรียกว่า น้ำไขข้อ ซึ่งมีหน้าที่หล่อลื่น ส่งสารอาหารและออกซิเจนไปยังกระดูกอ่อน

ถ้าการทำงานนี้พังลง จะไม่สามารถทำหน้าที่ปกป้องกระดูกหัวเข่าได้อีกต่อไป และจะทำให้กระดูกได้รับความเสียหาย

โรคข้อเข่าเสื่อม จะทำให้เกิดอาการปวดและตึงบริเวณเข่าได้ และจะมีอาการแย่ลงหากปล่อยไว้เรื่อยๆ

โรคข้ออักเสบที่พบได้มากที่สุดคือ โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteroarthritis)  ในระยะแรกจะมีอาการที่ไม่รุนแรงมาก แต่ในระยะที่สี่อาจมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัด

Knee Osteroarthritis

อาการและระยะของโรค

อาการโรคข้อเข่าเสื่อม จำเป็นที่จะต้องใช้เวลาหลายปี ในการที่จะพัฒนาไปยังระยะต่างๆ

โรคนี้สามารถทำการรักษาได้ยาก เพราะมักจะไม่มีการแสดงอาการออกมา จนกว่าจะเข้าสู่ระยะลุกลาม

ผู้ป่วยที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม ควรเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของอาการหรือสังเกตข้อบ่องชี้ต่างๆ ว่าอากการกำลังจะลุกลาม

ระยะที่1 : ระยะเริ่มต้น

จะมีกระดูกก้อนเล็กๆงอกขึ้นมาบริเวณหัวเข่า ทำให้กระดูกอ่อนได้รับความเสียหายเล็กน้อย เรียกว่า กระดูกงอก

ช่องว่างระหว่างกระดูกจะแคบลง เพื่อบอกว่ากระดูกอ่อนกำลังได้รับความเสียหาย

ผู้ที่เป็นโรคไขข้อหัวเข่าเสื่อมในระยะแรก จะไม่มีอาการใดๆปรากฏ และในการเอกซ์เรย์ก็จะไม่เห็นถึงความผิดปกติของกระดูก

ระยะที่2 : ระยะข้อเข่าเสื่อมเล็กน้อย

ในระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ และแพทย์จะเริ่มมองเห็นถึงความผิดปกติของกระดูก

การเอกซ์เรย์ข้อเข่า จะทำให้เห็นถึงกระดูกงอกได้อย่างชัดเจน และกระดูกอ่อนจะเริ่มมีขนาดเล็กลง

ช่องว่างระหว่างกระดูกจะยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกันจะเริ่มแข็งขึ้น

เมื่อเนื้อเยื่อเข็งตัว จะทำให้กระดูกหนาและแน่นขึ้น จะมีกระดูกบางๆเกิดขึ้นบริเวณข้อต่อของกระดูกอ่อน

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงบริเวณรอบๆข้อเข่า จะเริ่มรู้สึกถึงความแข็งและรู้สึกไม่ค่อยสบายหลังจากที่นั่งเป็นเวลานาน

ถึงแม้ว่าจะเกิดความเสียหาย แต่ระดูกยังไม่มีการกระทบกัน เพราะยังคงมีน้ำไขข้อที่ทำหน้าที่ลดแรงเสียดทาน และช่วยในการเคลื่อนไหว

ระยะที่3 : ภาวะกระดูกอ่อนเสื่อมปานกลาง

กระดูกอ่อนจะได้รับความเสียหายมากขึ้น ช่องว่างระหว่างกระดูกจะแคบลง และจะมองเห็นความผิดปกติของกระดูกได้อย่างชัดเจนจากการเอกซ์เรย์

ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเจ็บหรือรู้สึกไม่สบายในขณะที่กำลังใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การวิ่ง คุกเข่าหรืองอเข่า และอาจมีอาการอักเสบร่วมด้วย

เมื่อโรคไขข้ออักเสบมีอาการหนักขึ้น กระดูกอ่อนจะบางลงและถูกทำลายไปในที่สุด กระดูกงอกจะหนาขึ้นและโตออกมาด้านนอกจนเป็นก้อน

เนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณข้อต่ออาจจะสร้างน้ำไขข้อกระดูกมาไป ส่งผลให้มีอาการบามเกิดขึ้น เรียกว่า ภาวะมีน้ำในหัวเข่า

ระยะที่4 : ภาวะข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรง

นี่เป็นอาการเข่าเสื่อมที่รุนแรงที่สุดของโรคข้อเข่าเสื่อม โดยจะแสดงอาการอย่างชัดเจน กระดูกอ่อนจะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง เพราะช่องว่างระหว่างกระดูกยังคงแคบลง

ส่งผลให้ ข้อต่อมีอาการตึงและอักเสบ เพราะน้ำไขข้อกระดูกลดน้อยลง ทำให้กระดูกได้รับแรงเสียดทานมากขึ้น และจะมีอาการเจ็บและรู้สึกไม่สบายมากขึ้นขณะที่เคลื่อนไหว

กระดูกงอกจะเห็นได้ชัดในการเอ็กซ์เรย์ แสดงว่ากระดูกอ่อนแทบจะไม่เหลือแล้ว

กระดูกงอกจะยังคงเจริญเติบโตต่อไป ส่งผลให้อาการปวดนั้นรุนแรงมากขึ้นในขณะที่ทำกิจกรรมง่ายๆ เช่น การเดิน

ในกรณีที่รุนแรง กระดูกจะมีอกากรผิดรูป เนื่องจากได้สูญเสียกระดูกอ่อนไปแล้ว

ในภาวะนี้ การผ่าตัดถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

วิธีการรักษาข้อเข่าเสื่อม

วิธีการรักษาขึ้นอยู่กัยระยะของอาการและการลุกลามของอาการ

ระยะที่ 1

ในระยะแรกมักจะยังไม่มีอาการใดๆแสดงให้เห็น ดังนั้นอาจทำได้โดยการรับประทานยาอะเซตามิโนเฟน หรือซื้อยาแก้ปวดตามร้านขายยาทั่วไป

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็มีส่วนช่วยในการรักษาของระยะนี้ได้

มีการแนะนำให้รับประทานอาหารเสริมต่างๆ เช่น กลูโคซามีนและคอนดรอยติน แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยใดๆรับรองได้ว่า อาหารเสริมจะมีส่วยช่วยในการรักษา

ระยะที่ 2

การรักษาสามารถทำได้ดังนี้ :

  • รับประทานยาแก้ปวด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ใส่สายรัดหัวเข่า เพื่อลดแรงเสียทานหรือแรงกระแทก
  • ใส่รองเท้าเพื่อลดแรงกระแทกในหัวเข่า

ในระยะนี้ ผู้ป่วยอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

ระยะที่ 3

การรักษาสามารถทำได้ดังนี้ :

  • รับประทานยาแก้ปวดที่หาได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น อะเซตามิโนเฟน
  • ทานยาตามที่แพทย์สั่ง รวมไปถึงยาประเภท ออกซิโคโดนหรือโคเดอีน
  • รับการฉีดสเตียรอยด์

เคยมีผู้ใช้กรดไฮยาลูโรนิกในการรักษา แต่ไม่มีการวิจัยใดๆรับรองว่า จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

ระยะที่ 4

ในระยะนี้ กระดูกอ่อนจะมีการบางลงอย่างเห็นได้ชัดหรือหายไปเลย

ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัด เพื่อใส่ไขข้อเทียม

ทางเลือกในการรักษา

ผู้ป่วยอาจลองวิธีอื่นๆดังนี้ :

  • การฝังเข็ม
  • ใช้คลื่นแม่เหล็กในการรักษา แต่ก็ไม่มีผลการวิจัยรับรองอีกเช่นกัน
  • การใช้เข็มฉีดน้ำเกลือเข้าไปในข้อต่อ

แต่วิธีที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ก็ยังไม่มีการรับรองว่าจะปลอดภัยและได้ผล

อย่างไรก็ตาม ควรมีการหลีกเลี่ยงการใช้อาหารเสริมกลูโคซามีน เพราะมีผลการวิจัยแล้วว่า เป็นวิธีการรักษาที่ไม่ได้ผล

รักษาโดยการใช้สเต็มเซลล์

นักวิจัยกำลังทำการทดลองการสร้างกระดูกอ่อนด้วยสเต็มเซลล์ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

แต่ก็ยังคงมีความท้าทายหลายๆอย่างในการรักษา เช่น การทำเคมีบำบัด ซึ่งเป็นการรักษาที่มีราคาแพง แต่ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาหลายครั้งก่อนที่จะเห็นผล และในบางครั้งการรักษาก็อาจจะไม่ได้ผล ถ้าหากผู้ป่วยมีมวลในร่างกายสูงกว่า 35

ในปี 2018 แพทย์ได้มีการทดลองใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาคนไข้ และพบว่าได้ผลลัพท์ในระยะยาว

สถานบริการบางแห่งนำเสนอการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการใช้สเต็มเซลล์ แต่ว่ารัฐบาลได้ออกมาประกาศให้ประชาชนระมัดระวังในการโฆษณาเกินจริง

ในปัจจุบัน การใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาก็ยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางหาร

ผลข้างเคียงของการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ :

  • อาจะได้รับผลกระทยในบริเวณที่ทำการฉีดเข้าไป
  • มีการสร้างเซลล์ผิดตำแหน่ง
  • การทำงานของเซลล์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
  • มีความเสี่ยงที่จะเป็นเนื้องอก

ผู้ที่ต้องการรับการรักษาด้วยการใช้สเต็มเซลล์ ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิดก่อนที่จะมีการรักษา

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK507884/

https://www.webmd.com/osteoarthritis/ostearthritis-of-the-knee-degenerative-arthritis-of-the-knee

https://www.physio-pedia.com/Knee_Osteoarthritis

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *