ผู้หญิงบางคนคลอดลูกได้อย่างง่ายดาย ในขณะที่คนอื่นๆพบว่าการเจ็บครรภ์คลอด (Labor Pain) และการคลอดลูกนั้นเจ็บปวดอย่างเหลือเชื่อ นี่คือสิ่งที่ต้องรู้พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการความเจ็บปวด
มดลูกเป็นอวัยวะที่มีกล้ามเนื้อที่หดตัวอย่างรุนแรง เพื่อบีบตัวทารกของคุณออก และการบีบเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บครรภ์ นอกจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกอย่างรุนแรงทั่วหน้าท้องแล้ว ในบางครั้งลำตัวและบริเวณอุ้งเชิงกรานทั้งหมดของคุณอาจรู้สึกเจ็บไปด้วย คุณอาจรู้สึกเจ็บลามไปที่หลัง กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ “ทั้งหมดนี้รวมเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความเจ็บปวด” นายแพทย์ Jay O’Brien, ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของแผนกสูติกรรมผู้ป่วยใน ประจำโรงพยาบาลสตรีและทารกโลดไอส์แลนด์ในพรอวิเดนซ์กล่าว
อาการเจ็บครรภ์คลอดมักเกิดขึ้นทีละน้อยและเพิ่มมากขึ้นเมื่อผ่านแต่ละระยะของการคลอด นี่คือสิ่งที่คุณควรจะตระหนัก
อาการเจ็บครรภ์คลอด
อาการเจ็บครรภ์คลอดของคุณขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ :
- ความรุนแรงในการบีบตัวของมดลูก
- ระดับฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์และทำให้เกิดการบีบตัวมากขึ้น
- ขนาดและตำแหน่งของทารกในกระดูกเชิงกราน
- ท่าของทารก นอนคว่ำหน้าหรือนอนหงาย (ท่าของทารกในครรภ์)
- ความเร็วในแต่ละระยะการคลอดของคุณ
การผสมผสานระหว่างพันธุกรรมและประสบการณ์ชีวิตเป็นตัวกำหนดระดับความเจ็บปวดหรือความสามารถในการทนต่อความเจ็บปวดและสิ่งนี้ก็ถือเป็นประสบการณ์ของคุณด้วย กำลังใจจากคนรอบข้าง ความกลัว ความวิตกกังวล และแม้แต่เรื่องราวการเจ็บครรภ์คลอดที่คุณเคยได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นในเชิงบวกหรือเชิงลบ สามารถส่งผลต่อความรู้สึกเจ็บปวดได้ ยิ่งไปกว่านั้นคุณอาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการเกิดมาของทารกได้ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงความทนทานต่อความเจ็บปวดได้
ความเชื่อมโยง: ระยะของการคลอดและสิ่งที่ควรตระหนักเมื่อคลอดลูก
ถ้าหากคุณมีความอดทนต่ำ ควรปรึกษาพยาบาลผดุงครรภ์หรือผู้ช่วยคลอด จากการศึกษาและวิจัยพบว่าผู้หญิงที่จะมีการคลอด หากได้รับการสนับสนุนหรือคำปรึกษาจากพยาบาลผดุงครรภ์หรือผู้ช่วยทำคลอด มีโอกาสที่จะใช้ยาแก้ปวดในระหว่างการคลอดลดลง โอกาสผ่าคลอดลดลง และมีประสบการณ์การคลอดที่ดี “หากผู้หญิงมีความกังวลหรือมีความกลัวการเจ็บปวดจากการคลอด ผู้ช่วยทำคลอดสามารถช่วยคุณได้
ระยะของอาการเจ็บครรภ์คลอด
ระยะเริ่มต้นเจ็บครรภ์ ( early Labor pain )
ระยะเวลา : ประมาณ 6 ชั่วโมงหรือมากกว่า
เกิดอะไรขึ้น: ปากมดลูกมีการขยายตัวและเปิดออก 3 ถึง 4 เซนติเมตร โดยทั่วๆไปมดลูกจะบีบตัวนาน 30 ถึง 60 วินาที ในทุกๆ 5 ถึง 20 นาที และจะมีการบีบตัวแรงขึ้นเรื่อยๆ
- ความเชื่อมโยง: หากพบอาการเหล่านี้ให้จำว่าเป็นการเจ็บครรภ์ระยะเริ่มต้น
ระยะเจ็บครรภ์คลอด (Active labor pain )
ระยะเวลา: ประมาณ 2 ถึง 8 ชั่วโมง
เกิดอะไรขึ้น: มดลูกมีการบีบตัวอย่างต่อเนื่อง นานขึ้น แรงขึ้น และถี่ขึ้น ปากมดลูกมีการขยายตัวถึง 7 เซนติเมตร ทำให้ผู้หญิงที่กำลังจะคลอดต้องการยาแก้ปวดอย่างมาก
ระยะการเปลี่ยนถ่ายการคลอด ( Transitional labor pain )
ระยะเวลา: อาจมากถึง 1 ชั่วโมง
เกิดอะไรขึ้น: ความเจ็บปวดมีมากขึ้นเรื่อยๆจนปากมดลูกเปิดถึง 10 เซนติเมตร มดลูกมีการบีบตัวมากขึ้นเรื่อยๆและคงที่ คุณอาจจะรู้สึกปวดไปที่หลัง ขาหนีบ ต้นขา รวมไปถึงมีอาการคลื่นไส้
ระยะเบ่งคลอด ( Pushing Labor Pain )
ระยะเวลา: ตั้งแต่ 1 นาทีถึง 3 ชั่วโมง
เกิดอะไรขึ้น: อาการเจ็บครรภ์มีมากขึ้นเรื่อยๆ จนรู้สึกว่ามีแรงมากดลงข้างล่าง แล้วรู้สึกอยากจะเบ่งเอาทารกออกมา ผู้หญิงบางคนอาจจะอธิบายอาการแบบนี้ว่า “ถ่ายอุจจาระเพื่อเอาแตงโม หรือลูกโบว์ลิ่งออกมา” อาการเจ็บครรภ์ดำเนินต่อไป ผู้หญิงบางคนรู้สึกว่าการเบ่งทำให้ปวดน้อยลงหรือทำให้แรงกดน้อยลง เมื่อศีรษะทารกโผล่ออกมาหรือสามารถมองเห็นได้แล้ว คุณอาจรู้สึกแสบร้อนบริเวณช่องคลอดที่มีการขยายตัว
ระยะคลอดรก (Placenta Delivery Pain)
ระยะเวลา: ประมาณ 30 นาที
เกิดอะไรขึ้น: ระยะนี้มักจะผ่านไปได้ด้วยดีมีการบีบตัวของมดลูกเล็กน้อยเพื่อที่จะเอารกออกมา ในระยะนี้คุณอาจจะให้ความสำคัญกับทารกมากกว่าสิ่งใด
การจัดการอาการเจ็บครรภ์คลอด
ผู้หญิงบางคนมีความรู้สึกผิดถ้าพวกเขาขอยาแก้ปวดขณะเจ็บครรภ์คลอด เพราะว่าจะทำให้ทารกของพวกเขามีความเสี่ยงมากขึ้นจากยาแก้ปวด ในความเป็นจริงการฉีดยาชาเข้าไขกระดูกสันหลัง( Epidural )เพื่อลดอาการปวดหรือยาบรรเทาอาการปวดชนิดอื่นๆค่อนข้างที่จะปลอดภัยต่อแม่และทารก นายแพทย์ William Camann หัวหน้าแผนกสูตินารีเวชและวิสัญญี ประจำโรงพยาบาลผู้หญิงบอสตัน และเป็นผู้ร่วมเขียนหนังสือ Easy Labor: Every Woman’s Guide to Choosing Less Pain and More Joy During Childbirth. ได้กล่าวว่า “มีข้อมูลที่ผิดมากมาย – ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนนั้นมีมากเกินไปและผู้หญิงต้องทนทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็น”
ยิ่งไปกว่านั้นประโยชน์ของยาแก้ปวดที่ฉีดเข้าไขสันหลังอาจอยู่ได้นานไปจนถึงหลังคลอดทารกออกมา จากข้อมูลของนายแพทย์ Gilbert Grant, ผู้อำนวยการ ด้านการระงับความรู้สึกทางสูติกรรมที่ศูนย์การแพทย์ Langone มหาวิทยาลัยนิวยอร์กและผู้เขียนหนังสือ Epidural Without Guilt: Childbirth Without Pain ระบุว่า มีความเชื่อมโยงกันระหว่างความเจ็บปวดจากการคลอดที่ไม่ได้รับการบรรเทาและภาวะซึมเศร้าหลังคลอด โรคความเครียดหลังการบาดเจ็บและความเจ็บปวดเรื้อรัง
- ความเชื่อมโยง : การฉีดยาชาเข้าไขสันหลังคืออะไรและทำงานอย่างไร?
แม้ว่าคุณจะเลือกใช้ยาแก้ปวดหรือยาอื่นๆ แต่การใช้เทคนิคการผ่อนคลายสามารถเพิ่มความสามารถในการจัดการกับความเจ็บปวดได้ Leslie Ludka, C.N.M. ผู้อำนวยการการผดุงครรภ์ของโรงพยาบาลและศูนย์การเกิด Cambridge Health Alliance ในแมสซาชูเซตส์กล่าวว่า “ผู้หญิงควรมีการปรับตัวให้เข้ากับกระบวนการหรือขั้นตอนการคลอด”
การหายใจเป็นจังหวะ การทำสมาธิ การสะกดจิตตัวเอง และกลยุทธ์การผ่อนคลายอื่นๆที่สอนในชั้นเรียน เช่น Lamaze, Bradley Method หรือ HypnoBirthing อาจช่วยให้จิตใจของคุณสงบและกล้ามเนื้อผ่อนคลาย เทคนิคอื่นๆที่ได้ผล ได้แก่ การนวด การเดิน การอาบน้ำและการใช้น้ำแข็งหรือความร้อน
- ความเชื่อมโยง: 8 วิธีจัดการความเจ็บปวดจากการคลอด
ไม่ว่าคุณจะวางแผนที่จะใช้ยาแก้อาการเจ็บครรภ์คลอดหรือปล่อยไปตามธรรมชาติ หรือ พยายามที่จะใช้วิธียืดหยุ่น “ไม่มีใครรู้ว่าเธอต้องการอะไรจนกว่าเธอจะมีประสบการณ์จริงๆ” ลุดกา(Ludka) กล่าว “ให้สิทธิ์ตัวเองในการเปลี่ยนแปลงแผนของตัวเอง เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องการ” โปรดทราบว่าแต่ละตัวเลือกมีข้อดี แม้ว่าการใช้ยาจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากการคลอดบุตรได้มาก แต่การคลอดตามธรรมชาติสามารถทำให้คุณรู้สึกถึงความสำเร็จได้อย่างดีเยี่ยม “หลังจากความเจ็บปวดและความพยายามสิ้นสุดลงคุณจะรู้สึกมีพลังมากขึ้น” Simkin กล่าว นี่คือคำแนะนำของเธอ: “แยกความแตกต่างระหว่างความเจ็บปวดและความทุกข์ ความเจ็บปวดสามารถจัดการได้ แต่ถ้ามันท่วมท้น การใช้ยาอาจป้องกันความทุกข์ได้”
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://kidshealth.org/en/parents/childbirth-pain.html#:~:text=Pain%20during%20labor%20is%20caused,sides%20or%20thighs%20as%20well.
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4589939/
- https://www.healthline.com/health/pregnancy/how-painful-is-childbirth
- https://www.webmd.com/baby/labor-signs
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก