

ตาขี้เกียจหรือที่เรียกว่า แอมไพลโอเปีย (Lazy Eye )เป็นภาวะที่สายตาของเด็กปฐมวัยไม่พัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น โดยมักเกิดขึ้นกับตาข้างเดียว
เมื่อผู้ป่วยมีภาวะตาขี้เกียจ สมองจะมุ่งเน้นการทำงานไปที่ตาเพียงข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้างหนึ่ง โดยแทบจะไม่สนใจ ”ตาขี้เกียจ” เลย หากดวงตาข้างนั้นไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม เซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ในการมองเห็นจะไม่เจริญเต็มที่ตามปกติ
คำว่า “ตาขี้เกียจ” ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เพราะในความเป็นจริงตาไม่ได้ขี้เกียจ แต่เป็นปัญหาด้านพัฒนาการของเส้นประสาทที่เชื่อมต่อดวงตา ซึ่งไม่ได้มีปัญหามาจากนัยน์ตา
การรักษาโรคตาขี้เกียจ
การรักษาโรคสายตาขี้เกียจมีแนวโน้มที่จะได้ผลดีกว่าในเด็กที่มีอายุน้อย
เด็กที่มีอายุมากกว่า 8 ขวบ โอกาสในการปรับปรุงการมองเห็นจะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ก็ยังมีประสิทธิภาพการรักษาที่ดีอยู่
การรักษาตาขี้เกียจมี 2 วิธี:
-
การรักษาปัญหาดวงตา
-
ทำให้ตาที่ได้รับผลกระทบทำงาน เพื่อให้สามารถพัฒนาการมองเห็นได้
การรักษาสำหรับปัญหาสายตาขั้นพื้นฐาน Treatment for underlying eye problems
เด็กหลายคนที่มีการมองเห็นไม่เท่ากันหรือ anisometropia ไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เพราะดวงตาที่แข็งแรงและสมองจะทำงานชดเชยสิ่งที่ขาดไป สายตาที่อ่อนแอจะมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และมีอาการตามัว
แว่นตา: เด็กที่มีสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง จะได้รับการตรวจวัดสายตาประกอบแว่น เด็กจะต้องสวมใส่แว่นตาตลอดเวลาเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจสอบว่าพวกเขามีประสิทธิภาพการมองเห็นเพียงใดในการแก้ไขปัญหาการมองเห็นในตาขี้เกียจ แว่นตาอาจแก้ไขการตาลอยไปลอยมา (eye turn)ได้เช่นกัน บางครั้งแว่นตาสามารถแก้อาการตามัวได้และไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กๆ จะบ่นว่าการมองเห็นดีขึ้นเมื่อไม่สวมแว่นตา พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนให้สวมใส่เพื่อให้การรักษาได้ผล
การผ่าตัดต้อกระจกหรือการสลายต้อกระจก: หากต้อกระจกเป็นสาเหตุของอาการตามัว สามารถผ่าตัดเอาออกได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่หรือยาชาทั่วไป
การแก้ไขเปลือกตาหย่อนยาน: สำหรับบางคนอาการตามัวเกิดจากเปลือกตาที่ปิดกั้นการมองเห็นไปจนถึงตาที่อ่อนแอกว่า ในกรณีนี้การรักษาตามปกติคือการผ่าตัดเพื่อยกเปลือกตาขึ้น
การทำให้ตาขี้เกียจทำงาน
เมื่อการมองเห็นและปัญหาทางการแพทย์เบื้องต้นได้รับการแก้ไขแล้วมีจะมีวิธีปฏิบัติอีกหลายอย่างที่สามารถทำได้ เพื่อช่วยปรับปรุงการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น

การใส่ที่ครอบตา (Occlusion), หรือใช้แผ่นแปะปิดตาไว้ (patch): ทำการปิดตาข้างที่ดีไว้เพื่อให้ตาข้างที่มีปัญหาได้ทำงาน ซึ่งสมองจะไม่เพิกเฉยต่อข้อมูลที่รับมาจากดวงตาข้างนั้นอีกต่อไป แผ่นแปะไม่สามารถแก้ปัญหาตาลอยไปลอยมาได้แต่จะช่วยปรับปรุงการมองเห็นในกรณีตาขี้เกียจ
ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุของเด็ก ความรุนแรงของปัญหา และความเคร่งครัดในการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ การปิดตาไว้มักใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมงในแต่ละวัน ในระหว่างที่ทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น อ่านหนังสือ ระบายสี หรือทำการบ้านเด็กควรปิดตาไว้ตลอดจนครบกำหนดเวลา
ยาหยอดตาอะโทรปีน : อาจทำให้เกิดอาการตาพร่ามัวแต่ไม่มีผลกระทบต่อตา อะโทรปีนจะทำหน้าที่ขยายรูม่านตาส่งผลให้มองสิ่งต่างๆ ในระยะใกล้ไม่ชัด ซึ่งจะทำให้ตาที่ขี้เกียจทำงานมากขึ้น อะโทรปีนจะทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดและมองเห็นไม่ชัดหากเทียบกับการปิดตาซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาเหมือนกัน ดังนั้น เด็กที่ทนต่อการปิดตาไม่ได้อาจพิจารณาเลือกใช้ยาหยอดตาแทน
การบริหารสายตา : รูปแบบของการบริหารและเกมที่แตกต่างกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการมองเห็นในดวงตาข้างที่ได้รับผลกระทบของเด็ก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าสิ่งนี้มีประโยชน์สำหรับเด็กโต โดยการบริหารสายตาอาจทำควบคู่ไปกับการรักษาด้วยวิธีอื่นได้ด้วย
การผ่าตัด : บางครั้งอาจเลือกทำการผ่าตัดตาเพื่อแก้ไขลักษณะตาลอย โดยผลการรักษาจะทำให้มีการจัดตำแหน่งของดวงตาดีขึ้น แต่อาจไม่มีผลช่วยปรับปรุงการมองเห็นก็ได้
การบริหารสายตา
การบริหารสายตาเพื่อช่วยแก้ไขการมองเห็น เรียกว่า orthoptics อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นยังไม่มีการบริหารแบบเจาะจงเพื่อช่วยแก้ไขอาการตาขี้เกียจได้
อาจทำการปิดตาข้างที่ดี และให้ตาข้างที่มีปัญหาได้รับการกระตุ้นด้วยกิจกรรมการมองเห็นที่เหมาะสมกับอายุของเด็ก เช่น การระบายสี การวาดภาพแบบจุดต่อจุด การใช้บัตรคำ หรือการต่อเลโก้
การบริหารอื่นๆ เช่น home-based pencil push-ups (HBPP) อาจถูกนำมาใช้เมื่อดวงตาที่มีความแข็งแรงขึ้นนั้นกลับมาอ่อนแออีก ซึ่งทำได้โดยการขยับดินสอให้เคลื่อนไปทางปลายจมูกอย่างช้าๆ และเน้นที่ปลายดินสอ จนกระทั่งจะเห็นภาพพร่ามัว
อย่างไรก็ตาม การบริหารด้วยตนเองที่บ้านอาจไม่ใช่วิธีการรักษาขั้นแรกที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีอาการตาขี้เกียจ การฝึกตา (orthoptic exercises) จำเป็นต่อการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้าง ในผู้มีปัญหาการมองเห็นที่แตกต่างกัน
สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ
สิ่งใดก็ตามที่ขัดขวางการมองเห็นของตาข้างใดข้างหนึ่งในระหว่างพัฒนาการของเด็ก มีโอกาสที่จะทำให้เกิดตาขี้เกียจได้ แม้ว่าเหตุผลจะไม่ชัดเจนนัก แต่สมองจะระงับภาพที่มาจากดวงตาที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
ต่อไปนี้คือตัวอย่างของสาเหตุที่เป็นไปได้บางประการ
ตาเข หรือตาเหล่ (Strabismus)
เป็นความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อที่วางตำแหน่งดวงตา ทำให้ดวงตาไขว้หรือหันออก ความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อทำให้ดวงตาทั้งสองข้างติดตามวัตถุร่วมกันได้ยาก อาการตาเหล่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือเป็นผลมาจากสายตายาวหรือสายตาสั้น การเจ็บป่วยจากเชื้อไวรัส หรือการบาดเจ็บ
ภาวะสายตาทั้งสองข้างมีความผิดปกติในปริมาณไม่เท่ากัน (Anisometropic amblyopia)
ความผิดพลาดในการหักเหของแสงคือแสงไม่ได้โฟกัสอย่างถูกต้องขณะที่เคลื่อนที่ผ่านเลนส์ตา จะเกิดขึ้นเนื่องจากสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง การมีพื้นผิวของกระจกตาหรือเลนส์ไม่สม่ำเสมอทำให้ตาพร่ามัว
เด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติแบบ anisometropic จะมองเห็นได้ไกลกว่าหรือใกล้กว่าในตาข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้างหนึ่ง ส่งผลให้เกิดภาวะสายตาสั้นในตาซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด
ความผิดปกติที่ทำให้เกิดความมัวในตา
รูปแบบที่พบบ่อยที่สุดของภาวะมัว คือ ตาข้างหนึ่งถูกขัดขวางไม่ให้มองเห็นและอ่อนแอลง บางครั้งอาจได้รับผลกระทบจากทั้งสองอย่าง
อาจเกิดจาก:
-
แผลที่กระจกตา แผลเป็น หรือโรคตาอื่น ๆ
-
ต้อกระจกที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งทารกจะเกิดมาพร้อมกับเลนส์ขุ่นมัว
-
ภาวะหนังตาตก (ptosis หรือ droopy eyelid)
-
โรคต้อหิน ( glaucoma )
-
ตาได้รับบาดเจ็บ
-
การผ่าตัดตา
อาการสายตาขี้เกียจ
เด็กที่มีอาการตาพร่ามัว จะไม่สามารถโฟกัสด้วยตาข้างใดข้างหนึ่งได้อย่างถูกต้อง
ตาอีกข้างจะทำงานเพื่อชดเชยปัญหาอย่างหนักจนกระทั่งส่งผลให้ปวดตา
ตาที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นจะเห็นภาพที่ไม่ชัดเจน สมองจะไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และในที่สุดก็จะเริ่มเพิกเฉย
ในหลายๆ กรณีที่เมื่อสมองและดวงตาแข็งแรงขึ้นจะช่วยแก้ไขความบกพร่องได้ดี จนเด็กสังเกตไม่เห็นว่าพวกเขามีปัญหา นั่นคือสาเหตุที่มักตรวจไม่พบตาขี้เกียจจนกว่าเด็กจะได้รับการตรวจสายตาเป็นประจำ
อาการของตาขี้เกียจ ได้แก่ :
-
มองเห็นไม่ชัด blurred vision
-
เห็นภาพซ้อน double vision
-
วัดระยะห่าง หรือกะระยะระหว่างวัตถุกับสิ่งอื่นไม่ดี
-
ดวงตาไม่ทำงานร่วมกัน
-
ตาลอย ( eye turn) ทั้งขึ้น ลง ออกด้านนอก หรือเข้าข้างใน
-
การตรวจสายตาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก ในหลายประเทศการตรวจตาครั้งแรกจะทำขึ้นเมื่ออายุ 3- 5 ปี เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องตรวจตาตั้งแต่เนิ่นๆ ว่ามีประวัติครอบครัวเป็นโรคตาเข ต้อกระจกในวัยเด็กหรือโรคตาอื่นๆ หรือไม่ ผู้ปกครองที่เห็นภาวะตาลอยไปลอยมาของลูกหลังจากที่มีอายุไม่กี่สัปดาห์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยเบื้องต้นเป็นสิ่งสำคัญมาก และควรทำก่อนอายุ 6 ขวบ เนื่องจากเด็กมักไม่ทราบว่ามีปัญหาการมองเห็น ซึ่งอาจทำไม่ได้เสมอไป
การตรวจสายตาเป็นประจำ
ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เด็กจะได้รับการตรวจตาครั้งแรกในช่วงอายุระหว่าง 3-5 ปี หรือก่อนเข้าเรียนในโรงเรียน
นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยตาขี้เกียจส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยโรคเรียบร้อยแล้ว และจะได้รับการรักษาในภายหลัง
หากจักษุแพทย์ หรือนักทัศนมาตร(ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสายตา และระบบการมองเห็นของมนุษย์) สงสัยว่าเด็กมีภาวะตาขี้เกียจ จะทำการทดสอบเพิ่มเติมก่อนทำการวินิจฉัย
ดวงตาจะได้รับการทดสอบแยกกัน เพื่อความแน่นอนว่านันย์ตาแต่ละข้างสามารถมองเห็นได้ใกล้หรือไกลแค่ไหน มีความรุนแรงเพียงใด โดยเด็กจะได้รับการทดสอบอย่างรอบคอบเพื่อตรวจสอบว่าตาเหล่หรือไม่
ภาวะแทรกซ้อน
ตาบอด (Blindness): หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจสูญเสียประสิทธิภาพการมองเห็นในดสงตาข้างที่ได้รับผลกระทบ หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถของการมองเห็นในดวงตาที่ได้รับผลกระทบในที่สุด ซึ่งการสูญเสียการมองเห็นนี้มักเกิดขึ้นอย่างถาวร จากข้อมูลของสถาบันดวงตาแห่งชาติ (National Eye Institute) ระบุว่า ตาขี้เกียจเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของความบกพร่องทางการมองเห็นของตาข้างเดียวในวัยเด็ก วัยกลางคน และผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
ตาลอยไปลอยมา (Eye turn): คือ ตาไม่ได้รับการจัดตำแหน่งอย่างถูกต้อง อาจกลายเป็นตาลอยอย่างถาวรได้
การมองเห็นตรงกลาง (Central vision): หากไม่ได้รับการรักษาอาการตามัวในวัยเด็ก การมองเห็นส่วนกลางของผู้ป่วยอาจพัฒนาไม่ถูกต้อง ปัญหานี้อาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงานบางอย่าง
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการตาขี้เกียจ
-
อาการของตาขี้เกียจ ได้แก่ ตาพร่ามัวและกะระยะห่างระหว่างวัตถุกับสิ่งอื่นไม่ดี
-
ตาขี้เกียจไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับนัยน์ตา แต่เป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์กับสมอง
-
ตาขี้เกียจมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ปัญหาความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ หรือโรคตา
-
เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดี ควรรีบรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lazy-eye/symptoms-causes/syc-20352391
-
https://www.nei.nih.gov/learn-about-eye-health/eye-conditions-and-diseases/amblyopia-lazy-eye
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก