โรคฉี่หนู (Leptospirosis) คือ การติดเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ยาก โดยสามารถทำให้เกิดผลทั้งคนและสัตว์ เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้ เมื่อผิวหนังของเราไปสัมผัสกับดินหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของปัสสาวะสัตว์ที่มีเชื้ออยู่
แบคทีเรีย Leptospira หลายชนิดทำให้เกิดโรคฉี่หนู และชักนำไปสู่สภาวะต่างๆเ ช่น โรค Weil หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
โรคนี้จะไม่ส่งผ่านจากคนสู่คน
แบคทีเรียชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางบาดแผลเปิด ตาหรือเยื่อ สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ได้แก่ หนู สกั๊งค์โอพอสซัม สุนัขจิ้งจอก และแรคคูน
โรคฉี่หนู หรือเลปโตสไปโรซิสพบได้บ่อยในพื้นที่เขตร้อนซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่ามี 10 คนขึ้นไปในทุกๆ 100,000 คนในแต่ละปี ได้รับเชื้อนี้
ในขณะที่สภาพอากาศหนาวเย็นจะพบในอัตราส่วน 0.1 ถึง 1 ต่อ 100,000 คน ดังนั้นผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่เขตร้อนมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อมากขึ้น
กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โรคเลปโตสไปโรสิส หรือโรคไข้ฉี่หนู ในปี 2563 นี้ พบว่ามีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 501 ราย เสียชีวิต 6 ราย โดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน สูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ระนอง ยะลา พังงา ศรีสะเกษ และสตูล ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ ภาคใต้ รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง กลุ่มอายุที่พบป่วยมากสุด คือช่วงอายุระหว่าง 45–54 ปี รองลงมาคืออายุ 35-44 ปี และอายุ 55-64 ปี อาชีพส่วนใหญ่ที่พบป่วย คือ อาชีพเกษตรกร
ประเภทของโรคฉี่หนู
เราสามารถแบ่งประเภทของโรคฉี่หนูได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
โรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรง:
พบประมาณ 90% จากผู้ติดเชื้อเล็ปโตสไปโรซิส จะมีอาการโรคฉี่หนูที่แสดงคือ เจ็บกล้ามเนื้อ หนาวสั่น หรืออาจจะปวดหัวได้
โรคฉี่หนูชนิดรุนแรง:
พบประมาณ 5 – 15% จากผู้ติดเชื้อเล็ปโตสไปโรซิส จะมีอาการสภาวะอวัยวะภายในล้มหลว, การตกเลือด ไปจนถึงการเสียชีวิตซึ่งอาจส่งผลตับหรือไตและอวัยวะสำคัญอื่น ๆ เกิดการติดเชื้อได้
สำหรับโรคฉี่หนูชนิดรุนแรงนั้นมักจะพบว่าเป็นโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยปอดบวม ที่อยู่ในวัยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และพบในผู้สูงอายุ
อาการโรคฉี่หนู
อาการของโรคฉี่หนูมักจะปรากฏขึ้นอย่างฉับพลัน ภายหลังการติดเชื้อ 5 ถึง 14 วัน อย่างไรก็ตามระยะฟักตัวจะอยู่ในช่วง 2 ถึง 30 วัน
โรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรง
สัญญาณและอาการโรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรงประกอบไปด้วย:
- มีไข้ร่วมกับอาการหนาวสั่น
- ไอ
- ท้องเสีย(diarrhea) หรือ อาเจียน
- ปวดศีรษะ (headache)
- เจ็บปวดกล้ามเนื้อ ได้แก่ หลังช่วงล่าง หรือ น่องขา
- ผื่น
- ตาแดงและระคายเคืองตา
- ดีซ่าน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 1 สัปดาห์ และจะมีเพียงแค่ 10% ที่มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคฉี่หนูชนิดรุนแรง
โรคฉี่หนูชนิดรุนแรง
สัญญาณและอาการของโรคฉี่หนูชนิดรุนแรงจะปรากฎภายในไม่กี่วันหลังจากที่อาการโรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรงหายไปในกรณีที่เชื้อมีการพัฒนา
อาการขึ้นอยู่กับอวัยวะสำคัญที่ได้รับการติดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อสามารถนำไปสู่ภาวะไตหรือตับล้มเหลวได้ หายใจติดขัด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาจถึงแก่ชีวิตได้
หากโรคฉี่หนูส่งผลกระทบกับหัวใจ ตับ และไตของคุณแล้ว ผู้ป่วยจะปรากฏอาการดังต่อไปนี้:
- เมื่อยล้า
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- วิงเวียนศีรษะ
- เลือดกำเดาไหล
- ปวดหน้าอก
- หอบ
- เบื่ออาหาร
- มือและข้อเท้ามีอาการบวม
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ดีซ่าน
หากไม่ได้รับการรักษาสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตด้วยภาวะไตวายได้
การติดเชื้อที่สมองหรือไขสันหลัง
กรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อที่สมองหรือไขสันหลัง อาจจะทำให้เยื้อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มไขสันหลังอักเสบ หรืออาจจะเป็นได้ทั้งสองส่วนโดยทั้งสองส่วนจะทำให้เกิดอาการที่ใกล้เคียงกันดังนี้
- มีความสับสนหรืออาการมึนงง
- อาการง่วงนอน
- อาการชัก
- ไข้สูง
- วิงเวียนศีรษะ
- กลัวแสงหรือความไวต่อแสง
- ปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางกายภาพ
- คอเคล็ด
- อาเจียน
- พฤติกรรมก้าวร้าวกว่าปกติ
หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลาอวัยวะทั้งสองส่วนจะได้รับการทำลายที่รุนแรงและสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การติดเชื้อที่ปอด
กรณีที่ติดเชื้อโรคฉี่หนูที่ปอด ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้:
- ไข้สูง
- หอบ
- ไอเป็นเลือด
ในกรณีที่รุนแรงมากจะทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดและหายใจไม่ออกได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิต
สาเหตุของโรคฉี่หนู
โรคฉี่หนูเกิดจากแบคทีเรีย Leptospira มีอยู่ในแรคคูน ค้างคาว แกะ สุนัขหนู ม้า โค กระบือ และสุกร
โดยแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในไตของสัตว์ และถูกขับออกทางปัสสาวะไปยังดินหรือแหล่งน้ำ ทำให้ดินและแหล่งน้ำนั้นปนเปื้อน โดยที่เชื้อสามารถคงอยู่ในดินและแหล่งน้ำได้นานหลายเดือนเลยทีเดียว
การรักษาโรคฉี่หนู
ในกรณีที่ไม่ได้อยู่ในภาวะรุนแรงแพทย์จะรักษาผู้ป่วยด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น Doxycycline หรือ Penicillin
สำหรับผู้ป่วยโรคฉี่หนูชนิดรุนแรง จะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ด้วยการได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำและในผู้ป่วยโรคฉี่หนูบางรายอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
ในกรณีที่มีผลกระทบต่อไตอาจจำเป็นต้องฟอกไต และอาจจะมีการให้สารอาหารที่จำเป็นผ่านหลอดเลือดดำ
การพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนั้นเริ่มตั้ง 2 สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างไร และการติดเชื้อนั้นทำลายอวัยวะต่างๆ รุนแรงเท่าไร
และหากเกิดกับสตรีตั้งครรภ์โรคฉี่หนูสามารถทำอันตรายกับทารกในครรภ์ได้ด้วยเช่นกัน
การป้องกันโรคฉี่หนู
มาตราการป้องกันต่างๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคฉี่หนูได้ เช่น
การหลีกเลี่ยงกีฬาทางน้ำในพื้นที่สุ่มเสี่ยง:
อย่างไรก็ตามสำหรับนักกีฬาทางน้ำควรหลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำจืด แต่ยังสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติในพื้นที่ที่มั่นใจว่าน้ำปลอดจากเชื้อ และมั่นใจว่าบาดแผลหรือร่องรอยใดๆ บนผิวหนังถูกกันน้ำอย่างดีข้อควรระวังหลังจากที่เล่นกีฬาทางน้ำในน้ำที่ปลอดภัยแล้ว ควรรีบชำระล้างร่างกายด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งทันที
การหลีกเลี่ยงการสัมผัสในพื้นที่ทำงานที่มีความเสี่ยง:
สำหรับผู้ที่ทำงานในฟาร์มสัตว์ หรือทำงานร่วมกับน้ำและดินปนเปื้อนควรจะสวมใส่เสื้อผ้ารองเท้าที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เช่น ถุงมือ หน้ากาก รองเท้าบู๊ท และแว่นนิรภัย เป็นต้น
ข้อควรระวังสำหรับนักท่องเที่ยว
สำหรับผู้ที่ไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปยังพื้นที่สุ่มเสี่ยงให้ปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้ :
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ
- ดื่มน้ำจากขวดที่ปิดผนึกเท่านั้น
- ทำความสะอาดแผลและปกปิดแผลให้พ้นจากน้ำ
เคล็ดลับเพิ่มเติมป้องกันโรคฉี่หนู
เคล็ดลับเพิ่มเติมในการป้องกันโรคฉี่หนู มีดังนี้ :
- การควบคุมสัตว์พาหะนำโรคโดยเฉพาะหนู
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหลังทันทีหลังจากสัมผัสกับสัตว์
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่ตายแล้วด้วยมือเปล่า
- ทำความสะอาดแผลและปิดด้วยวัสดุกันน้ำ
- สวมชุดป้องกันระหว่างปฎิบัติงานให้รัดกุม
- หลีกเลี่ยงการลุยลุยน้ำหรือสัมผัสกับแหล่งน้ำจืด และรีบชำระล้างร่างกายด้วยน้ำสะอาดทันทีหากได้รับการสัมผัส
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของและรับประทานอาหารในพื้นที่สุ่มเสี่ยง
- ดื่มน้ำสะอาดจากขวดที่ปิดผนึกแล้วเท่านั้น หรือดื่มน้ำที่มั่นใจว่าผ่านการต้ม
- นำสุนัขไปรับวัคซีนป้องกันโรคฉี่หนู
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/leptospirosis/index.html
- https://www.nhs.uk/conditions/leptospirosis/
- https://www.health.nsw.gov.au/Infectious/factsheets/Pages/leptospirosis.aspx
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก