โรคมะเร็งตับ (Liver Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคมะเร็งตับ (Liver Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

12.09
3613
0

โรคมะเร็งตับ (Liver Cancer) คือโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นที่ตับและมีมะเร็งบางชนิดที่เกิดขึ้นภายนอกตับเเล้วลุกลามมาถึงตับ แต่ทั้งนี้แพทย์ได้ให้คำจำกัดความว่ามะเร็งที่เกิดขึ้นที่ตับคือมะเร็งตับ  

ตับอยู่บริเวณใต้ปอดตรงชายโครงข้างขวาตับเป็นหนึ่งในอวัยวะภายในที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายมนุษย์และมีหน้าที่สำคัญหลายอย่างเช่นการกำจัดของเสียออกจากร่างกายมนุษย์

ในบทความนี้เราจะอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุและอาการของโรคมะเร็งตับเกิดจากอะไร มีการรักษาอย่างไรและมีปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งตับได้ นอกจากนี้เรายังจะอธิบายวิธีการหลีกเลี่ยงโรคมะเร็งตับด้วย

โรคมะเร็งตับ (Liver Cancer)

สาเหตุมะเร็งตับ

ปัจจุบันแพทย์ยังไม่สามารถทราบสาเหตุของการโรคมะเร็งตับได้ อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งตับส่วนใหญ่มีความเชื่อมโยงกับโรคตับเเข็ง

ข้อมูลจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (ACS) ระบุว่าโรคติดเชื้อเรื้อรังที่เกิดขึ้นในตับเช่นโรคไวรัสตับอักเสบ B หรือ C เป็นสาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ 

ผู้ที่มีอาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดใดชนิดหนึ่งมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับได้มากกว่าผู้ที่มีสุขภาพแข็งเเรง ทั้งนี้การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและโรคมะเร็งเป็นสาเหตุของโรคตับเเข็ง 

โรคมะเร็งตับที่เกิดจากพันธุกรรมเช่น ภาวะสะสมธาตุเหล็กในร่างกายมากเกินไป (hemochromatosis) ทำให้เกิดโรคตับเเข็งและเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในตับได้เช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของการเกิดโรคมะเร็งตับได้แก่ 

โรคเบาหวาน  : คนที่เป็นโรคเบาหวานโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคตับอักเสบร่วมด้วยหรือมีการดื่มเครื่องดื่ม        แอลกอฮอลปริมาณมากเป็นประจำเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับได้มากกว่าคนปกติ 

ประวัติของคนในครอบครัว : ถ้าหากคนในครอบครัวเช่นพ่อและเเม่หรือพี่น้องป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ คนในครอบครัวเดียวกันมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับได้มากกว่าคนทั่วไป

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลอย่างหนัก : การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลมากกว่า 6 แก้วทุกวันก่อให้เกิดโรคตับเเข็งและเพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับได้

การรับเชื้อจากอาหารที่มีสารพิษเชื้อราเป็นเวลานาน : เชื้อราบางชนิดได้สร้างสารพิษที่ชื่อว่าอะฟลาทอกซิน เมื่อเชื้อราเกิดขึ้นในพืชดังต่อไปนี้ อาจมีสารพิษอะฟลาทอกซินอยู่ในอาหารดังต่อไปนี้ด้วย ได้แก่  

  • ข้าวสาลี
  • ถั่วลิสง
  • ข้าวโพด
  • ถั่ว
  • นมถั่วเหลือง

ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับจะเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับสารพิษอะฟลาทอกซินเป็นเวลานานเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นต้องกังวลกับสารพิษชนิดนี้เพราะโรงงานผลิตอาหารมีการทดสอบสารอะฟลาทอกซินในอาหารเป็นปกติ

ภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ : คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำเช่นผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือเป็นโรคเอดส์เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับ 5 เท่าของคนร่างกายเเข็งเเรงเป็นปกติ 

โรคอ้วน : การเป็นโรคอ้วนเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งหลายชนิด ในคนที่กำลังจะเป็นโรคมะเร็งตับโรคอ้วนทำให้เกิดภาวะตับเเข็งและโรคไขมันพอกตับได้

เพศ : ผู้ชายมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งมากกว่า 3 เท่าของผู้หญิง ข้อมูลจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (ACS)

การสูบหรี่ : ทั้งผู้ที่เคยสูบบุหรี่มากก่อนหรือผู้ที่กำลังสูบบุหรี่อยู่ในปัจจุบันมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งตับได้สูงกว่าผู้ที่ไม่เคบสูบบุหรี่

ผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งสูงควรได้รับการตรวจเพื่อหาเชื้อมะเร็งตับได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้

  • ผู้เป็นโรคตับอักเสบ B หรือ C
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลเป็นประจำและมีภาวะตับเเข็ง
  • ผู้ที่เป็นโรคตับเเข็งเนื่องจากภาวะการสะสมธาตุเหล็กเกินในร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของการสะสมธาตุเหล็กในเนื้อเยื่อมากเกินไป

โรคมะเร็งตับรักษาได้ยากถ้าหากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับระยะสุดท้ายเเล้ว

การตรวจหาเชื้อมะเร็งตั้งเเต่เริ่มมีอาการเป็นวิธีเดียวที่สามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งในตับได้เพราะมะเร็งตับในระยะแรกยังไม่รุนเเรงเเละยังไม่มีการเกิดเนื้องอกมะเร็งที่ไม่สามารถรักษาได้ 

อาการของโรคมะเร็งตับ

โดยปกติอาการของโรคตับอาการจะไม่มีการเเสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนจนกระทั่งผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย

โดยอาการมะเร็งตับจะแสดงให้เห็นดังต่อไปนี้

  • ภาวะตัวเหลืองหรือผิวเหลืองและตาเหลือง
  • อาการปวดท้อง
  • เกิดอาการปวดที่กระดูกหัวไหล่หรือการะดูกสะบัก
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • ตับหรือม้ามโตขึ้น
  • เกิดอาการท้องบวมหรือมีของเหลวเกิดขึ้นภายในช่องท้อง
  • เกิดอาการอ่อนล้าไม่มีแรง
  • มีอาการอาเจียน 
  • มีอาการปวดหลัง
  • เกิดผื่นคันขึ้น
  • มีไข้ขึ้นสูง
  • รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและทานอาหารได้น้อยลง

โรคมะเร็งตับยังสามารถทำให้หลอดเลือดดำบวมขึ้นซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณผิวหนังหน้ารวมถึงรอยช้ำและมีเลือดออก

นอกจากนี้ยังทำให้มีระดับแคลเซียมและคอลเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นและทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำลง

ระยะของโรคมะเร็งตับ

เพื่อเป็นเเนวทางในการรักษาและระบุภาพรวมของโรคมะเร็งตับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้แบ่งระยะของโรคมะเร็งไว้ 4 ระยะดังต่อไปนี้

  • ระยะที่ 1 : มีก้อนเนื้อมะเร็งหรือเชื้อเกิดขึ้นในตับและยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆของร่างกาย
  • ระยะที่ 2 : มีก้อนเนื้อมะเร็งเกิดขึ้นหลายก้อนมีส่วนหนึ่งอยู่ภายในตับและอีกส่วนหนึ่งได้แพร่กระจายออกไปถึงหลอดเลือด 
  • ระยะที่ 3 : มีก้อนเนื้อมะเร็งขนาดใหญ่หลายก้อนและมีเชื้อมะเร็งที่ลุกลามไปยังเส้นเลือดใหญ่
  • ระยะที่ 4 : โรคมะเร็งเกิดการแพร่กระจายหมายความว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายเเล้ว

เมื่อแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยและระบุระยะของโรคมะเร็งแล้วผู้ป่วยจะเริ่มเข้ารับการรักษา

การรักษามะเร็งตับ

การผ่านตัดเป็นเพียงวิธีการเดียวที่สามารถกำจัดก้อนเนื้อมะเร็งออกไปได้เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับในระยะแรก

ทางเลือกในการรักษาด้วยการผ่าตัดได้แก่

การรักษามะเร็งท่อน้ำดีในเนื้อตับ (Partial hepatectomy)

เมื่อก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดเล็กและเกิดการลุกลามขึ้นที่ตับยังไม่มาก ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้อบางส่วนของตับออกไปเพื่อยั้บยับการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง

ผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายรายมักมีอาการตับเเข็งและแผลที่ตับเกิดขึ้นอย่างไรก็ตามในกรณีนี้การผ่าตัดจำเป็นต้องพยายามเหลือเนื้อตับที่สุขภาพดีไว้ให้เพียงพอมากที่สุดเพื่อให้ตับสามารถทำงานต่อไปได้หลังจากการผ่าตัด

ในระหว่างการผ่าตัดถ้าหากแพทย์พบว่าก้อนเนื้อมะเร็งไม่เป็นอันตรายเเละไม่มีความเสี่ยงมากนักแพทย์อาจจะยุติการผ่าตัด

ผู้ป่วยที่มีสุขภาพตับแข็งเเรงเท่านั้นที่สามารถรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัดตับได้ ( hepatectomy) นอกจากนี้ยังไม่มีวิธีที่รักษาโรคมะเร็งที่ได้ผลดี ถ้าหากเชื้อมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆหรืออวัยวะภายในร่างกายเรียบร้อยเเล้ว

การผ่าตัดตับทำให้มีโอกาสเกิดเลือดไหลออกมาจำนวนมากและมีปัญหาลิ่มเลือดรวมไปถึงการติดเชื้อและอาการปอดบวม

การปลูกถ่ายตับ

มีวิธีการผ่าตัดหลายแบบสำหรับการรักษาโรคมะเร็งตับ

ผู้ป่วยที่สามารถเข้ารับการปลูกถ่ายตับต้องเป็นผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้อมะเร็งขนาดน้อยกว่า 5 เซนติเมตรหรือถ้ามีก้อนเนื้อมะเร็งหลายก้อนแต่ละก้อนควรมีขนาดน้อยกว่า 3 เซนติเมตรไม่เช่นนั้นความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นโรคมะเร็งอีกมีโอกาสสูงมากซึ่งทำให้ไม่สามารถระบุความเสี่ยงในการปลูกถ่ายตับได้  

การผ่าตัดปลูกถ่ายตับที่ประสบความสำเร็จสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งอีกครั้งได้และช่วยฟื้นฟูตับให้สามารถกลับมาทำหน้าที่ได้เป็นปกติ อย่างไรก็ตามระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอาจ ‘ต่อต้าน’ การปลูกถ่ายอวัยวะใหม่และโจมตีอวัยวะที่ปลูกถ่ายใหม่ได้ มีโอกาสน้อยมากที่ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ  

การใช้ยาสามารถยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและช่วยให้ร่างกายปรับตัวกับตับใหม่ได้และช่วยป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอได้ มีบางโอกาสที่การใช้ยาสามารถควบคุมการแพร่เชื้อของเซลล์มะเร็งที่ได้แพร่กระจายออกไปเเล้ว

การรักษาเนื้องอกมะเร็ง

นื้องอกมะเร็งในตับที่ไม่สามารถรักษาเป็นเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในตับเเละแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายแล้วผู้ป่วยในระยะนี้จึงมีโอกาสรอดน้อยมาก อย่างไรก็ตามทีมแพทย์ที่ให้การรักษาสามารถรักษาอาการมะเร็งโดยการชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตเเละการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้

ทางเลือกของการรักษาโรคมะเร็งมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับประเภทของโรคมะเร็งตับ

  • การฆ่าเซลล์มะเร็ง : ศัลยแพทย์สามารถใช้คลื่นวิทยุ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและความร้อนหรือเเม้เเต่แอลกอฮอลทำลายก้อนเนื้อมะเร็งโดยตรงเพื่อทำให้ก้อนเนื้อมีขนาดเล็กลงหรือยับยั้งการเติบโตของเชื้อมะเร็ง การทำลายด้วยการเเช่เย็นหรือการใช้ความเย็นจัด (cryoablation) สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน
  • การฉายเเสง : ทีมแพทย์ผู้รักษาจะทำการฉายเเสงเพื่อทำลายก้อนเนื้อมะเร็งโดยตรงซึ่งสามารถทำลายก้อนเนื้อมะเร็งได้จำนวนมาก การรักษานี้มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้แก่การอาเจียน อ้วกและร่างกายอ่อนล้า 
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด : ทีมแพทย์จะทำการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าไปในกระเเสเลือดหรือเส้นเลือดใหญ่ที่เข้าไปล่อเลี้ยงตับเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง

ในการให้ยาเคมีบำบัดเฉพาะที่ผ่านทางสายยางแพทย์จะทำการผ่าตัดหรือใช้กลไกในการสกัดกั้นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกันด้วยการใส่ยาต้านเชื้อมะเร็งลงไปที่ก้อนเนื้อมะเร็งโดยตรง  

แพทย์อาจจะเเนะนำให้ผู้ป่วยเข้าร่วมการทดสอบประสิทธิภาพของยาใหม่ที่ใช้รักษาทางคลีนิคเป็นยาที่ไม่เคยใช้มาก่อน ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วยได้ดังนั้นผู้ป่วยจึงความสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลหรืองานวิจัยของยาก่อน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *