พยาธิใบไม้ตับ (Liver Fluke) : อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

พยาธิใบไม้ตับ (Liver Fluke) : อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

25.10
1305
0

พยาธิใบไม้ตับ

โรคพยาธิใบไม้ตับหรือ (Liver fluke) คือ พยาธิชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมได้ ในแมวและสุนัข พยาธิชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างแบนคล้ายใบไม้ มีหัวและท้ายเรียวมน ลักษณะลำตัวเป็นสีแดงอ่อน ๆ  โดยการติดเชื้อจะมีสาเหตุมาจากการรับประทานปลาหรือสัตว์น้ำที่ปรุงไม่สุก โดยเมื่อพยาธิเข้าสู่ร่างกายแล้ว จากนั้นพยาธิจะไปอาศัยอยู่ในท่อน้ำดี

Liver Fluke

อาการและผลข้างเคียงของพยาธิใบไม้ตับ

เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ให้สังเกตุถึงอาการจุกและแน่นบริเวณท้องใต้ชายโครงด้านขวา และลิ้นปี่ มีอาการท้องอืด ตับโต เมื่อเป็นไปถึงระยะสุดท้ายจะทำให้ตัวเหลือง เกิดโรคดีซ่าน

เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ อาจจะส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้ดังนี้:

  • ท้องเสีย (diarrhea)
  • มีไข้ (fever)
  • เป็นผื่น
  • เบื่ออาหาร
  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน

และนอกจากอาการข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว หากโชคร้ายเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงอาจจะก่อให้เกิดโรคร้ายได้เช่น เป็น 

นิ่วในไต (kidney stone)  มะเร็งท่อน้ำดี (bile duct cancer) โดยพยาธิใบไม้ตับเป็นสาเหตุหลักของการพัฒนาเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี โดยมีสถิติของอุบัตการของโรคมะเร็งท่อน้ำดีและพยาธิใบไม้ตับรวบรวมไว้ดังนี้ ภาวะติดเชื้อทางเดินท่อน้ำดี (biliary infection)

สาเหตุของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ 

โดยทั่วไปแล้วคนหรือสัตว์จะได้รับเชื้อพยาธิใบไม้ตับจากการทานอาหารทะเล หรือปลาที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ พยาธิใบไม้ตับนี้พบมากในปลาน้ำจืดเช่น ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาแก้มช้ำ ปลาขาว นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในปลาที่นำมาแปรรูปที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการที่ปรุงสุกและสะอาด เช่น ปลาร้า 

การรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ

ยาชนิดรับประทาน

แพทย์จะสั่งจ่ายยาพราซิควอเทลโดยพิจารณาตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วยเพื่อการกำจัดไข่ของพยาธิ และหากผู้ป่วยมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยอาจจะต้องรับประทานยาปฎิชีวินะเพิ่ม  

การผ่าตัด

การผ่าตัดจะเกิดขึ้นหากผู้ป่วยได้มีภาวะแทรกซ้อนหรือติดเชื้อในระบบทางเดินท่อน้ำดี

การป้องกันพยาธิใบไม้ตับ 

การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับนั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นวิธีที่ง่ายและเห็นผลดีที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อพยาธิ โดยควรพิจารณาอาหารที่จะรับประทานดังนี้: 

  • รับประทานอาหารทะเล หรือปลาน้ำจืดที่ปรุงสุกเท่านั้น ไม่ควรรับประทานหากปลายังดิบ หรือกึ่งสุกกิ่งดิบ 
  • เมื่อต้องการรับประทานปลาดิบควรแน่ใจว่าปลานั้นถูกแช่อยู่ในความเย็นต่ำกว่า -20 องศา เป็นเวลา หนึ่งอาทิตย์ 
  • เมื่อไปในยังแหล่งทุรกันดาร  ควรหลีกเลี่ยงอาหารและน้ำที่ไม่ต้ม อาหารที่ไม่ได้ปรุงสุกและสะอาด

ปัจจัยเสี่ยงของโรคพยาธิใบไม้ตับ

จากสถิติของการสุ่มตรวจโรคมะเร็งท่อน้ำดีและพยาธิใบไม้ตับในปี 2552 ได้พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่แล้วเป็นประชาชนในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพฤติกรรมการกินที่ผู้คนในแถบนี้นิยมรับประทาน ก้อย ซึ่งไม่ได้ปรุงสุก ดังนั้นการรับประทานอาหารจึงเป็นปัจจัยหลักที่จะทำความเสี่ยงต่อโรคพยาธิใบไม้ตับมาสู่ร่างกาย

นี่คือลิงค์แหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *