อาการประจำเดือนมาน้อย (Low Menstruation) มีปัจจัยหลายอย่าง เช่น น้ำหนักตัว การออกกำลังกาย และความเครียดล้วนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อการไหลของประจำเดือน ทำให้มีประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ การรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงจึงมีประโยชน์อย่างมาก
ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติมักไม่สร้างความกังวลใจนัก ผู้หญิงทั่วๆ ไปมักพบว่าปริมาณของประจำเดือนจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละเดือน โดยที่บางเดือนจะมีประจำเดือนมาน้อยเดือนอื่นๆ
ในบางกรณี การที่ประจำเดือนมาน้อยอาจบ่งบอกถึงการตั้งครรภ์หรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ในทำนองเดียวกันก็อาจเกิดจากความเข้าใจผิดว่าตนมีประจำเดือนมาน้อยแต่ความจริงแล้วกำลังประสบปัญหาการตกขาวอยู่
ในบทความนี้ จะกล่าวถึงการระบุตัวบุคคลว่าคนที่มีอาการอย่างไรคือผู้มีภาวะประจำเดือนมาน้อย สาเหตุ และเวลาที่ควรไปพบแพทย์
อาการของประจำเดือนมาน้อย
ในช่วงที่มีประจำเดือนตามปกติ เราจะเสียเลือดโดยเฉลี่ยประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ
อย่างไรก็ตาม ในแต่ละคนจะมีความแตกต่างอย่างมาก จึงควรจดบันทึกว่าประจำเดือนของพวกเขามาน้อยกว่าปกติหรือไม่ ซึ่งสามารถวัดปริมาณเลือดประจำเดือนที่ไหลออกมาในแต่ละเดือนได้โดยใช้ถ้วยอนามัย (menstrual cup)
ประจำเดือนมาน้อยอาจมีอาการดังต่อไปนี้:
-
ระยะเวลาที่ประจำเดือนสั้นกว่าปกติสำหรับแต่ละบุคคล
-
ต้องการใช้ และเปลี่ยนผ้าอนามัยน้อยกว่าที่เคย
-
ประจำเดือนมาน้อยอย่างสม่ำเสมอโดยที่ไม่มีประจำเดือนมามากๆ ในวันที่ 1-2 ของรอบเดือน
-
มีเลือดออกมาเป็นหยดเพียงเล็กน้อย 2-3 วัน แทนที่จะไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง
บางครั้งการมีประจำเดือนมาน้อยอาจทำให้อาการของโรคก่อนมีประจำเดือน (PMS) เช่น ปวดหลัง เป็นตะคริวในมดลูก หรืออารมณ์แปรปรวน ลดลง
สาเหตุของประจำเดือนมาน้อย
ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้ประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ :
อายุ
การไหลของประจำเดือนมีความแตกต่างกันไปตลอดช่วงชีวิตของแต่ละคน โดยช่วงแรกมักจะมาน้อยหรือเป็นเพียงหยดเลือดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และจะมาเป็นปกติมากขึ้นเมื่อมีอายุ 20-30 ปี
ผู้ที่มีอายุในช่วงปลายของอายุ 30 และ 40 ปี อาจมีประจำเดือนมากขึ้นและหมดประจำเดือนไว บางเดือนอาจไม่มีประจำเดือน และมีประจำเดือนมามากขึ้นในภายหลัง ประจำเดือนมักจะมาน้อยลง และประจำเดือนมาไม่ปกติมากขึ้นในระยะก่อนหมดประจำเดือน
การตกไข่น้อยลง
บางครั้งผู้หญิงก็มีประจำเดือนไม่ปกติเนื่องจากไม่มีการตกไข่ ซึ่งเรียกว่า anovulation ซึ่งอาจทำให้ประจำเดือนมาน้อยกว่าหรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
มีน้ำหนักน้อย
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยอาจสังเกตพบว่า ประจำเดือนมาน้อยมาก หรือขาดหายไปเลย การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเนื่องจากระดับไขมันในร่างกายลดลงต่ำจนไม่มีการตกไข่อยู่เป็นประจำ
การออกกำลังกายมากเกินไป ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของประจำเดือนมาน้อยหรือขาดหายไป และอาจมีความสัมพันธ์กับการมีน้ำหนักตัวน้อยด้วย
การตั้งครรภ์
ในระหว่างตั้งครรภ์ประจำเดือนมักจะหยุดลงโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม อาจเกิดความผิดพลาดของการฝังตัวของตัวอ่อนที่ทำให้มีเลือดออกเล็กน้อย เลือดออกมากระปริบกระปรอยเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์
เมื่อมีเพศสัมพันธุ์แล้วประจำเดือนไม่มาตามปกติ อาจต้องทำการทดสอบการตั้งครรภ์
โรคประจำตัว
โรคประจำตัวที่ส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย เช่น polycystic ovary syndrome (PCOS) และภาวะที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์อาจส่งผลต่อรอบประจำเดือนได้
ความเครียด
ช่วงเวลาที่มีความเครียด อาจมีผลรบกวนต่อความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ไม่มีรอบเดือนตามปกติ
ประจำเดือนมาน้อยกับการคุมกำเนิด
ในผู้ที่เริ่มกินยาคุมกำเนิด อาจสังเกตเห็นว่าประจำเดือนจะมาน้อยลงเรื่อยๆ
การมีเลือดไหลน้อยลงอาจเป็นเพราะปริมาณฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดอยู่ในระดับต่ำและไม่กระตุ้นให้เกิดการหนาตัวของเยื่อบุมดลูก ส่งผลให้ผู้หญิงอาจมีประจำเดือนมาน้อย เพราะมีการหลุดลอกของเยื่อบุมดลูกน้อยที่สุด
นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นกับผู้ที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด(IUD) ใช้ยาฝังคุมกำเนิด หรือการฉีดยาคุมกำเนิด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ทำให้เยื่อบุมดลูกบางลง
เราอาจพบหยดเลือดในระหว่างมีรอบเดือนเมื่อฮอร์โมนเริ่มช่วยควบคุมการมีประจำเดือน
บางครั้ง แพทย์อาจแนะนำให้คนที่มีประจำเดือนมาน้อยใช้การคุมกำเนิดเพื่อช่วยควบคุมรอบประจำเดือนของเขา การคุมกำเนิดบางประเภทมีฮอร์โมนที่สามารถช่วยทำให้รอบประจำเดือนของแต่ละคนมาเป็นปกติขึ้น
ปัจจัยเสี่ยง
บางครั้ง เราไม่รู้ว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่ทำให้ประจำเดือนมาน้อย อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงบางอย่างทำให้โอกาสของการเกิดภาวะประจำเดือนมาน้อย สูงขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงของประจำเดือนมาน้อย ได้แก่:
-
อายุ: ผู้หญิงที่อายุน้อยมีแนวโน้มที่จะมีประจำเดือนมาน้อย
-
การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่: กระบวนการทางธรรมชาตินี้อาจทำให้การกลับมามีประจำเดือนหลังคลอดบุตรช้าลง หรือนำไปสู่การมีประจำเดือนน้อยลงเมื่อกลับมามีประจำเดือนอีกครั้ง
-
ความเครียด: ผู้ที่มีความเครียดในชีวิตสูง อาจมีผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย
-
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome ; PCOS): ภาวะสืบพันธุ์บางอย่าง เช่น กลุ่มอาการ polycystic ovary syndrome อาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมนและการไหลของเลือดประจำเดือน
เราอาจต้องการปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคน ที่อาจส่งผลอย่างความรุนแรงต่อการมีประจำเดือน
ควรไปพบแพทย์เมื่อใด
การมีประจำเดือนมาน้อยมักไม่ค่อยสร้างความกังวลนัก อย่างไรก็ตาม หากใครมีประจำเดือนมาน้อยอย่างสม่ำเสมอ หรือประจำเดือนมาน้อยร่วมกับมีการที่ประจำเดือนขาดหายไป ควรปรึกษาแพทย์
หากประจำเดือนมาน้อยเกิดขึ้นพร้อมกับอาการอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล เช่น อาการปวดกระดูกเชิงกรานควรไปพบแพทย์
ภาพรวม
ส่วนใหญ่แล้วการที่ประจำเดือนมาน้อยไม่ได้เป็นเหตุให้ต้องกังวล
ปัจจัยหลายอย่างอาจเป็นสาเหตุของประจำเดือนมาน้อย เช่น การอดอาหาร การออกกำลังกาย ยาคุมกำเนิด หรือภาวะสุขภาพ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราต้องเอาใส่ใจร่างกายของพวกเรา หากมีความกังวลเกี่ยวกับระยะเวลาการไหลของเลือดประจำเดือนควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอความชัดเจนและมั่นใจ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.healthline.com/health/womens-health/why-is-my-period-so-light
-
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/14633-abnormal-menstruation-periods
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/amenorrhea/symptoms-causes/syc-20369299
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก