โรคหัด หรือ (Measles) คือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่าเชื้อรูบิโอลา ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อนี้มักมีอาการไข้ร่วมด้วย คนทั่วไปจึงเรียกว่าโรคไข้หัด แต่อย่างไรก็ตามเชื้อโรคหัดนั้นสามารถเข้าสู่ผิวหนังได้ทุกส่วนของร่างกายซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับร่างกายมนุษย์ วิธีการป้องกันโรคหัดนั้นทำได้โดยการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคหัด ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก อย่างไรก็ตามข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก(WHO) พบว่ามีผู้ป่วยโรคหัดจำนวนกว่า 2.6 ล้านคนที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดทุกปี
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับโรคหัด
- โรคหัดเป็นโรคที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง
- นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งประเภทสายพันธุ์เชื้อไวรัสโรคหัดไว้โดยแบ่งออกเป็นเชื้อไวรัสจำนวน 21 สายพันธุ์
- อาการของไข้หัดนั้นได้แก่มักเริ่มต้นด้วยการมีไข้สูง ตาแดงมีผื่นเป็นปื้นสีแดงขึ้นตามส่วนต่างๆของร่างกาย มีอาการจามมีน้ำมูกไหล ไอแห้งร่วมด้วย
- ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดที่ทำให้โรคหัดหายขาดได้ จึงต้องป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไว้ก่อน
- สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถรับวัคซีนโรคหัด
โรคหัดคืออะไร
โรคหัดนั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว โรคหัดนั้นเป็นที่รู้จักกันดีก็เพราะว่าเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสรูบิโอลาหรือโรคหัดมอร์บิลลิจึงเป็นโรคที่เกิดขึ้นประจำท้องถิ่นและหมายความว่ามันสามารถติดต่อแพร่กระจายกันได้ในชุมชน แต่โชคดีที่มีหลายคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดแล้วโรคหัดมักมากับอาการที่ไม่พึ่งประสงค์เช่น ไข้สูง ตาแดง มีผื่นขึ้นตามร่างกายและมีอาการไอจามร่วมด้วย อย่างไรก็ตามอาการที่มากับโรคหัดนี้สามารถหายเองได้ภายในเวลา 7 ถึง 10 วันหลังจากที่อาการโรคหัดได้หายไปแล้ว ร่างกายจะสามารถสร้างมีภูมิคุ้มกันขึ้นมาป้องกันโรคหัดได้เองตลอดชีวิต ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครอยากเป็นโรคหัดอีกครั้งแน่นอน
อาการโรคหัด
โดยส่วนใหญ่เเล้วโรคหัดอาการนั้นมักมีไข้สูงเสมอและมีอาการอย่างน้อย 1 ใน 3 อาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ได้แก่
- อาการไอแห้งและจาม
- มีอาการคัดจมูกหรือน้ำมูกไหล
- อาการตาอักเสบและตาแดง
อาการของไข้ออกหัดนั้นจะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนประมาณ 9 ถึง 11 วันหลังจากที่ได้รับการติดเชื้อในโรคหัดระยะแรกซึ่งผู้ที่ติดเชื้อหัดจะมีอาการดังต่อไปนี้
- น้ำมูกไหล
- มีไอแห้ง
- มีอาการตาแดงหรือเปลือกตาบวมและดวงตาอักเสบ
- มีน้ำตาไหล
- มีอาการสู้แสงไม่ได้หรือตากลัวแสง
- มีอาการจาม
- มีผื่นเป็นปื้นสีน้ำตาลแดงขึ้นตามร่างกายเช่น บริเวณเเขนเเละขา
- มีตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็กหรือจุดสีขาวอมเทา ซึ่งอยู่ภายในกระพุ้งแก้มหรือลำคอ
- มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
อาการของโรคไข้หัดมักมีอาการไข้สูงด้วย ซึ่งอาการนี้เป็นอาการที่ไม่รุนแรงเท่าใดนัก โดยจะมีอาการตัวร้อนอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น 40.6 องศาเซลเซียสและมีอาการแบบนี้อยู่หลายวันจนอาการจะหายไปแล้วอาการดังกล่าวจะกลับมาอีกครั้งก็ต่อเมื่อมีผื่นเป็นปื้นสีแดงปรากฏขึ้น อาการนี้เรียกว่าอาการออกหัด ซึ่งผื่นที่ขึ้นจากโรคหัดนั้น
มักมีลักษณะเป็นผื่นปื้นสีแดงปนน้ำตาลจะปรากฎขึ้นตามบริเวณร่างกายเมื่อได้รับเชื้อหัดประมาณ 3 ถึง 4 ซึ่งอาการนี้เป็นอาการของโรคหัดที่เกิดขึ้นในระยะแรกและอาการนี้สามารถเป็นได้ถึง 1 สัปดาห์ อาการออกหัดหรือการที่มีผื่นเป็นปื้นขึ้นนั้นมักเริ่มต้นที่ใบหูและจากนั้นจึงเกิดการแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เช่นศีรษะและลำคอ เมื่อผ่านไป 2 วันแล้ว ผื่นนี้ก็แพร่กระจายไปยังทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงแขนเเละขาและผื่นตามส่วนต่างๆของร่างกายเหล่านี้ก็จะแพร่กระจายทั่วร่างกายและมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วผื่นนี้มักเกิดขึ้นในวัยเด็ก ซึ่งอาจไม่ใช่โรคหัดก็ได้ แต่หากเด็กมีอาการต่อไปนี้ ควรพบแพทย์ทันที
- ผู้ปกครองมีความสงสัยว่าลูกหลานของตัวเองนั้นเป็นโรคหัด
- อาการผื่นขึ้นตามร่างกายหลายวันเเละไม่มีเเนวโน้มว่าจะดีขึ้นหรือมีอาการแย่ลง
- มีไข้สูงถึง 38 องศาเซลเซียส
- อาการอื่นเช่น ไอแห้ง จาม หรือเป็นผื่นได้หายไปแล้ว แต่ยังคงเป็นไข้อยู่
ประเภทของโรคหัดมีอยู่ 2 ประเภทดังต่อไปนี้
- โรคหัด: โรคนี้เป็นโรคหัดที่เป็นกันอยู่ทั่วไป ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสรูบิโอลา
- โรคหัดเยอรมัน: โรคหัดนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสรูเบลลา
โรคหัดเยอรมันนั้นมีอาการที่ไม่รุนแรงแต่อาจมีความเสี่ยงที่จะต่อผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ซึ่งหากผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เหล่านั้นมีการติดเชื้อโรคหัดเยอรมัน จะส่งผลไปยังทารกในครรภ์ด้วย ทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัดเยอรมันได้ ซึ่งการติดเชื้อของหัดเยอรมันนั้นไม่รุนแรงเท่าโรคหัดธรรมดา การรักษาด้วยวิธีการฉีดวัคซีนโรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมันสามารถทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันป้องกันโรคหัดได้ทั้ง 2 ประเภทได้
สาเหตุโรคหัด
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคหัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสรูบิโอลา ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในสารคัดหลั่งในจมูกอย่างเช่นน้ำมูกและลำคอโดยสามารถติดเชื้อได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งหากเกิดอาการเหล่านี้กับผู้ใหญ่จะเรียกว่า โรคหัดในผู้ใหญ่ โรคหัดสามารถติดต่อและเกิดการแพร่กระจายได้ภายใน 4 วันก่อนที่จะมีผื่นเป็นปื้นสีแดงหรือสีน้ำตาลปรากฏขึ้นมาและหลังจากนั้นก็มีอาการเป็นทั้งไข้เเละเป็นผื่นเกิดขึ้นต่อเนื่องไปถึง 4 ถึง 5 วัน การติดต่อและแพร่กระจายของโรคหัดนั้น สามารถติดต่อได้ผ่านช่องทางต่อไปนี้
- การสัมผัสโดยตรงกับคนที่มีเชื้อไวรัสโรคหัด
- การอยู่ใกล้กับผู้ป่วยโรคหัด โดยเฉพาะการจามและไอ
- การสัมผัสวัตถุที่มีเชื้อไวรัสโรคหัด ซึ่งอาจได้รับมาจากการสัมผัสสารคัดหลั่งในจมูกแล้วเข้าสู่ปากหรือการขยี้ที่ตาและจมูก
เชื้อไวรัสโรคหัดนั้นสามารถมีชีวิตอยู่ในร่างกายหรือบนวัตถุได้เป็นเวลาถึง 2 ชั่วโมง
การรักษาโรคหัด
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาอาการโรคหัดได้มีเพียงแต่การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเท่านั้น ซึ่งหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนแล้ว แพทย์จะแนะนำให้คุณพักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำให้มากเพื่อรักษาภาวะขาดน้ำอาการไข้ออกหัดนั้นสามารถหายไปได้เองภายใน 7 ถึง 10 วัน โดยอาการไข้ออกหัดสามารถหายได้โดยวิธีการรักษาต่อไปนี้
- หากเด็กมีอาการไข้สูง และมีอาการออกหัด ต้องทำให้ไข้ลดลงโดยการทำให้ร่างกายเย็นลงด้วยการเช็ดตัวหรือแปะแผ่นเจลลดไข้แต่ไม่ควรทำให้ตัวเย็นมากเกินไป ให้ทานยาแก้ไข้อย่างเช่น ยาไทลินอล หรือ ยาไอบูโพรเฟ่น ยาเหล่านี้มีสรรพคุณช่วยลดอาการไข้ อาการปวดหัวได้ อย่างไรก็ตามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน แพทย์จะแนะนำปริมาณของยาอะซีตามีโนเฟ่น เนื่องจากยาแอสไพรินเป็นยาที่อันตรายต่อเด็กซึ่งเป็นยาที่อันตรายต่อตับ อีกทั้งหาซื้อได้ง่ายคุณสามารถสั่งซื้อยาเหล่านี้ได้แม้กระทั่งในช่องทางออนไลน์แต่เราไม่แนะนำให้คุณซื้อยาเอง แนะนำให้พาเด็กไปพบคุณหมอจะดีกว่า
- ผู้ใหญ่ไม่ควรสูบบุหรี่ต่อหน้าเด็ก
- การใส่แว่นกันแดดหรือการอยู่ที่ห้องที่แสงสว่างเข้าไม่ถึงนั้น ทำให้ดวงตารู้สึกสบายขึ้น ซึ่งโรคหัดนั้นมีความไวต่อแสงที่สูงขึ้น
- หากมีคราบขี้ตาขึ้นรอบดวงตาควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดรอบดวงตาให้สะอาด
- ยาแก้ไอนั้นไม่สามารถแก้อาการไอแห้งที่เกิดจากโรคหัดได้ แต่การใช้เครื่องทำความชื้นภายในห้องสามารถช่วยแก้อาการไอแห้งได้ หากเป็นเด็กที่มีอายุเกิน 12 เดือนหรือมีอายุ 1 ปีขึ้นไป สามารถดื่มน้ำอุ่นที่ผสมน้ำผึ้งกับน้ำมะนาวโดยใช้น้ำมะนาว 1 ช้อนชาผสมกับน้ำผึ้ง 2 ช้อนชาคนให้เข้ากัน ให้เด็กรับประทานเป็นอาการแก้ไอแห้งและทำให้คอชุ่มชื้นขึ้นแต่ไม่ควรนำน้ำผึ้งแก่เด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 12 เดือนทานเด็ดขาด
- อาการไข้หวัดสามารถทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งเด็กนั้นควรดื่มน้ำให้มากๆต่อวัน
- เด็กที่มีอาการโรคหัดนั้น ไม่ควรไปโรงเรียนและไม่ควรอยู่ใกล้คนอื่น โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่เคยเป็นโรคหัดมาก่อน
- ผู้ที่ขาดวิตามินเอหรือเด็กที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี ที่เป็นโรคหัด อาจต้องการวิตามินเอจากอาหารเสริมที่มีวิตามินเอได้ ซึ่งป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัดได้ แต่ควรอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์เท่านั้น ซึ่งคุณสามารถสั่งซื้ออาหารเสริมที่มีวิตามินเอได้ทางออนไลน์เองจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและได้รับการรับรองจากทางการแพทย์แล้วเท่านั้น
การรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัสโรคหัด แต่บางครั้งแพทย์ก็อาจแนะนำให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวอื่นที่อยู่ในร่างกายเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคหัดชนิดอื่นที่อาจเกิดขึ้นแทรกซ้อนได้
สถิติผู้ป่วยโรคหัดในประเทศไทย
ข้อมูลสถิตินี้มาจากงานวิจัยจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานเกี่ยวกับโรคหัดในเดือน มีนาคม 2563 โดยพบว่า ในจังหวัดเชียงใหม่นั้นได้พบผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโรคหัดในค่ายทหาร 33 ราย เก็บตัวอย่างส่งไปยังห้องปฏิบัติการ 8 ราย มีผลการตรวจยืนยันมาแล้ว 1 ราย ซึ่งผู้ป่วยโรคหัดทั้งหมดนั้นเป็นผู้ชาย รายแรกเริ่มป่วยวันที่ 4 มีนาคม 2563 รายล่าสุดเริ่มป่วยวันที่ 11 มีนาคม 2563 ผู้ป่วยทุกรายไม่แน่ใจว่าเคยได้รับวัคซีนมาก่อนอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/measles/index.html
- https://www.nhs.uk/conditions/measles/
- https://kidshealth.org/en/parents/measles.html
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก