หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) : อาการ สาเหตุ การรักษา

หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) : อาการ สาเหตุ การรักษา

18.08
14349
0

หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) คือ ความผิดปกติจากการติดเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดตุ่มเนื้อและมีรอยนูนขนาดเล็กบนผิวหนังชั้นนอก โดยเป็นการติดเชื้อเรื้อรัง ดังนั้นรอยโรคอาจจะแสดงให้เห็นในระยะเวลาไม่กี่เดือนหรือเป็นปี แต่ส่วนใหญ่สามารถรักษาหายได้ภายใน 6-9 เดือน

หูดข้าวสุกพบได้บ่อยในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ในสถานที่ที่มีเด็กอยุ่ร่วมกัน เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล ติดต่อได้โดยการสัมผัสโดยตรง หรือจากการใช้สิ่งของร่วมกัน ระยะฟักตัวของของโรค 2-8 สัปดาห์ ผื่นที่เป็นตุ่มนูนที่ใบหน้า รักแร้ แขน ลำตัว และบริเวณอวัยวะเพศ หูดข้าวสุกเป็นโรคที่สามารถหายเองได้ภายใน 6-12เดือน แต่ในบางรายอาจนานหลายปี และอาจลามไปบริเวณอื่น

อาการของหูดข้าวสุก

ตำแหน่งของการเกิดตุ่มหูดข้าวสุกโดยทั่วไปอยู่บริเวณใบหน้าลำตัว แขน ขา และบริเวณอวัยวะเพศ รวมไปถึงท้องน้อยและต้นขาด้านใน ลักษณะอาการหูดข้าวสุกคือ:

  • ไม่สร้างความเจ็บปวด แต่จะมีอาการคัน
  • มีขนาดเล็ก(เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-5 มม.)
  • มีจุดบุ๋มตรงกลางตุ่มหูด
  • เป็นตุ่มสีเนื้อ
  • ตุ่มจะนุ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
  • เมื่อเวลาผ่านไปตุ่มสีเนื้ออาจกลายเป็นสีแดง
  • ใจกลางของตุ่มมีลักษณะเป็นไขสีขาว

หูดข้าวสุกมักจะหายได้เอง อาจจะนานเป็นเดือนหรือเป็นปีในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันปกติ ส่วนผู้ที่มีโรคเอดส์ หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันนั้นจะมีลักษณะการเกิดที่เฉพาะรวมไปถึงความเรื้อรัง

สาเหตุของหูดข้าวสุก

เชื้อไวรัส “มอลลัสคุมคอนทาจิโอซุม” Molluscum contagiosum เป็นกลุ่มเดียวกับไวรัสอีสุกอีใส ไวรัสนี้ติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัส และพบได้บ่อยในเด็กเล็ก อย่างไรก็ตามไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายโดยการสัมผัสทางเพศ และสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง Molluscum contagiosum สามารถลุกลามไปยังส่วนอื่นๆได้จากการเกาและถู

หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)

การวินิจฉัยหูดข้าวสุก

วิธีวินิจฉัยหูดข้าวสุกนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของแผลหรือตุ่มหูดข้าวสุก วิธีการตรวจสอบนั้นคือ การตรวจสอบชิ้นเนื้อ หากมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาใดที่จะเกิดขึ้นสามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้

การรักษาหูดข้าวสุก

หูดข้าวสุกนั้นสามารถหายได้เอง ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่ต้องรับการรักษา อย่างไรก็ตามรอยโรคหรือตุ่มหูด สามารถกำจัดออกได้โดยการขูดหรือการจี้ด้วยความเย็น การใช้ยาเฉพาะที่เช่น ยาสำหรับกำจัดหูด เป็นต้น หมายเหตุ: การผ่าตัดเพื่อกำจัดหูดออก อาจทำให้เกิดแผลเป็นได้

การป้องกันหูดข้าวสุก

การป้องกันหูดข้าวสุกสามารถทำได้ดังนี้

  • รักษามือให้สะอาด
  • ละเว้นการจับ แกะ หรือถูรอยโรค
  • ปิดรอยโรคด้วยผ้าหรือผ้าพันแผล
  • อย่าใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือของส่วนตัวอื่นๆร่วมกับผู้อื่น
  • อย่าลงเล่นกีฬาที่ต้องใช้การสัมผัสร่างกายโดยเฉพาะมวยปล้ำถ้าคุณมีการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการว่างน้ำในสระ ยกเว้นถ้าคุณแปะพลาสเตอร์กันน้ำสำหรับรอยโรค
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ถ้าคุณมีรอยโรคบริเวณอวัยวะเพศ
  • อย่าโกนหรือทำกระบวนการ Electrolysis (กระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้าจากภายนอกเข้าไปในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี) ในส่วนของร่างกายที่มีรอยโรค

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *