การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI คือ เครื่องสแกนชนิดหนึ่งที่ใช้คลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูงและคลื่นวิทยุเพื่อถ่ายภาพภายในร่างกายอย่างละเอียด
เครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอคือเครื่องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดใหญ่ที่มีสนามแม่เหล็กพลังแรงสูง คนไข้จะเข้าอุโมงค์ตรวจร่างกาย โดยนอนอยู่ด้านในอุโมงค์ระหว่างการทำสแกน
การทำ MRI เอ็มอาร์ไอสแกนมีไว้เพื่อช่วยตรวจเกือบจะทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งรวมถึง:
- สมองและไขสันหลัง
- กระดูกและข้อต่อ
- ทรวงอก
- หัวใจและหลอดเลือด
- อวัยวะภายในเช่นตับ มดลูกหรือต่อมลูกหมาก
ผลการตรวจเอ็มอาร์ไอสแกนสามารถช่วยในการวิจฉัยโรค วางแผนการรักษาและประเมินผลที่รักษามาก่อนหน้านั้น
ระหว่างการสแกนเอ็มอาร์ไอจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ในระหว่างการตรวจ MRI เอ็มอาร์ไอ คนไข้จะนอนลงบนเตียงแบนๆที่เคลื่อนเข้าไปในเครื่องสแกน
ขึ้นอยู่กับบริเวณส่วนที่ได้รรับการสแกน คนไข้อาจถูกเคลื่อนเข้าอุโมงค์ตรวจได้ทั้งแบบเอาศีรษะเข้าไปก่อนหรือเอาส่วนเท้าเข้าไปก่อน
เครื่องเอ็มอาร์ไอจะถูกทำงานโดยนักรังสีการแพทย์ ที่ได้รับการฝึกฝนในการถ่ายภาพเพื่อการตรวจ
นักรังสีการแพทย์จะควบคุมเครื่องสแกนโดยใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะอยู่แยกอีกห้องเพื่อป้องกันสนามแม่เหล็กที่กำลังทำงานจากเครื่องสแกน
คนไข้สามารถพูดคุยกับนักรังสีการแพทย์ได้ผ่านเครื่องอินเตอร์คอม และรักรังสีการแพทย์สามารถเห็นคนไข้ผ่านจอมอนิเตอร์ได้ตลอดการสแกน
ในระหว่างการสแกนบางจังหวะเครื่องสแกนจะทำให้เกิดเสียงเคาะดังขึ้นมา เป็นการทำงานของไฟฟ้าจากขดลวดเครื่องสแกนที่เปิดและปิด
คนไข้อาจได้ใช้อุปกรณ์อุดหูหรือสวมหูฟัง
สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือการพยายามอยู่ให้นิ่งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
การสแกนอาจใช้เวลาราว 15 – 90 นาที ขึ้นอยู่กับขนาดบริเวณที่สแกนและต้องการจำนวนภาพถ่านมากน้อยแค่ไหน
เครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอทำงานอย่างไร
ร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่ทำมาจากโมเลกุลน้ำ ซึ่งประกอบด้วยอะตอมไฮโดรเจน และออกซิเจน
บริเวณศูนย์กลางของแต่ละอะตอมของไฮโดรเจน คือ อนุภาคที่เล็กมากๆที่เรียกว่าโปรตอน โปรตอนคือแม่เหล็กขนาดเล็กมากๆ และมีความไวต่อสนามแม่เหล็กมาก
ในขณะที่คนไข้นอนแยู่ภายใต้สนามแม่เหล็กแรงสูง โปรตอนในร่างกายก็จะนอนอยู่ในทิศทางเดียวกัน ในรูปแบบเดียวกันของแม่เหล็กที่สามารถดึงเข็มของเข็มทิศ
คลื่นวิทยุจะถูกยิงออกมาเป็นช่วงสั้นๆไปยังบริเวณบางส่วนของร่างกาย ชนกับโปรตอนให้แตกแถว
เมื่อคลื่นวิทยุปิด โปรตอนก็จะกลับมาจัดเรียงตัวใหม่ สิ่งนี้จะส่งสัญญานวิทยุออกมาซึ่งรับไว้ด้วยเครื่องรับ
สัญญานเหล่านี้จะจะสร้างรายละเอียดเกี่ยวกับโปรตอนในตำแหน่งที่ชัดเจนของภายในร่างกาย
การตรวจจะช่วยแยกแยะระหว่างชนิดของเนื้อเยื่อที่หลากหลายในร่างกาย เพราะโปรตอนของเนื้อเยื่อแต่ละชนิดที่แตกต่างกันก็จะมีการจัดเรียงที่ต่างกันด้วย
ในลักษณะเดียวกันของการสร้างภาพบนจอคอมพิวเตอร์ที่ใช้พิกเซลนับล้านในการสร้างภาพที่สมบูรณ์ สัญญานจากโปรตอนนับล้านในร่างกายจะผสมผสานเพื่อสร้างรายละเอียดของภาพถ่ายในร่างกาย
ความปลอดภัย
การสแกนเอ็มอาร์ไอเป็นการตรวจที่ไม่เจ็บปวดและมีความปลอดภัย คนไข้อาจรู้สึกอึดอัดหากมีภาวะกลัวที่แคบ แต่คนส่วนใหญ่มักรับมือกับการตรวจได้จากความช่วยเหลือจากนักรังสีการแพทย์
การเข้าเครื่องสแกนด้วยเท้าก่อนอาจเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า ถึงแม้จะไม่ใช่เสมอไปก็ตาม
จากการวิจัยบางงานพบว่าสนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุที่ใช้ในระหว่างสแกนเอ็มอาร์ไออาจสร้างความเสี่ยงที่เป็นอันตรายจากการทำMRIต่อร่างกายมนุษย์
แต่ยังไม่มีหลักฐานถึงความเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งนั้นหมายความว่าการทำสแกนเอ็มอาร์ไอยังเป็นหนึ่งในการตรวจที่ถือว่ามีความปลอดภัยที่เหมาะสม
แต่การสแกนเอ็มอาร์ไออาจไม่เหมาะในบางสถานการณ์ นกตัวอย่างเช่น หากคนไข้เคยมีการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะโลหะเทียม เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจหรือข้อต่อเทียม อาจไม่สามารถสแกนเอ็มอาร์ไอได้
และมักไม่แนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก