โดยปกติการติดเชื้อราที่เล็บเป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติกับเล็บโดยคิดเป็น 50% โดยทั่วไปเชื้อราสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย แต่ถ้ามีเชื้อราเกิดขึ้นมากเกินไปก่อให้เกิดปัญหากับร่างกายได้เช่นกัน
โรคเชื้อราที่เล็บ (Nail Fungal) ภาษาอังกฤษเรียกว่า onychomycosis หมายถึงการติดเชื้อราที่มีลักษณะเป็นสายราและยีสต์ รวมถึงโรคกลากเล็บ
เมื่อเล็บนิ้วมือหรือเท้าติดเชื้อรา โดยทั่วไปลักษณะของนิ้วเท้าหรือนิ้วมือที่เกิดการติดเชื้อจะเปลี่ยนสี เล็บหนาขึ้นและขอบเล็บหัก ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นที่เล็บนิ้วหัวแม่เท้า
ประชากรผู้ใหญ่ประมาณ 10 % เป็นผู้ที่มีอาการติดเชื้อราที่เล็บ ในบทความนี้เราได้ให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโรคเชื้อราที่เล็บ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ อาการและการรักษาด้วยเช่นกัน
ข้อสรุปเกี่ยวกับการเชื้อราที่เล็บ:
- เชื้อราที่มีขนาดเล็กเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
- โดยปกติการติดเชื้อราสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเล็บมือและเล็บเท้า
- การวินิจฉัยโรคเชื้อราที่เล็บสามารถทำด้วยการนำเศษเล็บมาตรวจ
การรักษาเชื้อราที่เล็บ
การรักษาโรคเชื้อราที่เล็บจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานและในแต่ละกระบวนการมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งวิธีการรักษาได้แก่การทานยาต้านเชื้อราและครีมทารักษาเชื้อรา รวมถึงวิธีการรักษาอื่นๆ สำหรับยาทารักษาเชื้อราทั่วไปเป็นยาที่สามารถซื้อตามร้านขายยาเองได้ แต่ไม่สามารถรักษาการติดเชื้อราที่เล็บได้ดี
ยาชนิดทานที่ใช้รักษาโรคเชื้อราที่เล็บได้แก่:
- ยา terbinafine (Lamisil)
- ยา itraconazole (Sporanox)
- ยา fluconazole (Diflucan)
โดยปกติการควรทานยาต้านเชื้อราเหล่านี้เป็นเวลา 4 เดือนจนกระทั่งการติดเชื้อราหายไปและไม่กลับมาเกิดขึ้นอีก
ในบางกรณี ถ้าหากผู้ป่วยเกิดการติดเชื้ออย่างรุนเเรง อาจจำเป็นต้องนำเล็บที่ติดเชื้อออกทั้งหมด
การรักษาด้วยตนเองที่บ้าน
โดยปกติเชื้อราที่เล็บมักหายไปได้ ด้วยการทำความสะอาดเล็บเท้าอย่างสม่ำเสมอ แต่ทั้งนี้เชื้อราสามารถกลับมาเกิดขึ้นได้อีกครั้ง
นอกจากนี้ยังมีวิธีการดูแลรักษาเล็บเท้าเองที่บ้านที่ผ่านการวิจัยเเล้วว่าเป็นวิธีการรักษาที่ใช้ได้ผล ซึ่งได้แก่
- วิคส์ วาโปรับ (Vicks Vaporub) เป็นการบูรที่ทำมาจากน้ำมันยูคาลิปตัส มีงานวิจัยในปี 2011 พบว่าสามารถช่วยรักษาเชื้อราที่เล็บได้
- น้ำมันออริกาโน่ : สามารถใช้น้ำมันออริกาโน่ผสมกับน้ำมันทรีทีได้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้น้ำมันทั้งสองชนิดร่วมกัน ผู้ใช้ต้องมั่นใจว่าไม่เคยแพ้น้ำมันชนิดใดชนิดหนึ่ง
- น้ำมันโอโซน : เป็นน้ำมันมะกอกและน้ำมันดอกทานตะวันที่ผสมกันและผ่านการกลั่นในในชั้นบรรยากาศโอโซน มีข้อมูลจากผลการวิจัยรับรองว่าน้ำมันชนิดนี้สามารถรักษาโรคเชื้อราที่เล็บได้
นอกจากนี้ยังมีการใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆในการรักษาเชื้อราที่เล็บได้แก่ น้ำมันทรีทีออสเตรเลีย น้ำส้มสายชู และสารสกัดจากเมล็ดองุ่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
การป้องกันเชื้อราที่เล็บ
การป้องกันเชื้อราที่เล็บเท้าและเล็บมือมุ่งเน้นที่การรักษาความสะอาดของเล็บมือและเท้าเป็นหลัก โดยสามารถปฏิบัติได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- รักษาความสะอาดเล็บและมั่นตัดเล็บให้สั้นเสมอ
- สวมใส่รองเท้าที่มีอากาศถ่ายเทดี
- ใช้สเปรย์หรือแป้งทาแก้เชื้อรา
- สวมใส่ถุงมือยางเมื่อต้องสัมผัสกับน้ำมากเกินไป
- หลีกเลี่ยงการกัดเล็บ
- สวมใส่รองเท้าแตะเมื่อไปสระว่ายน้ำ
- เมื่อทำเล็บมือหรือเล็บเท้าควรมั่นใจว่าอุปกรณ์ผ่านการทำความสะอาดเเล้ว
- ไม่ควรใส่เล็บปลอมหรือทาเล็บบ่อย
- ควรล้างมือทันที่เมื่อสัมผัสกับมือของผู้ที่มีเชื้อรา
- หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าหรือถุงเท้าร่สมกับผู้อื่น
สาเหตุของการเกิดเชื้อราที่เล็บ
เชื้อราที่เกิดขึ้นกับเล็บเป็นเชื้อราชนิดที่ไม่ต้องการแสงแดดเพื่อการอยู่รอด ดังนั้นเชื้อราจึงเจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่อับชื้น
โดยส่วนใหญ่การติดเชื้อราที่เล็บมีสาเหตุเกิดจากกลุ่มเชื้อราที่มีชื่อเรียกว่า dermatophyte (เช่น Candida ) ซึ่งได้แก่เชื้อราชนิดดังต่อไปนี้
- Trichophyton rubrum เป็นเชื้อรากลุ่ม dermatophyte ที่ทำให้เกิดเชื้อราที่เล็บทั่วไป
- Trichophyton interdigitale.
- Epidermophyton floccosum.
เชื้อราชนิดทั่วไปได้แก่ :
- neoscytalidium
- scopulariopsis
- aspergillus
โดยปกติเชื้อโรคที่ทำให้เกิดเชื้อราที่เล็บสามารถเข้าสู่ผิวหนังผ่านบาดแผลขนาดเล็กหรือช่องว่างขนาดเล็กระหว่างเล็บและฐานเล็บ ซึ่งเชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในบริเวณที่มีความชื้นเเละอบอุ่น
ปัจจัยเสี่ยง
การเกิดเชื้อราที่เล็บสามารถเกิดขึ้นกับทุกคน แต่โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้มากกว่าวัยรุ่น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อราที่เล็บได้ดังต่อไปนี้
- เลือดไหวเวียนได้ไม่สะดวก
- เล็บยาวช้า
- คนในครอบครัวติดเชื้อราที่เล็บ
- มีเหงื่อออกที่เล็บมือหรือเล็บเท้ามากเกินไป
- ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศร้อนและชื้น
- ใส่เล็บปลอม
- สวมใส่รองเท้าที่ไม่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
- เดินเท้าเปื่อยเปล่าที่สาธารณะเช่นสระว่ายน้ำ สถานที่ออกกำลังกายหรือห้องอาบน้ำสาธารณะ
- เกิดการบาดเจ็บหรือการอักเสบติดเชื้อบริเวณผิวหนังหรือเล็บมาก่อน
- เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน เอดส์ มีปัญหาเรื่องการไหลเวียนของเลือด และระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
- สวมใส่รองเท้าที่คับแน่นเกินไป
- เกิดบาดแผลที่บริเวณผิวหนังใต้นิ้วมือเนื่องจากการออกกำลังกายหรืออุบัติเหตุอื่นๆ
อาการของเชื้อราที่เล็บ
เชื้อราที่เล็บลักษณะยีสต์ เป็นสาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่เล็บนิ้วมือและเท้า
ลักษณะทั่วไปของการติดเชื้อราที่เล็บมีดังต่อไปนี้:
- เล็บหนาขึ้น
- ผิวเล็บแตกหัก
- เกิดเล็บขบ
- ผิวเล็บขรุขระ
- มีรูปร่างผิดปกติ
- เล็บกลายเป็นสีเหลืองหรือมีสีเข้มขึ้น
เมื่อเกิดเชื้อราขึ้นที่เล็บสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนเเรงที่บริเวณเล็บนิ้วมือหรือเท้า นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ร่วมด้วย
การวินิจฉัย
แพทย์จำเป็นต้องทำการวินิจฉัยการติดเชื้อราที่เล็บเท้าอย่างละเอียด เนื่องจากการติดเชื้อมีอาการที่หลากหลายและลักษณะคล้ายกับโรคอื่นๆเช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบและอาการบาดเจ็บที่ฐานเล็บหรือโรคเล็บเหลืองเป็นต้น
คำแนะนำเพิ่มเติม
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคเชื้อราที่เท้าเบื้องต้น ทั้งนี้กลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์หรืออาการระคายเคืองยังอาจเกิดขึ้นหลังจากเชื้อราที่เท้าหายไป
การรักษาเชื้อราที่เล็บนิ้วมือและเท้าจำเป็นต้องใช้เวลารักษานาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการเกิดเชื้อราซ้ำ รวมถึงการแพร่กระจายของเชื้อราไปยังบริเวณอื่นๆ นอกจากนี้การติดเชื้อราที่เล็บยังส่งผลทำให้เกิดโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบได้เช่นกัน
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/nail-fungus/symptoms-causes/syc-20353294
- https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/ss/slideshow-toenail-fungus
- https://www.healthline.com/health/fungal-nail-infection
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก