การดูแลแผลเปิด (Open Wound)

การดูแลแผลเปิด (Open Wound)

14.09
1873
0

แผลเปิดเป็นการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อด้านใน หรือด้านนอกที่ทำให้เห็นเนื้อข้างใน เราสามารถรักษาแผลเปิดได้ที่บ้านด้วยยา และการรักษาแบบธรรมชาติ 

อย่างไรก็ตาม หากมีแผลที่รุนแรง ควรที่จะพบแพทย์ทันที เช่น แผลที่มีเลือดไหลมาก หรือกระดูกหัก 

แผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด: เปิด หรือ ปิด 

ในแผลปิด ความเสียหายของเนื้อเยื่อ และเลือดออกเกิดขึ้นใต้ผิวหนัง ตัวอย่างของแผลปิด เช่น การช้ำ 

แผลเปิดเป็นแผลที่ผิวมีรอยแยก ทำให้เห็นเนื้อเยื่อข้างใน แผลเปิดมักเกิดจากการล้ม การกระแทก และการผ่าตัด 

ชนิดของแผล

แผลถลอก 

แผลถลอกเกิดขึ้นเมื่อผิวไถลไปกับพื้นผิวที่ขรุขระ เช่น หกล้มบนถนน 

แม้ว่าแผลถลอกนั้นไม่ทำให้เลือดไหลมาก แต่ก็ควรทำความสะอาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 

แผลฉีกขาด 

แผลฉีกขาดเป็นแผลที่ผิวเปิด หรือฉีก มักเกิดจากอุบติเหตุ เช่น มีดบาด เครื่องจักร หรือของแหลมคมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เลือดไหลมาก 

แผลผิวหนังหลุด 

แผลผิวหนังหลุดเป็นแผลที่หนังหลุดออกไป ซึ่งเกิดจากอุบติเหตุรุนแรง เช่น การระเบิด การถูกสัตว์ทำร้าย หรืออุบติเหตุจากยานพาหนะ 

แผลรั่ว 

แผลรั่วเป็นแผลที่เป็นรูเล็ก ๆ ที่เนื้อเยื่ออ่อน หนาม หรือเข็มสามารถทำให้เกิดแผลชนิดนี้ได้ อย่างไรก็ตาม มีด หรือการถูกยิงก็ทำให้กล้ามเนื้อ และอวัยวะถูกทำลายในระดับลึก ซึ่งอาจทำให้เลือดออกมาก 

แผลตัด 

แผลผ่าตัดเป็นแผลที่ถูกทำด้วยความสะอาด ตัดตรง การศัลยกรรมหลายอย่างต้องผ่าตัด อย่างไรก็ตาม อุบัติเหตุจากมีด ใบมีดโกน แก้วแตก หรือของมีคมอื่น ๆ ก็ทำให้เกิดแผลตัดได้เช่นกัน 

การทำแผล

แผลเล็กน้อย หรือที่เกิดขึ้นกระทันหันที่เป็นแผลเปิดอาจไม่ต้องไปหาหมอ เราสามารถทำแผลจากที่บ้านได้ 

อย่างไรก็ตาม หากเป็นแผลเปิดที่มีเลือดออกมาก ให้ไปพบแพทย์ทันที 

การทำแผลเปิดต้องทำตามขั้นตอนเหล่านี้:

  • หยุดเลือด: ใช้ผ้าสะอาด หรือพลาสเตอร์กดลงไปที่แผลเพื่อหยุดเลือด 
  • ทำความสะอาดแผล: ใช้น้ำสะอาด หรือน้ำเกลือล้างแผลเพื่อให้เศษต่าง ๆ หรือแบคทีเรียหลุดออกไป เมื่อแผลสะอาดแล้ว ให้เช็ดให้แห้ง หากเป็นแผลที่รุนแรง แพทย์อาจต้องเอาเนื้อเยื่อที่ตาย แก้ว กระสุน หรือสิ่งของแปลกปลอมออกจากแผล 
  • ทาแผลด้วยยาปฏิชีวนะ: หลังจากทำความสะอาดแผลแล้ว ทายาปฏิชีวนะบาง ๆ ลงบนแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 
  • ปิดแผล: การปิดแผลที่สะอาดทำให้แผลหายเร็วขึ้น พลาสเตอร์กันน้ำใช้ได้ผลดีกับแผลเล็ก ๆ สำหรับแผลใหญ่ ๆ อาจต้องใช้ผ้าก๊อต อย่างไรก็ตาม หากแผลติดเชื้อไปแล้ว ปล่อยแผลให้เป็นแผลเปิดจนกว่าการติดเชื้อจะหายไป 
  • เปลี่ยนผ้าปิดแผลทุกวัน: ควรเปลี่ยนผ้าปิดแผลทุก 24 ชั่วโมง ดูว่าแผลไม่ติดเชื้อ และแห้งก่อนที่จะติดผ้าปิดแผลผืนใหม่ลงไป แผลควรจะแห้งอยู่เสมอ 

Open Wound

ยาสำหรับรักษาแผลเปิด 

บางคนสามารถใช้ยาลดปวดลดการอักเสบที่หาซื้อได้ตามร้านขยยาได้ หลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกในระหว่างที่แผลกำลังรักษาได้ 

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์อาจสั่งยาแก้ปวดชนิดที่แรงให้หากผู้ป่วยมีแผลรุนแรง หรือแผลติดเชื้อ 

เราสามารถใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ได้กับแผลบาดที่เล็กน้อย ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะให้หากคนไข้มีความเสี่ยงที่แผลจะติดเชื้อ

การรักษาที่บ้าน 

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชันมีสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีคุณสมบัติต้านแบคทีเรีย ซึ่งช่วยให้แผลหายไวขึ้น 

สามารถใช้ได้โดยการนำขมิ้นชันไปผสมกับน้ำอุ่น แล้วทาบริเวณเเผล 

ว่านหางจระเข้ 

ว่านหางจระเข้มีวิตามิน และแร่ธาตุมากมาย ซึ่งช่วยให้แผลหายเร็ว 

ทาเจลว่านหางจระเข้บาง ๆ บริเวณที่เป็นแผล แล้วติดพลาสเตอร์ลงไป 

น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวอาจช่วยให้แผลหายเร็วได้เพราะมี Monolaurin อยู่สูง ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ 

การใช้น้ำมันมะพร้าวอาจช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในระหว่างที่รักษาแผล 

กระเทียม

กระเทียมมี Allicin ซึ่งมีคุณสมบัติต้านจุลินทรีย์ และต้านการอักเสบ จากการศึกษาในหนู พบว่า การใช้ขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของกระเทียม 30% ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นได้ เมื่อเทียบกับวาสลีน 

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *