โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

25.04
1605
0

โรคหินปูนเกาะกระดูกหูคืออะไร? 

Otosclerosis มาจากคำว่า oto ที่มีความหมายว่า “ของหู” และ (Sclerosis) ที่มีความหมายว่า “การแข็งขึ้นอย่างผิดปกติของเนื้อเยื่อร่างกาย” โรคนี้เกิดจากการปรับแต่งกระดูกใหม่ที่ผิดปกติในหูชั้นกลาง การปรับแต่งกระดูกใหม่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต ซึ่งเนื้อเยื่อกระดูกจะซ่อมแซมตัวเองด้วยการแทนที่เนื้อเยื่อเก่าด้วยเนื้อเยื่อใหม่ ในโรคหินปูนเกาะกระดูกหู การปรับแต่งกระดูกที่ผิดปกติไปขัดขวางความสามารถในการเดินทางของเสียงจากหูชั้นกลางเข้าไปสู่หูชั้นใน ชาวอเมริกัน 3 ล้านคนเป็นโรคนี้ ในหลาย ๆ เคส โรคหินปูนเกาะกระดูกหูถูกคาดว่าอาจจะเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธูกรรม ผู้หญิงผิวขาว อายุกลางคน มีโอกาสเสี่ยงมากที่สุดที่จะเป็นโรคนี้ 

เราได้ยินได้อย่างไร 

การได้ยินที่ดีนั้นเกิดจากการเปลี่ยนคลื่นเสียงในอากาศให้เป็นสัญญาณเคมีไฟฟ้าภายในหู แล้วประสาทหูจะส่งต่อสัญญาณนี้ไปยังสมอง 

อันดับแรก คลื่นเสียงเข้าสู่หูชั้นนอก เดินทางผ่าช่องเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารูหู และไปยังแก้วหู 

คลื่นเสียงที่เข้าไปทำให้แก้วหูสั่น การสั่นของเสียงนั้นเดินทางต่อไปยังกระดูกเล็ก ๆ 3 ชิ้นในหูชั้นกลางที่เรียกว่ากระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน

กระดูกในหูชั้นกลางเหล่านี้ส่งต่อคลื่นความสั่นเสียงไปยังประสาทหู (Cochlea) หรือหูชั้นใน ส่วนบนและส่วนล่างของประสาทหูถูกแยกออกจากกันโดยเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้ เรียกว่า “basilar” 

ความสั่นของเสียงทำให้ของเหลวในหูชั้นในเกิดเป็นคลื่น และคลื่นนั้นเคลื่อนที่ไปตามพื้นผิวของหูชั้นใน เซลล์ขนที่อยู่ในหูชั้นในทำให้คลื่นเหล่านี้เคลื่อนที่ขึ้น ๆ ลง ๆ 

เมื่อโครงสร้างที่เต็มไปด้วยขนกระทบผนังเซลล์ทำให้เกิดการเอียงของจนไปทางด้านใดด้านหนึ่งแล้วเกิดรูเป็นช่อง ๆ สารเคมีก็เข้าไปข้างในทำให้เกิดสัญญาณเคมี สัญญาณเคมีจะถูกนำเข้าสู่สมองโดยเส้นประสาทรับเสียง ผลลัพท์ที่ได้คือการได้ยินเสียงต่าง ๆ 

เซลล์ขนใกล้คอเคลีย(หูชั้นใน)จับเสียงสูง เช่น เสียงริงโทนโทรศัพท์มือถือ ส่วนเซลล์ขนที่อยู่ใกล้หูชั้นกลางจับเสียงต่ำ เช่น เสียงเห่าของสุนัขตัวใหญ่ ๆ 

Otosclerosis

โรคหินปูนเกาะกระดูกหูเกิดจากอะไร 

หินปูนเกาะกระดูกหูเกิดจากหนึ่งในกระดูกหูชั้นกลาง (กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน) ไม่สามารถขยับได้ ซึ่งทำให้กระดูกไม่สามารถสั่นได้ และเมื่อกระดูกไม่สมารถสั่นได้เสียงจึงไม่สามารถเดินทางผ่านเข้าไปได้ จึงทำให้เกิดความเสียหายต่อการได้ยิน 

สาเหตุที่เกิดนั้นยังไม่แน่ชัด แต่นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามันเกิดขึ้นจากการติดเชื้อหัด เนื้อเยื่อกระดูกเสียหาย หรือโรคทางภูมิคุ้มกันต่าง ๆ โรคหินปูนเกาะกระดูกหูมีแนวโน้มที่จะถ่ายทอดภายในครอบครัว 

สาเหตุอื่นอาจมาจากการปฏิกิริยาระหว่างเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน 3 ตัว ที่ถูกเรียกว่า ไซโตไคน์ (Cytokines) นักวิจัยเชื่อว่า ความสมดุลของเซลล์ 3 ตัวนี้มีความจำเป็นในการการปรับแต่งกระดูกใหม่  หากเกิดความไม่สมดุลในเซลล์เหล่านี้จะทำให้เกิดความผิดปกติในการปรับแต่งกระดูกซึ่งเกิดขึ้นในโรคหินปูนเกาะกระดูกหู 

อาการของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู 

การสูญเสียการได้ยินเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู ปกติแล้วจะเกิดขึ้นกับหูข้างเดียวก่อน แล้วเกิดขึ้นกับอีกข้างนึงด้วยในภายหลัง การสูญเสียการได้ยินอาจเริ่มแสดงอาการทีละน้อย ๆ โดยผู้ป่วยจะเริ่มจากการไม่ได้ยินเสียงที่มีความถี่ต่ำ หรือ ไม่ได้ยินเสียงกระซิบ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะ มีปัญหาเรื่องการทรงตัว หรือมีเสียงดังในหู เสียงดังในหู เช่น เสียงดังคล้ายกริ่ง เสียงดังอึกทึก เสียงหึ่ง ๆ หรือเสียงคล้ายลม เสียงเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทั้งในหูและในศีรษะ บางครั้งเกิดขึ้นพร้อมกับการสูญเสียการได้ยิน 

การวินิจฉัยโรคหินปูนเกาะกระดูกหู 

โรคหินปูนเกาะหูจะถูกวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการได้ยิน เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหูคอจมูก นักโสตวิทยา หรือนักโสตสัมผัสวิทยา อันดับแรกพวกเขาจะทำการตรวจว่ามีโรคอื่นที่เป็นอยู่ที่ทำให้มีอาการเหมือนกับโรคหินปูนเกาะกระดูกหูหรือไม่ ต่อไปคือการทดสอบการได้ยินเสียงที่ความถี่ต่าง ๆ  (audiogram) และการตรวจการทำงานของหูชั้นกลาง (Tympanogram) บางครั้งผู้ป่วยอาจต้องทำซีทีสแกนเพื่อช่วยให้วินิจฉัยได้ด้วย 

การรักษาโรคหินปูนเกาะกระดูกหู 

ในปัจจุบัน ยังไม่มียาใดที่มีประสิทธิภาพที่จะรักษาโรคหินปูนเกาะกระดูกหูได้ ถึงแม้จะมีการค้นคว้าวิจัยใหม่ ๆ ก็ตาม หากมีอาการน้อย ๆ ผู้ป่วยสามารถใช้เครื่องช่วยฟังเพื่อช่วยรับเสียงได้ แต่ปกติแล้วต้องเข้ารับการผ่าตัด การผ่าตัดนี้ถูกเรียกว่า การผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกโกลน (stapedectomy) ทำได้โดยแพทย์จะใส่อุปกรณ์เทียมเข้าไปที่หูชั้นกลางเพื่อเปิดทางให้เสียงเดินทางไปสู่หูชั้นใน ทำให้การได้ยินกลับมา ซึ่งควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญถึงความเสี่ยงที่เป็นไปได้และข้อจำกัดในการผ่าตัดต่าง ๆ ก่อนการผ่าตัด เช่น อาจยังไม่ได้ยินเสียงอยู่บ้างหลังการผ่าตัด หรือในเคสที่พบไม่บ่อย การผ่าตัดอาจทำให้อาการแย่ลง 

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *