อาการแพนิค (Panic) คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการตื่นตระหนกขีดสุด ทุกคนสามารถที่จะมีอาการแพนิคได้ และอาการแพนิคจะมีจุดเด่นได้แก่ หัวใจที่เต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้น เหงื่อออก ตัวสั่น และอาการอื่นๆ
ทุกคนสามารถเกิดอาการแพนิคได้ เมื่อถูกเหนี่ยวนำด้วยปัจจัยที่ทำให้เกิดการหวาดกลัว อาการนี้เกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย
อาการแพนิคนั้นคืออะไร
Panic disorder คือ โรคที่เกิดจากฮอร์โมนลดหรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เหมือนไฟฟ้าลัดวงจร ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน จึงเกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก หายใจไม่ทัน ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม และเป็นอาการที่เกิดขึ้นฉับพลันโดยที่ไม่มีสาเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ นั่นทำให้บางคนที่มีอาการมักคิดว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และผู้ป่วยโรคแพนิคมักจะรู้ตัวว่าเป็นโรคแพนิกก็ต่อเมื่อมีอาการดังกล่าวไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค แล้วพบว่าหัวใจแข็งแรงเป็นปกติ แพทย์จะสงสัยและอาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิก
สาเหตุของการเกิดแพนิค
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ความวิตกกังวลและความตื่นตระหนกในระดับหนึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการอยู่รอดของเรา อย่างไรก็ตามเมื่อระดับสูงขึ้น จะทำให้คนเราเกิดความกลัวตามธรรมชาติของมนุษย์
เมื่อสมองได้รับสัญญาณประสาทเกี่ยวกับการเตือนถึงอันตรายที่ใกล้เข้ามาเพิ่มขึ้น อะมิกดาลาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองจะเริ่มทำงาน อมิกดาลานั้นทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองต่อความกลัวและวิตกกังวลของมนุษย์
อะมิกดาลาของบางคนตอบสนองทำงานผิดปกติ เนื่องจากตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่เป็นอันตราย นั่นยิ่งทำให้พวกเขามีโอกาสเป็นแพนิคสูงขึ้น
เมื่อมนุษย์ได้รับสัญญาณให้ตอบสนองต่อความวิตกกังวลจะมีการหลั่งสารที่เรียกว่า อะดรีนาลีน
อะดรีนาลีนจะหลั่งออกมาจากต่อมหมวกไต บางคนเรียกอะดรีนาลีนว่าฮอร์โมน “ความกลัว” การหลั่งอะดรีนาลีนสามารถกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ทำให้เหงื่อออก ท้องไส้ปั่นป่วน และกระตุ้นให้หายใจผิดปกติ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คืออาการของแพนิค
หากไม่มีอันตรายที่ใกล้เข้ามา อะดรีนาลีนที่ถูกหลั่งจะไม่ถูกใช้ไป ทำให้ยังมีการสะสมและเกิดเป็นอาการแพนิคได้
มีปัจจัยหลากหลายที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแพนิคได้
พันธุกรรมนั้นมีส่วนในการเกิดแพนิค เนื่องจากหากสมาชิกในครอบครัวคนใดคนหนึ่งของครอบครัวคุณเป็น คุณก็สามารถเป็นแพนิคได้
นอกจากพันธุกรรมแล้วการที่เครียดมากๆ หรือประสบกับเหตุการณ์เสียขวัญครั้งใหญ่นั้นสามารถทำให้คุณเกิดอาการแพนิคได้
ตัวอย่างเช่นการสูญเสียคนที่คุณรักเมื่อไม่นานมานี้ การหย่าร้าง การถูกทำร้ายร่างกาย หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ทั้งนี้รวมไปถึงนิสัยส่วนตัว เช่น การสูบบุหรี่ หรือดื่มคาเฟอีนในปริมาณมาก ก็เป็นส่วนกระตุ้นการเกิดแพนิคเช่นกัน
อาการแพนิคสามารถเกิดขึ้นร่วมกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรควิตกกังวลทั่วไป (GAD) โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) และโรคเครียดหลังจากประสบเหตุการณ์บางอย่าง (PTSD) โรคกลัวที่แคบ อาจจะก่อให้เกิดโรคแพนิคได้
อย่างไรก็ตามถึงไม่มีความเสี่ยงในการเกิดแพนิค แต่เราก็ยังสามารถเกิดอาการแพนิคได้อยู่ดี
อาการของแพนิค
อาการแพนิคหรือตื่นกลัวสุดขีด มักเกิดจากถูกกระตุ้นโดยตรงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างสุ่มและฉับพลัน อย่างไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด คาดว่าอาจจะมาจากการพัฒนาการตอบสนองของร่างกายต่ออันตราย
อาการแพนิคนับว่าเป็นเรื่องราวที่เลวร้ายกับประสบการณ์ในชีวิตคนคนหนึ่ง
American Psychological Association (APA) ระบุว่า อาการแพนิคจะเกิดขึ้นแค่15 วินาที แต่สามารถเกิดได้นานถึง 30 นาทีหรือนานกว่านั้น และบางครั้งอาจนานเป็นเวลาหลายชั่วโมง
ผู้ที่มีการแพนิคจะมีอาการอย่างน้อย 4 อาการดังต่อไปนี้:
- เจ็บหน้าอก และรู้สึกไม่สบายตัว
- รู้สึกหนาวสั่น หรือร้อนผิดปกติ
- รู้สึกแตกต่างจากคนอื่น
- เวียนศีรษะและรู้สึกมึนงง
- กลัวความตายอย่างฉับพลัน
- กลัวการสูญเสียการควบคุม
- ใจสั่นหรือเต้นเร็วผิดปกติ
- คลื่นไส้และปวดท้อง
- อาการชา
- ตัวสั่น
- เหงื่อออกมาก
- หายใจลำบาก หรือรู้สึกหายใจไม่ออก
อาการแพนิคหรือตื่นตระหนกเกี่ยวข้องกับความหวาดกลัวได้แก่ ความกลัวของสถานที่ที่บุคคลนั้นคิดว่าเป็นอันตรายหรือยากที่จะหลบหนี คนที่เคยเผชิญกับอาการแพนิค เขามักจะพูดว่า มีความรู้สึกเหมือนติดกับดัก
บางครั้งอาการที่เกี่ยวข้องกับแพนิคสะท้อนถึงสภาวะด้านสุขภาพอื่นๆ ได้แก่ ความผิดปกติของปอด หัวใจ หรือต่อมไทรอยด์
อาการแพนิคบางครั้งต้องได้รับความช่วยเหลือฉุกเฉินจากทางแพทย์ เพราะคล้ายกับอาการหัวใจวาย แต่ความวิตกกังวลเป็นสาเหตุที่แท้จริง อาการแพนิคสามารถรักษาได้ และไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีอาการแพนิคจะเป็นผู้ป่วยอาการทางจิต หรือโรคซึมเศร้า
การรักษาอาการแพนิค
วิธีรักษาโรคแพนิคที่แพทย์นิยมทำในการรักษา คือ การใช้ยาและการทำจิตบำบัด ที่เราเรียกว่า “การบำบัดด้วยการพูดคุย” โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อระบุสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากอาการแพนิค โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาชนะความกลัว
ยาสามารถช่วยรักษาในเรื่องความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมองซึ่งอาจนำไปสู่ความวิตกกังวลหรือตื่นตระหนกอย่างรุนแรง
ยารักษาโรคแพนิคเหล่านี้ประกอบไปด้วย:
- เบนโซไดอะซีไพน์ Benzodiazepines เป็นยากล่อมประสาท รวมถึง ไดอะซีแพม diazepam หรือ โคลนาซีแพม Clonazepam
- เซโรโทนิน (Selective serotonin reuptake inhibitors SSRIs) กลุ่มยากล่อมประสาท SSRIsได้แก่ ฟลูอ็อกซีทีน (Fluoxetine) พาโรออกซีทีน(Paroxetine) และเซอร์ทรารีน(Sertraline)
- เซโรโทนิน Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) ซึ่งเป็นยาแก้โรคซึมเศร้าประเภทหนึ่ง
ยาแต่ละชนิดนั้นไม่ได้ให้ผลดีในการรักษากับทุกคน ดังนั้นแพทย์จำเป็นต้องเลือกยาที่เหมาะสม และทั้งนี้ยานั้นอาจจะมีผลข้างเคียงในการรักษา และแพทย์อาจสั่งจ่ายยาที่เรียกว่า Beta blockers เสริมในเรื่องป้องกันไม่ให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วเกินไป เมื่อเกิดอาการแพนิค
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://medlineplus.gov/panicdisorder.html
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/symptoms-causes/syc-20376021
- https://www.nimh.nih.gov/health/publications/panic-disorder-when-fear-overwhelms/index.shtml
- https://www.healthline.com/health/panic-disorder
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก