ภาวะอัมพาตหมายถึงอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวได้ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบชั่วคราวเเละถาวร
โรคอัมพาตคือ
โรคอัมพาต Paralysis คือภาวะที่กล้ามเนื้อของร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติซึ่งสามารถเกิดขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือหลายส่วน ซึ่งอาการนี้เป็นผลมาจากการความเสียหายที่เกิดขึ้นในระบบประสาท
ระบบประสาทเเบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
- ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ได้แก่สมองและกระดูกสันหลัง
- ระบบประสาทส่วนปลาย (PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทที่อยู่ภายนอกของระบบประสาทส่วนกลาง
เซลล์ประสาทหรือ neuron ในระบบประสาทส่วนปลายทำหน้าที่หลายอย่าง
เซลล์ประสาทสั่งการ (Motor neurons) ตัวอย่างเช่นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโดยประสาทสัมผัสจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับแรงกดดัน อาการเจ็บปวดและอุณหภูมิไปยังระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)
ภาวะอัมพาตเกิดขึ้นเมื่อการส่งสัญญาณของระบบประสาทถูกรบกวนส่งผลทำให้เกิดความเสียหายกับเส้นประสาท กระดูกไขสันหลังหรือสมอง
ประเภทของโรคอัมพาต
แพทย์ได้แบ่งประเภทของภาวะอัมพาตขึ้นอยู่กับลักษณะอาการที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้
โรคอัมพาตรุนเเรง
หมายถึงภาวะที่กล้ามเนื้อสูญเสียการทำงานอย่างรุนเเรงมากจึงทำให้เกิดโรคอัมพาตรุนเเรง
โรคอัมพฤกษ์หรือเรียกว่าภาวะอัมพาตบางส่วนเกิดจากกล้ามเนื้อส่วนที่สำคัญอ่อนเเรงและไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือขยับได้ อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นโรคอัมพฤกษ์ยังคงสามารถขยับอวัยวะส่วนที่เป็นอัมพฤกษ์ได้เล็กน้อยหรือ
โรคอัมพาตอย่างสมบูรณ์เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถขยับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายได้
ระยะเวลาของการเกิดภาวะอัมพาต
ระยะเวลาของการเกิดโรคอัมพาตขึ้นอยู่กับการเกิดภาวะอัมพาตครั้งสุดท้าย
โรคประจำตัวบางอย่างเช่นภาวะผีอำหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ชั่วขณะตอนที่นอนหลับ ภาวะเส้นเลือดในสมองแตก โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกแบบ (Bell’s palsy) สามารถทำให้เกิดอาการอัมพาตชั่วคราวได้ เมื่อเวลาผ่านไปหากอาการอัมพาตไม่สามารถหายไป กล้ามเนื้อส่วนที่เป็นอัมพาตอาจเกิดการติดเชื้อได้
สาเหตุอื่นๆที่สามารถทำให้เกิดภาวะอัมพาตชั่วคราวได้แก่ภาวะโพเทสเซียมในเลือดสูงหรืออาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนเข้าออกของโพแทสเซียม ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อจากการกลายพันธุ์ของยีน CACNA1S หรือ SCN4A
ยีนเหล่านี้จะรับคำสั่งจากโปรตีนที่อยู่ในการเคลื่อนตัวของโซเดียมและประจุแคลเซียมและภายนอกกล้ามเนื้อ การเคลื่อนที่ของไอออนภายในเซลล์กล้ามเนื้อช่วยทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งเเละทำให้อวัยวะเกิดการเคลื่อนไหว
การที่ประจุไอออนถูกรบกวนจึงส่งผลกระทบทำให้กล้ามเนื้ออ่อนเเรงและเป็นอัมพาตได้
นอกจากนี้การบาดเจ็บอย่างรุนเเรงที่ศีรษะและคอสามารถทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับประสาทเเละกล้ามเนื้อได้จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอัมพาตแบบถาวร
ตำแหน่งที่เกิดโรคอัมพาต
ตำแหน่งที่เกิดอัมพาตสามารถเกิดขึ้นได้กับส่วนเล็กๆของร่างกายได้แก่ใบหน้า มือหรือเท้า
โดยปกติโรคอัมพาตทั่วไปเกิดขึ้นส่วนใหญ่บนร่างกายได้แก่อวัยวะหลายส่วนของร่างกาย
ประเภทของโรคอัมพาตได้แก่
- โมโนพลีเจีย (Monoplegia) เป็นภาวะอัมพาตที่เกิดขึ้นกับแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง
- เฮมิพลีเจีย (Hemiplegia) เกิดขึ้นที่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งบนซีกข้างเดียวกันของร่างกาย หรือที่เรียกว่าโรคอัมพาตครึ่งซีก
- พาราพลีเจีย (Paraplegia) หรือเรียกว่าอัมพาตช่วงล่างลำตัวซึ่งเป็นภาวะอัมพาตที่เกิดขึ้นกับขาทั้งสองข้างและบางครั้งสามารถเกิดขึ้นที่สะโพหและอวัยวะภายในช่องท้องด้านล่าง
- ควอดริพลีเจีย (Quadriplegia) เกิดขึ้นที่แขนและขาทั้งสองข้างและบางครั้งสามารถเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวรวมถึงอวัยวะภายในหรือทั้งสองที่
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคอัมพาตชนิดพาราพลีเจีย (Paraplegia)
ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
อัมพาตแบบกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก (Flaccid Paralysis) เกิดขึ้นจากการที่ระบบประสาทสั่งการที่ทำหน้าควบคุมกล้ามเนื้อกระดูกถูกทำลายเมื่อเวลาผ่านไปจึงทำให้กล้ามเนื้อหดเล็กลงหรือเสื่อมโทรม
โรคอัมพาตแบบกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก (Flaccid Paralysis) มักเป็นภาวะเเทรกซ้อนของโรคโปลิโอ ข้อมูลจากองค์กรควบคุมและป้องกันโรค (CDC)
นอกจากนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆเช่นการติดเชื้อในกระดูกสันหลังที่เรียกว่าไขสันหลังอักเสบและโรค Guillain-Barré คือภาวะที่พบได้น้อย โดยเกิดจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าไปทำลายระบบประสาทส่วนกลาง (PNS)
โรคอัมพาตแบบกล้ามเนื้อเกร็ง (Spastic Paralysis) เป็นสาเหตุทำให้เกิดกล้ามเนื้อหดเกร็ง เกิดการชักกระตุกของกล้ามเนื้อเองและทำให้กล้ามเนื้ออ่อนเเรงซึ่งการเกิดขึ้นของโรคอัมพาตประเภทนี้สามารถทำให้กระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บ เกิดโรคระบบประสาทที่ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อเอแอลเอส โรคเส้นเลือดในสมองหรือเกิดโรคอัมพาตครึ่งล่างแบบเกร็งที่เกิดจากกรรมพันธุ์
อาการโรคอัมพาต
อาการของโรคอัมพาตเกิดขึ้นได้หลายแบบซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทและสาเหตุของโรคอัมพาต โดยส่วนอาการของโรคอัมพาตคือสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
อาการอื่นๆที่เกิดขึ้นร่วมกับโรคอัมพาตได้แก่
- เกิดความไม่รู้สึกหรืออาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ
- กล้ามเนื้ออ่อนเเรง
- เกิดสัญญาณเตือนของภาวะกล้ามเนื้อลีบ
- เกิดอาการเมื่อยล้า
- เกิดอาการกล้ามเนื้อชักกระตุกเอง
สาเหตุของโรคอัมพาต
- โรคเส้นเลือดในสมองเเตก
- โรคกระดูกไขสันหลังอักเสบ
- โรคอัมพาตสมอง
- โรคปลอกประสาทเสื่อมเเข็ง
ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนเเรงและโรคอัมพาตเกิดจากระบบประสาทถูกทำลายจึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามที่กล่าวมา
ระบบประสาทที่เเข็งเเรงทำหน้าส่งข้อมูลไปกลับระหว่างสมองเเละอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย สัญญาณที่ส่งจากสมองจะถูกส่งลงมาที่กระดูกไขสันหลังและเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง (PNS) เพื่อกระจายสัญญาณไปทั่วร่างกาย
ระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานของร่างกายหลายอย่างได้แก่
- ระบบประสาทอัตโนมัติเช่นการหายใจและการย่อยอาหาร
- การทำงานของกล้ามเนื้อเช่นการเดินและการเคี้ยว
- ระบประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึกเช่นความเจ็บปวด อุณหภูมิและการตรวจวัดความดัน
อาการบาดเจ็บสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของระบบประสาทในร่างกายซึ่งสามารถทำให้เกิดผลกระทบกับร่างกายอย่างร้ายเเรงและทำลายสุขภาพของผู้ป่วยรวมไปถึงคุณภาพในการใช้ชีวิตของผู้ป่วย
สาเหตุที่สามารถทำให้ระบบประสาทเกิดความเสียหายและทำให้กล้ามเนื้ออ่อนเเรงหรือเกิดโรคอัมพาตได้แก่
- เนื้องอกในสมองหรือกระดูกไขสันหลัง
- การติดเชื้อเช่นเยื่อหุ้มสมอง ไขสมองอักเสบหรือโรคโปลิโอ
- ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังหรือการพัฒนาของสมองที่ผิดปกติของสมองหรือกระดูกไขสันหลัง
- โรคเกี่ยวกับระบบประสาทอัตโนมัติเช่นโรคกล้ามเนื้ออ่อนเเรงเอแอลเอส (ALS)
- โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองได้แก่โรค Guillain-Barré และ โรคผิวหนังลูปัส
- โรคความผิดปกติทางพันธุกรรมเช่นโรคกล้ามเนื้อร่วมกับระบบประสาทในเด็กและ อัมพาตเป็นระยะจากโพแทสเซียมในเลือดต่ำเกินหรือสูงเกินไป
การรักษาโรคอัมพาต
ปัจจับันยังไม่มีการรักษาโรคอัมพาต อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับสาเหตุเเละประเภทของโรคอัมพาตที่เกิดขึ้นซึ่งผู้ที่เป็นโรคอัมพาตชั่วคราวอาการของโรคที่เกิดขึ้นสามารถหายไปได้เอง
โรคอัมพาตชั่วคราวทำให้เกิดปัญหาตามาเช่นโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s Palsy) หรือกล้ามเนื้อใบหน้าชักกระตุกที่อาการของโรคสามารถหายไปเองได้โดยที่ไม่ต้องเข้ารับการรักษา
นอกจากนี้ยังมีโรคอัมพาตที่เป็นผลมาจากอาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังหรือโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทเรื้อรัง ที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยงบางส่วน
แม้ว่าการรักษาโดยเน้นการฟื้นฟูสภาพร่างกายไม่สามารถทำให้โรคอัมพาตหายไปได้แต่สามารถป้องกันไม่ให้อาการอัมพาตเลวร้ายลง
การรักษาโรคอัมพาตได้แก่
- การทำกายภาพบำบัด
- การทำกิจกรรมบำบัด
- การใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวเช่น รถเข็น เครื่องช่วยพยุงและอุปกรณ์ช่วยเดิน
- การใช้ยารักษา
- การผ่าตัดแขนหรือขา
- การตัดต่อย้ายเส้นประสาทจากส่วนอื่นเพื่อมาต่อกับส่วนปลายที่ขาดไป
การส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์และการสนับสนุนทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาผู้ป่วยมากที่สุด
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://medlineplus.gov/paralysis.html
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15345-paralysis
- https://www.healthline.com/health/paralysis
- https://www.nhs.uk/conditions/paralysis/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก