- โรคหลอดเลือดหัวใจเกินตั้งแต่กำเนิดคืออะไร
- สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจเกินเกิดจากอะไร
- อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจเกินเป็นอย่างไร
- วิธีวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจเกินทำได้อย่างไรบ้าง
- ทางเลือกในการรักษาภาวะผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจทำได้อย่างไรบ้าง
- โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจมีอะไรบ้าง
- นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
โรคหลอดเลือดหัวใจเกินตั้งแต่กำเนิดคืออะไร
โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (PDA) คือโรคทั่วไปที่เกี่ยวกับความบกพร่องของหัวใจที่มีมากตั้งแต่กำเนิด โรคนี้ปรากฎขึ้นในเด็กแรกเกิด โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดที่มีชื่อเรียกว่า ductus arteriosus ไม่ปิดทันทีหลังจากเด็กคลอด
ระดับของอาการมีตั้งแต่อาการไม่หนักมากไปจนถึงอาการรุนแรงมาก มีส่วนน้อยมากที่ไม่สามารถตรวจพบความบกพร่องได้และทำให้เกิดความบกพร่องของโรคนี้ติดตัวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยปกติการตรวจพบโรคมักประสบความสำเร็จและสามารถรักษาฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาเป็นปกติ
เลือดที่มีออกซิเจนถูกลำเลียงด้วยหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ชื่อว่า aorta ซึ่งเป็นหลอดเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย ในการทำงานปกติของหัวใจเส้นเลือด pulmonary artery ทำหน้าที่รับเลือดดำและส่งต่อไปฟอกเพื่อให้ได้ออกซิเจนจากปอด ในครรภ์มารดามีหลอดเลือดที่ชื่อว่า ductus arteriosus เชื่อมต่อกับหลอดเลือดเเดงใหญ่ (aorta) และเส้นเลือด pulmonary artery
ทำให้เลือดไหลออกจากเส้นเลือดดำ pulmonary artery ไหลไปสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายโดยไม่ผ่านการฟอกออกซิเจนที่ปอดก่อน ที่เป็นเเบบนี้เพราะเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์ได้รับเลือดที่มีออกซิเจนจากเเม่ยังไม่ได้รับออกซิเจนจากปอดของตัวเอง
ทันทีที่เด็กคลอดออกจากครรภ์มารดาหลอดเลือด ductus arteriosus ควรปิดทันทีเพื่อป้องกันการผสมผสานกันระหว่างเลือดดำในหลอดเลือด pulmonary artery ที่ไม่มีออกซิเจนกับเลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนในหลอดเลือดเเดงใหญ่ (aorta) เมื่อความผิดปกตินี้เกิดขึ้นทารกจะมีภาวะผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่กำเนิดและถ้าหากแพทย์ไม่ตรวจพบความบกพร่องนี้ เด็กทารกอาจจะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (PDA) ได้แม้ว่าโรคนี้เป็นโรคที่หาได้ยากก็ตาม
สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจเกินเกิดจากอะไร
โรคหลอดเลือดหัวใจเกินเป็นโรคที่เกิดจากความบกพร่องของหลอดเลือดในหัวใจที่ปกติพบได้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคนี้ การคลอดก่อนกำหนดสามารถทำให้เด็กทารกเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้และโรคหลอดเลือดหัวใจ (PDA) เกินนี้มักเกิดขึ้นในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจเกินเป็นอย่างไร
การเปิดหลอดเลือด ductus arteriosus ทำให้เกิดรูรั่วที่มีความกว้างตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่หมายความว่าระดับของอาการที่สามารถเป็นไปได้มีตั้งแต่อาการปานกลางไปจนถึงอาการรุนเเรง ถ้าหากการเปิดของหลอดเลือดมีขนาดเล็กมากอาจไม่มีอาการใดๆเกิดขึ้น แพทย์จะทำวินิจฉัยโรคอื่นๆโดยการตรวจความผิดปกติของเสียงเต้นของหัวใจที่เกิดจากความผิดปกติเท่านั้น
โดยทั่วไปส่วนใหญ่เด็กทารกที่มีภาวะความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่กำเนิดจะมีอาการดังต่อไปนี้
- มีเหงื่อออกมาก
- หายใจเร็วเเละเหนื่อยหอบ
- มีอาการอ่อนล้า
- น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น
- เบื่ออาหาร
ในบางกรณีที่หายได้ยากที่แพทย์ไม่สามารถตรวจพบภาวะผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ (PDA) ทำให้อาการนี้ติดตัวเด็กไปจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ทำให้เกิดอาการผิดปกติได้แก่อัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอและการหายใจแบบสั้นๆ รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนได้แก่ความดันเลือดในปอดสูงเเละภาวะหัวใจโตรวมไปถึงโรคเลือดคั่งในหัวใจซึ่งทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
วิธีวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจเกินทำได้อย่างไรบ้าง
แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยภาวะหลอดเลือดผิดปกติจากการฟังเสียงหัวใจของเด็กทารก ในกรณีส่วนใหญ่โรคหลอดเลือดหัวใจเกินทำให้เกิดเสียงหัวใจเต้นผิดปกติเช่นมีเสียงเต้นของหัวใจมากกว่าปกติหรือมีเสียงผิดปกติเกิดขึ้นในจังหวะการเต้นของหัวใจซึ่งเป็นเสียงที่แพทย์สามารถได้ยินผ่านเครื่องฟังเสียงหัวใจ การเอ็กซเรย์หน้าอกของเด็กทารกสามารถตรวจความผิดปกติของหัวใจเเละปอดของเด็กทารกได้ด้วยเช่นกัน
เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจจะไม่มีลักษณะปกติเหมือนเด็กที่คลอดครบกำหนดทั่วไป ดังนั้นเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจำเป็นต้องได้รับการตรวจภาวะผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจเพื่อยืนยันว่าไม่มีภาวะความผิดปกติของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (PDA) ก่อน
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นการตรวจคลื่นหัวใจที่แสดงออกให้เห็นเป็นภาพคลื่นหัวใจของเด็กทารก การตรวจหัวใจด้วยคลื่นนี้ไม่มีทำให้ทารกเกิดอาการเจ็บปวดและทำให้หมอสามารถเห็นขนาดของหัวใจได้นอกจากนี้ยังทำให้แพทย์เห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในกระเเสเลือด การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นวิธีที่ทั่วไปที่นำมาใช้ตรวจภาวะผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ
การตรวจหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้า
การตรวจหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้าเป็นการบันทึกการทำงานของหัวใจด้วยการตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ในเด็กทารกสามารถใช้วิธีการตรวจนี้เพื่อระบุภาวะหัวใจโตได้
ทางเลือกในการรักษาภาวะผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจทำได้อย่างไรบ้าง
ในกรณีที่หลอดเลือด ductus arteriosus เปิดทำให้มีรูรั่วขนาดเล็กมากอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพราะหลอดเลือดจะค่อยปิดไปเองเมื่อเด็กทารกเติบโตขึ้น ซึ่งในกรณีนี้แพทย์จะต้องตรวจสอบภาวะผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจเมื่อเด็กทารกโตขึ้น ถ้าหากพบว่าหลอดเลือดนี้ยังไม่สามารถปิดได้เองอาจจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยยาหรือการการผ่าตัดเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
การรักษาด้วยยา
ในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีการใช้ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) เพื่อช่วยทำให้หลอดเลือดที่เปิดเนื่องจากภาวะผิดปกติของหลอดเลือด (PDA) ปิดตัวลง
เมื่อใช้ยานี้ด้วยวิธีฉีดเข้าเส้นเลือดยานี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัวและทำให้หลอดเลือด ductus arteriosus ปิดลง การรักษาด้วยวิธีนี้ใช้ได้ผลกับเด็กทารกเเรกเกิดเท่านั้น ในเด็กทารกที่มีอายุมากและเด็กจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยวิธีอื่น
การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยวิธีสวนหัวใจ
ในผู้ป่วยเด็กทารกหรือเด็กที่มีภาวะผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่กำเนิด (PDA) แพทย์จะแนะนำวิธีรักษาโดยใช้ “เทคนิคสายสวนหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด” ข้อมูลจากสถาบันโรคหัวใจปอดเเละเลือดแห่งชาติ
วิธีการรักษานี้ใช้ในการตรวจผู้นอกและไม่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดเปิดหน้าอกของเด็ก
หลอดสวนหัวใจมีขนาดเล็กเเละยืดหยุ่นซึ่งสามารถนำทางเข้าไปในหลอดเลือดได้ตั้งแต่เริ่มต้นสวนหลอดเข้าไปในหัวใจ โดยเริ่มต้นสวนหลอดตั้งแต่ที่หลอดเลือดดำที่ขาไปจนถึงหัวใจของเด็ก
การนำอุปกรณ์เข้าไปอุดรูรั่วของเส้นเลือดหัวใจผ่านการใช้หลอดเลือดสวนหัวใจ ด้วยการใช้อุปกรณ์ปิดที่บริเวณรูรั่วด้วยอุปกรณ์ที่ถูกปล่อยไปวางยังตำแหน่งรูรั่วเพื่อปิดรูรั่วทำให้กระแสเลือดในหลอดเลือดหมุนเวียนได้ตามปกติ
การรักษาด้วยการผ่าตัด
ถ้าหากหลอดเลือดเปิดกว้างหรือไม่สามารถปิดด้วยตัวเองจำเป็นรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อทำให้หลอดเลือดกลับไปเป็นปกติ ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ส่วนใหญ่ใช้กับเด็กที่มีอายุหกปีขึ้นไปเท่านั้น
อย่างไรก็ตามเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่าสามารถได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดได้ด้วยเช่นกันถ้าหากมีอาการผิดปกติของหัวใจเกิดขึ้น สำหรับวิธีการผ่าตัดแพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อของแบคทรีเรียหลังจากออกจากโรงพยาบาล
โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจมีอะไรบ้าง
ในการตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจการรักษาจะเกิดขึ้นทันทีหลังจากที่เด็กคลอดออกมาเป็นไปได้น้อยมากที่โรคหลอดเลือดหัวใจผิดปกติจะติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่
หากเป็นเช่นนั้นแล้วอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายเเรงตามมาหลอดเลือดที่เปิดกว้างขึ้นทำให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนร้ายเเรงมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (PDA) ตั้งแต่เด็กทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- หายใจสั้นหรือเกิดอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ
- เกิดภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงหรือความดันในหลอดเลือดปอดสูงซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อปอด
- โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบหรือการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจเนื่องจากการติดเชื้อจากแบคทรีเรียซึ่งผู้ที่มีลักษณะโครงสร้างของหัวใจผิดปกติมักมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ
ในกรณีที่รุนเเรงของผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ (PDA) ทำให้เกิดเลือดเข้าไปในหัวใจมากเกินไปจนทำให้หัวใจมีขนาดโตขึ้นในที่สุดและทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนเเรงรวมไปถึงส่งผลกระทบต่อความสามารถในการปั๊มเลือดของหัวใจ ด้วยสาเหตุเหล่านี้จึงนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวเเละทำให้เสียชีวิตได้
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/patent-ductus-arteriosus/symptoms-causes/syc-20376145
- https://www.heart.org/en/health-topics/congenital-heart-defects/about-congenital-heart-defects/patent-ductus-arteriosus-pda
- https://kidshealth.org/en/parents/patent-ductus-arteriosus.html
- http://www.childrenshospital.org/conditions-and-treatments/conditions/p/patent-ductus-arteriosus
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก