ปวดท้องน้อย (Pelvic Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ปวดท้องน้อย (Pelvic Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

20.09
2550
0

อาการปวดท้อง (Pelvic Pain) หมายถึง อาการเจ็บปวดในบริเวณอุ้งเชิงกราน หรือปวดบริเวณท้องน้อย และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายในของผู้หญิง แต่อาการปวดท้องน้อยก็สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ชายเช่นกัน และอาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาการปวดท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกรานอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อหรืออาจเกิดจากความเจ็บปวดในกระดูกเชิงกราน หรือในอวัยวะภายในอื่นๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตามอาการปวดหน่วงท้องน้อยในผู้หญิงนั้นบอกได้ว่ามีปัญหากับอวัยวะสืบพันธุ์บริเวณอุ้งเชิงกราน (มดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ ปากมดลูก หรือช่องคลอด)

สาเหตุของการปวดท้องน้อย

สาเหตุของการปวดเสียดท้องน้อยในเพศหญิงและชาย อาจเกิดจากสิ่งเหล่านี้ :

  • โรคไส้ติ่งอับเสบ
  • โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • การติดเชื้อในไตหรือนิ่วในไต
  • ลำไส้ผิดปกติ
  • ความผิดปกติของระบบประสาท
  • ไส้เลื่อน
  • ความผิดปกติของกระดูกเชิงกราน
  • ต่อมลูกหมากอักเสบ
  • ความผิดปกติของอัณฑะ
  • กระดูกเชิงกรานหัก
  • อาการปวดทางจิต

สาเหตุที่เป็นไปได้ของผู้หญิงปวดท้องน้อย อาจจะเกิดจาก:

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • การคลอดก่อนกำหนด
  • โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ
  • การตกไข่
  • ปวดประจำเดือน
  • ซีสต์รังไข่หรือความผิดปกติของรังไข่อื่น ๆ
  • ความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดแล้ว
  • มะเร็งปากมดลูก

อาการร่วมของการปวดท้องน้อย

  • เลือดออกทางช่องคลอด
  • เจ็บขณะปัสสาวะ
  • อาการท้องผูกหรือท้องร่วง
  • ท้องอืด
  • เลือดออกในลำไส้
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • มีไข้หรือหนาวสั่น
  • ปวดบริเวณสะโพก
  • ปวดบริเวณขาหนีบ

การวินิจฉัยอาการปวดท้องน้อย

หากต้องการหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดท้องน้อย เมื่อคุณเข้าพบแพทย์ แพทย์จะซักถามเกี่ยวกับอาการ และปัญหาสุขภาพที่ผ่านมา ตรวจร่างกาย และการทดสอบบางประการที่จะสามารถบอกที่มาของอาการได้ :

  • การตรวจเลือด และปัสสาวะ
  • การทดสอบการตั้งครรภ์ในเพศหญิง
  • การเพาะเชื้อจากเชื้อในช่องคลอด หรืออวัยวะเพศชาย เพื่อตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • เอกซเรย์ช่องท้องและอุ้งเชิงกราน
  • MRI
  • คัดกรองความแข็งแรงกระดูก (เอกซเรย์ชนิดพิเศษ เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของกระดูก)
  • การส่องกล้องตรวจวินิจฉัย (ดูโครงสร้างในกระดูกเชิงกราน และช่องท้องโดยตรง)
  • Hysteroscopy (การตรวจมดลูก)
  • การทดสอบอุจจาระ (ตรวจตัวอย่างอุจจาระ เพื่อหาเลือดภายใต้กล้องจุลทรรศน์)
  • การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง (การสอดท่อที่มีแสง เพื่อตรวจดูด้านในของทวารหนักหรือลำไส้ใหญ่)
  • อัลตราซาวนด์ (ฉายภาพของอวัยวะภายใน)
  • CT scan ช่องท้องและกระดูกเชิงกราน (ใช้รังสีเอ็กซ์ และสร้างภาพตัดขวาง)

วิธีการรักษาอาการปวดท้องน้อย

การรักษาอาการปวดท้องน้อยนั้นมีอยู่หลากหลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับสาเหตุ และความเจ็บปวดนั้นรุนแรงเพียงใด และบ่อยเพียงใด บางครั้งอาการปวดท้องน้อยจะได้รับการรักษาด้วยยา (อาจใช้ยาปฏิชีวนะในบางครั้งที่จำเป็น) หากอาการปวดเป็นผลมาจากอวัยวะในอุ้งเชิงกราน แพทย์ทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด หรือการรักษาอื่นๆ ที่แพทย์เห็นสมควร

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *