หากรกปิดปากมดลูกเพียงบางส่วนหรือปิดทั้งหมด แพทย์จะเรียกอาการนี้ รกเกาะต่ำ
ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta Previa)คือการที่รกไปปิดทางจากในมดลูกไปสู่ปากมดลูก ซึ่งก็คือปากมดลูกด้านใน การที่รกไปอยู่ตรงตำแหน่งนั้นทำให้ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และทางเลือกในการคลอด
รก (placenta) คือวัยวะที่ถูกสร้างขึ้นในมดลูกระหว่างการตั้งครรภ์ มันให้ออกซิเจนและสารอาหารแก่ทารกในครรภ์
ภาวะรกเกาะต่ำส่งผลกระทบต่อการเกิด 3-5 ครั้งต่อการเกิด 1,000 ครั้ง ในบทความนี้ ผู้อ่านจะได้ทราบถึง ชนิด อาการ และความเสี่ยงของภาวะนี้ และแพทย์จะรักษาอย่างไร
ประเภทของภาวะรกเกาะต่ำ
แพทย์แบ่งภาวะรกเกาะต่ำจากตำแหน่งของรก ซึ่งมีทั้งหมด 4 ชนิดใหญ่ ๆ:
-
low-lying
-
marginal
-
partial
-
complete
การจำแนกตำแหน่งของรกนั้นสำคัญมาก เนื่องจากจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะตามมาได้
Low-lying
ส่วนมากแล้ว 90 เปอร์เซนต์ของภาวะรกเกาะต่ำชนิด low-lying รกจะเคลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเมื่อครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 3
รกเกาะด้านล่าง (low-lying) นี้ รกจะอยู่ห่างจากปากมดลูกประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร
Marginal
รกเกาะต่ำชนิด marginal นี้รกจะอยู่ตรงขอบของปากมดลูกแต่จะไม่ขวางปากมดลูก รกจะอยู่เลยไปในปากมดลูกประมาณ 2 เซนติเมตร
Partial
รกเกาะต่ำชนิดนี้จะปกคลุมปากมดลูกด้านในเพียงบางส่วน วึ่งปกติแล้วรกจะเคลื่อนที่ขึ้นไประหว่างการทำคลอด หรือหากไม่เคลื่อน ก็ยังสามารถที่จะคลอดแบบธรรมชาติได้
Complete
รกเกาะต่ำชนิด Complete เป็นชนิดที่รกปิดปากมดลูกด้านในทั้งหมด ซึ่งทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง คุณแม่ต้องผ่าคลอด
อาการรกเกาะต่ำ
อาการรกเกาะต่ำหลัก ๆ คือมีเลือดออกจากช่องคลอดในการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3 ปกติแล้วไม่มีอาการปวด
แต่บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นปัญหาอื่น เพราะเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้ การปรึกษาแพทย์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
ปัจจัยเสี่ยง
หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะรกเกาะต่ำ ได้แก่:
- อายุมากกว่า 35 ปี
- ในครรภ์มีทารกมากกว่า 1 คน
- เคยมีลูกมาแล้ว
- เคยผ่าตัดมดลูก เช่น เคยผ่าตัดคลอด หรือ ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก
- มีการเจริญของรกผิดปกติ
- สูบยาสูบ
- ใช้โคเคน
ภาวะรกเกาะต่ำนั้นเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กในครรภ์ ผู้เชี่ยวชาญพบว่า การคลอดหลังจากเกิดภาวะรกเกาะต่ำเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายหรือเสียชีวิตของทั้งแม่และเด็ก
อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งของรกมันจะเปลี่ยนไปเอง และทำให้คลอดได้อย่างไม่มีปัญหา
หากภาวะรกเกาะต่ำไม่ได้ถูกแก้ไข มันจะสามารถเพิ่มความเสี่ยงของ:
-
อาการแทรกซ้อนต่อการเจริญเติบโตของทารก
-
เลือดออก – ระหว่างตั้งครรภ์ ขณะคลอด หรือประจำเดิอนที่มาทันที
-
คลอดก่อนกำหนด
-
รกงอกติด คือ การที่รกเกาะกับผนังมดลูกลึกกว่าปกติ
-
อวัยวะรอบ ๆ เสียหาย
-
จำเป็นต้องตัดมดลูกออก เกิดใน 0.2 เปอร์เซนต์ของภาวะมดลูกเกาะต่ำ
-
เสียชีวิต
การรักษาและการป้องกัน
รกอาจจะเปลี่ยนที่ ใน 32-35 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เมื่อมดลูกส่วนล่างบางและขยายออก
หากภาวะรกเกาะต่ำไม่หายไปด้วยตัวเอง อาจต้องผ่าตัดคลอด
ปกติแล้วการผ่าคลอดจะทำเมื่อการตังครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 36-37 แต่หากมีอาการแทรกซ้อนก่อนหน้านั้น อาจต้องผ่าตัดคลอดออกก่อน
หญิงที่ตั้งครรภ์สามารถลดการออกของเลือดได้โดยการนอนพักผ่อน และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น โดยการไม่ออกกำลังกายหนักและหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางเพศ
การตรวจช่องคลอดอาจทำให้อาการของภาวะรกเกาะต่ำแย่ลง เพราะฉะนั้นทีมแพทย์จะต้องใช้ความระมัดระวัง และไม่มีทางใดที่จะป้องกันภาวะรกเกาะต่ำได้
นี่คือที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/placenta-previa/symptoms-causes/syc-20352768
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/placenta-previa/diagnosis-treatment/drc-20352773
-
https://www.nhs.uk/pregnancy/labour-and-birth/what-happens/placenta-complications
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก