มะเร็งทวารหนัก (Rectal Cancer) อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งทวารหนัก (Rectal Cancer) อาการ สาเหตุ การรักษา

13.06
6494
0

มะเร็งทวารหนัก (Rectal Cancer) เกิดขึ้นที่บริเวณทวารหนัก ซึ่งเป็นส่วนปลายสุดของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีความแตกต่างและพบได้น้อยกว่ามะเร็งลำไส้ ซึ่งเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นที่ลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรง

มะเร็งทวารหนักพบได้ยาก แต่ก็พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นทุกปี

มีปัจจัยมากมายที่เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งทวารหนัก แต่สาเหตุที่มาจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (HPV) ทั้งสองชนิดมักปรากฏให้เห็นว่าเป็นต้นเหตุของถึง 91% ของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งทวารหนัก

มะเร็งทวารหนักพบได้น้อยในช่วงอายุก่อน 35ปี อายุเฉลี่ยที่วินิจฉัยเจอโรคมักพบในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป 

ในช่วงแรก มะเร็งทวารหนักอาจมีความคล้ายคลึงกับโรคริดสีดวงทวาร หากสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่บริเวณทวารหนักควรปรึกษาแพทย์ บ่อยครั้งที่ในช่วงแรกอาจดูไม่ใช่โรคมะเร็ง แต่หากพบว่าใช่การได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกอาจทำให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่า

สาเหตุของโรคมะเร็งทวารหนัก

มะเร็งทวารหนักเกิดขึ้นเมื่อเซลล์มีการเจริญเติบโตอย่างไม่สามารถควบคุมได้และก่อตัวเป็นเนื้องอก มีมะเร็งอยู่สองแบบที่สามารถเกิดในทวารหนักได้ ขึ้นอยู่กับว่าเริ่มจากตำแหน่งไหน

มะเร็งชนิด Squamous cell cancer: รูทวารหนักที่อยู่ติดกับลำไส้ตรงเป็นที่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เซลล์  Squamous cells จะอยู่ในช่อง ซึ่งเซลล์รูปร่างแบนนี้จะเหมือนเกล็ดปลาหากมองผ่านกล้องขยาย โรคมะเร็งทวารหนักส่วนใหญ่มักมาจากเซลล์มะเร็ง 

มะเร็งชนิดต่อม : จุดตำแหน่งที่ช่องทวารหนักมาบรรจบกับลำไส้ตรงเรียกว่าเขตเซลล์แปรรูป ซึ่งมีทั้ง Squamous cells และ Glandular cells เซลล์ Glandular cells จะผลิตมูกเมือก ซึ่งจะช่วยทำให้อุจจาระผ่านช่องทวารหนักได้อย่างราบรื่น มะเร็งชนิดต่อมสามารถก่อเกิดโรคจาก Glandular cells ในทวารหนัก พบได้ 3-9 %ของมะเร็งทวารหนักมักมีรูปแบบนี้

ปัจจัยความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งทวารหนักคือ:

เชื้อHPV : มีหลักฐานอ้างอิงว่าเชื้อ HPVบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งหลายแบบ จากการค้นคว้าพบว่าเชื้อ HPV16มีผลต่อโรคมะเร็งที่หลากหลาย รวมถึงโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งคอและศีรษะบางอย่าง

โรคมะเร็งอื่นๆ: คนที่มีเชื้อ HPV ตัวอื่นที่ทำให้เกิดมะเร็งดูเหมือนจะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งทวารหนัก สำหรับผู้หญิงอาจรวมไปถึงโรคมะเร็งช่องคลอดหรือมะเร็งปากมดลูก หรืออาจเกิดเซลล์ precancerous cells ที่อยู่บริเวณปากมดลูก สำหรับผู้ชายก็ทำให้มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมะเร็งองคชาตได้ด้วยเช่นกัน

เชื้อ HIV: คนที่มีเชื้อ HIV มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคมะเร็งทวารหนักมากกว่าคนที่ไม่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้

ภูมิต้านทานลดน้อยลง: คนที่ถูกกดภูมิต้านทานไว้จะมีความเสี่ยงสูงกว่า เมื่อระบบภูมิต้านทานอ่อนแอเช่นคนที่เป็นโรค AIDS และคนที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่าย

กิจกรรมทางเพศ: การมีคู่นอนหลายคนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค และยิ่งเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ

เพศ: มะเร็งทวารหนักมักเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่อย่างไรก็ตามสำหรับชาวแอฟริกันอเมริกัน พบว่าเพศชายที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปกลับมีแนวโน้มจะเกิดโรคนี้ได้มากกว่าเพศหญิง

อายุ: เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ก็มีโอกาสจะเกิดโรคมะเร็งทวารหนักเพิ่มมากขึ้นไปด้วย

การสูบบุหรี่: คนที่สูบบุหรี่มักมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด รวมถึงมะเร็งทวารหนัก การเลิกบุหรี่ทำให้ความเสี่ยงต่ำลงได้

อาการของโรคมะเร็งทวารหนัก

อาการทั่วไปของมะเร็งทวารหนักคือ:

  • มีเลือดออดจากช่องทวารหนัก
  • คันรอบ ๆ ช่องทวารหนัก
  • รู้สึกเจ็บหรือแน่นรอบๆบริเวณทวารหนัก
  • มีก้อนที่คล้ายคลึงกับริดสีดวงทวาร
  • ระบบการขับถ่ายเปลี่ยนไป
  • อุจจาระมีขนาดเล็กและเรียวบางลง
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบหรือรอบ ๆ ทวารหนักบวม

บางอาการข้างต้นอาจเป็นผลมาจากโรคริดสีดวงทวาร, หูดหงอนไก่, กรทอทวารหนักฉีกขาด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการดังกล่าวก้ควรไปพบแพทย์หากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เพื่อตัดโรคมะเร็งออก

Rectal Cancer

การรักษามะเร็งทวารหนัก

การรักษาสำหรับโรคมะเร็งทวารหนักจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ปัจจัยที่ส่งผลต่อทางเลือกในการรักษาคือ:

  • ขนาดของเนื้องอก
  • ระดับของมะเร็ง ยิ่งมะเร็งมีระดับสูงยิ่งอาจเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น
  • การกระจายตัวของเชื้อมะเร็ง
  • อายุและสุขภาพโดยรวม

การผ่าตัด  เคมีบำบัด และการฉายแสงคือทางเลือกในการรักษาหลักของโรคมะเร็งทวารหนัก

การผ่าตัด

รูปแบบการผ่าตัดขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก

การผ่าตัดแบบ Resection: คือการผ่าตัดนำเอาเนื้องอกขนาดเล็กและเนื้อเยื่อรอบๆออก ซึ่งการผ่าตัดนี้สามารถทำได้เมื่อมะเร็งยังไม่ส่งผลกระทบต่อหูรูดทวารหนักหรือกล้ามเนื้อเท่านั้น หลังจากการผ่าตัดรูปแบบนี้ผู้ป่วยยังสามารถขับถ่ายได้

การผ่าตัด Abdominoperineal resection: เป็นการผ่าตัดนำเอาทวารหนัก  ลำไส้ตรงและบางส่วนของลำไส้ออก ผู้ป่วยจะไม่สามารถขับถ่ายได้ ดังนั้นแพทย์จะทำโคลอสโตมีไว้ การทำโคลอสโตมีคือการผ่าตัดนำเอาปลายลำไส้ออกมาภายนอกร่างกายไว้ที่หน้าท้องเป็นถุงเพื่อเป็นทางระบายออกของอุจจาระด้านนอกร่างกาย

ผู้ป่วยที่มีการทำโคลอสโตอาจรู้สึกมีความวิตกบ้างในช่วงแรกๆ แต่การทำเช่นนี้จะทำให้ผู้ป่วยสามารถไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ  เล่นกีฬา และมีกิจกรรมทางเพศได้ แต่อย่างไรก็ตามแพทย์เองก็จะพยายามหลีกเลี่ยงการผ่าตัดที่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางร่างกายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้อยู่แล้ว

เคมีบำบัดและการฉายแสง

แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำเคมีบำบัด,การฉายแสง หรืออาจทำทั้งคู่ในการรักษา บางคนอาจทำควบคู่กันไปทั้งสองอย่าง บางคนอาจทำทีละอย่าง หากการรักษานี้ได้ผลดีผู้ป่วยอาจไม่มีความจำเป็นต้องรับการผ่าตัดแบบโคลอสโตมี

การทำเคมีบำบัดคือการใช้ยาเข้าไปฆ่าเซลล์มะเร็งหรือเข้าไปป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งมีการแบ่งตัวเพิ่ม แพทย์อาจให้เป็นชนิดรับประทานหรือด้วยการฉีด

การรักษาด้วยการฉายแสงคือการนำรังสีพลังงานสูงมาทำลายเซลล์มะเร็ง ด้วยการฉายรังสีจากระยะไกลด้วยเครื่องที่ผลิตลำรังสีที่พุ่งตรงไปยังเป้าหมายเซลล์เนื้อร้ายที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง ส่วนการใช้รังสีรักษาระยะใกล้ คือการใส่ต้นกำเนิดของรังสีภายในก้อนมะเร็งในร่างกายโดยตรงหรือใกล้ๆก้อนมะเร็งเพื่อการฉายแสงที่ตรงจุด 

การบำบัดทั้งแบบรังสีและเคมีบำบัดสามารถส่งผลกระทบได้ทั้งสิ้น การบำบัดด้วยรังสีอาจทำให้เกิดอาการเจ็บและเกิดแผลพุพองที่รอบๆทวารหนักได้ แพทย์อาจต้องสั่งจ่ายยาเพื่อลดความรุนแรงจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น

ผลข้างเคียงระยะสั้นที่อาจเกิดขึ้นจากทั้งการทำเคมีบำบัดและการรักษาด้วยรังสีสำหรับโรคมะเร็งทวารหนักอาจรวมไปถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผิวหนังและปัญหาระบบทางเดินอาหาร

ผลข้างเคียงในระยะยาวคือ:

  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • มีความเสี่ยงสูงในการเกิดลิ่มเลือดที่ขา
  • ทวารหนักมีความแคบลง
  • กระเพาะปัสสาวะมีปัญหา
  • เยื่อบุลำไส้ตรงมีการอักเสบ

แพทย์จะเลือกการรักษาให้ได้ผลดีที่สุดในแต่ละบุคคลที่

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

นักวิทยาศาสตร์กำลังจับตาดูการรักษารูปแบบใหม่ที่เรียกกันว่าการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

ยาเฉพาะบางอย่างสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับโรคมะเร็งบางชนิดได้

นักวิจัยได้แต่หวังว่าการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดอาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็งทวารหนักได้ดี

ความคาดหวัง

การเฝ้าติดตามผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งทวารหนักนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่ได้รับการวินิจฉัย ผู้เชี่ยวชาญใช้สถิติในการคำนวณคาดการณ์ว่าผู้ป่วยสามารถมีชีวิตต่อไปได้เฉลี่ย 5 ปีหรือมากกว่านั้นได้หลังจากการวินิจฉัยเจอโรค

จากข้อมูลของ ACS พบว่าโอกาสที่จะทำให้มีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 5 ปีด้วยโรคมะเร็งทวารหนักเป็นเพราะ:

  • 82% สำหรับมะเร็งเฉพาะที่ ซึ่งไม่มีการแพร่กระจายไปยังที่อื่น
  • 64% สำหรับมะเร็งกระจายรอบๆ คือมีการกระจายเฉพาะรอบๆเนื้อเยื่อที่เป็นโรคเท่านั้น
  • 30% สำหรับมะเร็งกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออวัยวะหรือบริเวณอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น กระจายไปที่ตับ

ปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อความคาดหวังคือคือสุขภาพโดยรวมและอายุ แต่อย่างไรก็ตาม ทุกๆคนที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเจอได้ตั้งแต่ในระยะต้นก็จะมีโอกาสมากขึ้นในการรักษาที่ได้ผลมากขึ้นว่าคนที่มาเจอโรคในระยะหลัง เพราะด้วยเหตุผลนี้เองจึงถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องปรึกษาแพทย์โดยเร็วหากเกิดการเปลี่ยนแปลงในบริเวณหรือรอบๆบริเวณทวารหนัก

และมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถตรวจพบมะเร็งทวารหนักได้ง่ายตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นที่บริเวณช่องทวารหนักส่วนล่าง

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคมะเร็งทวารหนัก แพทย์จะทำการวินิฉัยโดย:

  • ซักถามอาการจากผู้ป่วย
  • สอบถามประวิติโรคประจำตัว
  • การตรวจร่างกาย

หากแพทย์เชื่อว่าอาจมีภาวะโรคมะเร็งทวารหนักเกิดขึ้น แพทย์อาจจะส่งตัวผู้ป่วยไปยังศัลยกรรมลำไส้ใหญ่ แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านลำไส้

การตรวจทางทวารหนัก

แพทย์อาจจะใช้กล้อง Proctoscope, Anoscope, หรือ Sigmoidoscope เข้าไปในทวารหนักเพื่อตรวจด้านในเพื่อดูอย่างละเอียดมากขึ้น และอาจช่วยประเมินโรคได้หากมีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ

แพทย์จะนำเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อจำนวนเล็กน้อยออกมาจากบริเวณทวารหนักและส่งเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์

หากผลการตรวจพบเนื้อเยื่อมะเร็ง อาจต้องทำการตรวจต่อไปเพื่อหาว่ามะเร็งมีขนาดใหญ่แค่ไหนและมีการแพร่กระจายแค่ไหน

การทำซีทีสแกน การทำเอ็มอาร์ไอหรือการสแกนอัลตราซาว์นสามารถช่วนยืนยันผลได้ ซึ่งอาจรวมไปถึงการอัลตราซาว์นทวารหนัก โดยแพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปทางทวารหนักทำให้สามารถเห็นเนื้อเยื่อได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

การป้องกัน

เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งทวารหนัก สามารถทำได้โดย:

  • ฉีดวัคซีน HPV ก่อนมีกิจกรรมทางเพศ
  • ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงหรือเลิกบุหรี่

ควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำสำหรับทุกการเปลี่ยนแปลงที่มีผลมาจากทวารหนัก แม้จะไม่ได้เป็นโรคมะเร็งก็ตาม

อาจขอให้แพทย์ตรวจเพิ่มเติมหากคิดว่ามีความเสี่ยงสูง เช่นการติดเชื้อ HPV

ประเด็นสำคัญ

มะเร็งทวารหนักคือโรคมะเร็งที่เกี่ยวเนื่องกับเชื้อ HPV ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก การฉีดวัคซีนและพบแพทย์เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในบริเวณทวารหนักก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งทวารหนักและการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ คนที่มีความเสี่ยงควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *