โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

21.10
3029
0

คนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือการที่ผู้ป่วยมีกระดูกสันหลังคดหรืองอเป็นรูปตัว S หรือตัว C โดยแพทย์จะวินิจฉัยลักษณะของกระดูกสันหลังที่โค้งคดเรียกว่ามุมคอบบ์ (Cobb angle) โดยเมื่อวัดความโค้งของกระดูกพบมุมมากกว่า 10 องศา

โรคกระดูกสันหลังคดสามารถเกิดขึ้นกันคนทุกช่วงวัยโดยส่วนใหญ่เเล้วมักพบในเด็กที่มีอายุระหว่าง 10 – 12 ปีหรือช่วงวัยรุ่น ในขณะที่อาการกระดูกสันหลังคดพบได้น้อยในเด็กทารกแต่โรคกระดูกสันหลังคดในเด็กทารกสามารถเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 3 ขวบ  

โดยส่วนใหญ่เเล้วยังไม่สามารถสาเหตุของการเกิดอาการกระดูกสันหลังคดได้ ดังนั้นแพทย์จึงเรียกอาการนี้ว่าโรคกระดูกคดแบบไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic scoliosis) และการกระดูกสันหลังคดประเภทอื่นๆอาจเกี่ยวข้องกับภาวะสมองพิการ โรคกล้ามเนื้อลีบดูเชน หรือ ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง ซึ่งอาการเหล่านี้คืออาการผิดปกติตั้งแต่เกิด

แพทย์ได้ทำการแบ่งประเภทลักษณะความคดของกระดูกสันหลังออกเป็นกระดูกสันหลังคดแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง (structural) หรือยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง (nonstructural) โดยภาวะกระดูกสันหลังคดที่มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเป็นอาการที่เกิดขึ้นแบบถาวรและเป็นอาการที่มีสาเหตุเกิดจากการใช้ยาหรือการบาดเจ็บอื่นๆ ส่วนภาวะกระดูกสันหลังคดที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวและแพทย์จะพยายามค้นหาสาเหตุของการเกิดอาการนี้เเละทำการรักษา  

Scoliosis

การรักษาโรคกระดูกสันหลังคด

ในกรณีส่วนใหญ่ภาวะกระดูกสันหลังคดในเด็กและวัยรุ่นที่มีอาการไม่รุนเเรง อาการที่เกิดขึ้นนี้ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยเป็นภาวะกระดูกสันหลังคดที่มีมุมขนาด 10 ถึง 25 องศา โดยปกติแพทย์จะวางแผนตรวจร่างกายเป็น 3 6 และ 12 เดือนเพื่อตรวจสอบภายในกระดูกว่ามีโครงสร้างเปลี่ยนแปลงหรือไม่

สำหรับกระดูกสันหลังที่มีมุมคดงอตั้งแต่ 25 – 40 องศาขึ้นไป แพทย์จะเเนะนำให้ผู้ป่วยสวมใส่เสื้อเกราะและถ้าหากมีขนาดมุมคดมากกว่านี้และโครงกระดูกไม่มีการเจริญเติบโต แพทย์อาจเเนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด 

แพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการกระดูกสันหลังคดตามปัจจัยต่างๆและเลือกวิธีการรักษาต่อไป ปัจจัยของการเกิดกระดูกสันหลังคดมีดังต่อไปนี้

  • ปัจจัยเกี่ยวกับเพศ โดยส่วนใหญ่เพศหญิงมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกสันหลังคดได้มากกว่าผู้ชายและอาการนี้จะค่อยๆมีความรุนเเรงเพิ่มมากขึ้น
  • ความรุนเเรงของมุมคดโค้งของกระดูกหมายถึงรูปแบบของมุมโค้งของกระดูกที่ทำให้อาการกระดูกคดรุนเเรงขึ้น โดยกระดูกสันหลังคดรูปตัว S จัดอยู่ในประเภทโรคกระดูกสันหลังคดที่ไม่ทราบสาเหตุและกระดูกสันหลังคดรูปตัว C เป็นอาการทั่วไปของโรคกระดูกสันหลังคดที่เกิดจากโรคประสาทกล้ามเนื้อ
  • ตำแหน่งของมุมโค้ง การเกิดมุมโค้งส่วนใหญ่เกิดที่ตรงกลางของกระดูกสันหลังและมีเเนวโน้มรุนเเรงขึ้นเมื่อมุมโค้งเกิดที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง
  • การเจริญเติบโตของกระดูกสันหลัง ภาวะกระดูกสันหลังคดจะมีอาการรุนเเรงมากขึ้นถ้าหากกระดูกหยุดการเจริญเติบโต การสวมใส่เสื้อเกราะเป็นวิธีการรักษาโรคกระดูกสันหลังคดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่ทำให้กระดูกสันหลังสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้

การใส่เฝือก

โรคกระดูกสันหลังคดในเด็กทารก แพทย์จะใช้เฝือกปูรพลาสเตอร์ใส่ให้แทนเสื้อเกราะเพื่อช่วยทำให้กระดูกสันหลังของเด็กทารกเจริญเติบโตในลักษณะที่เป็นปกติ โดยเฝือกจะติดอยู่ด้านนอกร่างกายของเด็กทารกและเด็กทารกจะต้องสวมใส่เฝือกนี้ตลอดเวลา โดยปกติทั่วไปเด็กทารกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วดังนั้นแพทย์จำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดของเฝือกให้กับเด็กทารกเป็นประจำ

การใส่เสื้อเกราะ

ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการกระดูกสันหลังคดปานกลางและกระดูกยังคงมีการเจริญเติบโต แพทย์จะเเนะนำให้ใส่เสื้อเกราะ โดยเสื้อเกราะจะช่วยป้องกันการคดงอในอนาคตแต่ไม่สามารถดัดกระดูกให้กลับไปเป็นปกติได้

โดยปกติผู้ป่วยจำเป็นต้องสวมใส่เสื้อเกราะตลอดเวลาแม้แต่ในตอนกลางคืน เนื่องจากประสิทธิของการสวมใส่เสื้อเกราะนี้เพิ่มขึ้นในแต่ละชั่วโมงต่อวันในขณะที่ผู้ป่วยกำลังสวมใส่เสื้อเกราะอยู่ 

การใส่เสื้อเกราะเป็นการจำกัดการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยแต่ถ้าหากพวกเขาต้องเขารับการทำกายภาพบำบัดพวกเขาสามารถถอดเสื้อเกราะออกได้

เมื่อกระดูกหยุดเจริญเติบโต ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องสวมใส่เสื้อเกราะอีกต่อไป

เสื้อเกราะมี 2 ประเภทได้แก่

กายอุปกรณ์เสริมสำหรับกระดูกสันหลังส่วนอก-ส่วนหลัง-ส่วนกระเบนเหน็บ  (TLSO)

กายอุปกรณ์ประเภท TLSO เป็นวัสดุพลาสติกและถูกออกแบบมาให้เข้ากับส่วนโค้งของร่างกายอย่างพอดี โดยปกติแล้วเสื้อเกราะชนิดนี้ต้องใส่ทับนอกเสื้อผ้า

กายอุปกรณ์เสริมประคองหลังระดับทรวงอก เอว และกระเบนเหน็บ (Milwaukee brace)

เสื้อเกราะประเภทนี้เป็นเสื้อเกราะแบบเต็มลำตัวที่มีวงแหวนเหมือนสร้อยสวมที่คอเเละมีโครงเหล็กพยุงตั้งเเต่ศีรษะและคางไปจนถึงหลัง เเพทย์จะใช้อุปกรณ์เสริมประเภท Milwaukee brace เมื่อเสื้อเกราะแบบ TLSO ใช้ไม่ได้ผล

การบำบัดโรคโดยวิธีการจับกระดูกสันหลัง

ผู้ป่วยโรคกระดูกหลังคดบางรายอาจเคยไปพบหมอที่เชี่ยวชาญด้านการจับกระดูกสันหลังเพื่อรักษาและบรรเทาอาการเจ็บปวดที่กระดูกสันหลัง

หมอจับกระดูกจะทำการรักษาด้วยการจัดกระดูกให้เข้าที่และแนะนำการรักษาทางเลือก โดยพวกเขาจะจัดกระดูกสันหลังใหม่เพื่อทำให้ผู้ป่วยหายเจ็บปวด 

การบำบัดโรคโดยวิธีการจับกระดูกสันหลังอาจทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคกระดูกคดดีขึ้น อย่างไรก็ตามการจัดกระดูกไม่ใช่วิธีการรักษาโรคกระดูกสันหลังคดที่สามารถรักษาอาการคดโค้งของกระดูกสันหลังได้ นักวิจัยยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการจัดกระดูกสันหลังเป็นการรักษาที่มีประโยชน์ต่อโรคกระดูกสันหลังคด

ดังนั้นผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการจัดกระดูกควรไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกระดูกเฉพาะทางเท่านั้นเพราะถ้าหากให้ผู้ไม่มีความเชี่ยวชาญรักษาอาการของโรคกระดูกสันหลังอักเสบอาจเลวร้ายลงกว่าเดิม

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายหลายประเภทสามารถช่วยบำบัดโรคกระดูกสันหลังคดได้และผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำวิธีการออกกำลังกายไว้หลายประเภท อย่างไรก็ตามวิธีการออกกำลังกายทั้งหมดมีจุดประสงค์เพื่อช่วยปรับแนวกระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกไหล่และกระดูกเชิงกรานให้อยู่ในตำแหน่งปกติ

จากงานวิจัยในปี 2016 ผู้เขียนได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐานที่สนับสนุนเกี่ยวกับการออกกำลังกายว่าสามารถช่วยรักษาโรคกระดูกสันหลังคดได้ อย่างไรก็ตามนักวิจัยยังคงต้องศึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกายว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคกระดูกคดได้มากน้อยแค่ไหน

ในกรณีที่เกิดอาการของโรครุนเเรง โรคกระดูกสันหลังคดอาจมีอาการรุนเเรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ในกรณีนี้แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดการเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal fusion) โดยการผ่าตัดวิธีนี้จะช่วยลดความคดโค้งของกระดูกสันหลังและป้องกันไม่ให้เกิดอาการกระดูกสันหลังคดโค้งอย่างรุนเเรง

สำหรับการผ่าตัดวิธีนี้ศัลยแพทย์จะใช้แท่งโลหะ ตะขอ สกรูหรือลวดสอดเข้าไปในกระดูกสันหลังเพื่อทำให้กระดูกสันหลังตรงและรักษาอาการเจ็บปวดที่กระดูกไขสันหลัง นอกจากนี้เเพทย์ยังสามารถปลูกถ่ายกระดูกเพื่อช่วยรักษากระดูกสันหลังได้อีกด้วย

โดยปกติเด็กที่ป่วยเป็นโรคกระดูกสันหลังคดสามารถกลับไปเรียนได้ตามปกติภายใน 4-6 สัปดาห์และสามารถเล่นกีฬาได้หลังจากเข้ารับการรักษาเป็นเวลา 3-6 เดือน แต่ทั้งนี้พวกเขาควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ทำให้เจ็บปวดที่หลังเช่นกีฬาขี่ม้าและกีฬาที่ต้องเกิดการปะทะเป็นเวลา 1 ปี ในบางกรณีพวกเขาอาจจำเป็นต้องสวมใส่เสื้อเกราะเป็นเวลา 6 เดือนเพื่อพยุงกระดูกไขสันหลัง

 แพทย์จะเเนะนำการรักษาด้วยวิธีการเชื่อมข้อกระดูกสันหลังให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงดังต่อไปนี้ 

  • ขดลวดอยู่ผิดตำแหน่ง : ขดที่เสียบเข้าไปในกระดูกไขสันหลังอาจจะเกิดการเคลื่อนหรืออยู่ผิดตำแหน่งดังนั้นจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดในอนาคต
  • ภาวะข้อต่อกลวง เป็นอาการที่เกิดขึ้นในกระดูกไขสันหลังที่ไม่มีการเชื่อมต่อ ทำให้เกิดอากาเจ็บปวดและทำให้การสอดลวดเข้าไปเสียหายได้เพราะลวดที่เสียบเข้าไปจะเกิดการสัมผัสกับอาการตึงเครียด
  • การติดเชื้อ ยาปฏิชีวนะสามารถช่วยรักษาอาการเจ็บปวดหลังกายผ่าตัดได้
  • ระบบประสาทเสียหายเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทที่กระดูกไขสันหลังทำให้เกิดอาการเจ็บปวดแบบชาที่ขาตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงรุนเเรงอย่างเช่นสูญเสียการทำงานของอวัยวะส่วนล่างของร่างกาย

ในกรณีนี้ศัลยแพทย์ทางประสาทอาจจำเป็นเข้าร่วมการผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังคดด้วย

อาการโรคกระดูกสันหลังคด

โดยปกติโรคกระดูกสันหลังคดมักเกิดขึ้นกับทารกหรือวัยรุ่น โดยอาการของโรคนี้มีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับช่วงอายุของผู้ป่วย

อาการในวัยรุ่น

โดยปกติทั่วไปโรคกระดูกสันหลังคดที่เกิดขึ้นในวัยรุ่นเรียกว่าโรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่นโรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุระหว่าง 10-18 ปี

โดยอาการที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้

  • ศีรษะอาจจะเอียงออกมาจากลำตัวเล็กน้อย
  • กระดูกซี่โครงแต่ละข้างมีความสูงไม่เท่ากัน
  • สะโพกข้างใดข้างหนึ่งไม่เท่ากัน
  • ใส่เสื้อผ้าเเล้วรู้สึกว่าชายเสื้อไม่เท่ากัน
  • หัวไหล่ทั้งสองข้างไม่ขนานกัน
  • ร่างกายเอียงไปที่ข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป
  • ขาทั้งสองข้างมีความยาวที่ไม่เท่ากัน

อาการของโรคกระดูกสันหลังคดทำให้เกิดอาการเจ็บหลังได้และเป็นอาการปวดหลังที่ผิดปกติโดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหลังมาก โดยอาการนี้มักเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุแก่กว่า

อาการที่เกิดในทารก

อาการในเด็กทารกมีดังต่อไปนี้

  • มีอาการนูนที่หน้าอกข้างใดข้างหนึ่ง
  • ร่างกายงอไปที่ข้างใดข้างหนึ่งในขณะนอน
  • ในกรณีที่ร้ายเเรงทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและปอดเนื่องจากโรคกระดูกสันหลังคดทำให้เกิดอาการหายใจสั้นและเจ็บที่หน้าอก

ถ้าหากเด็กทารกไม่ได้รับการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด โรคนี้จะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพเพิ่มมากขึ้นเช่นทำให้การทำงานของหัวใจหรือปอดทำงานผิดปกติ

สาเหตุของกระดูกสันหลังคด

ด้านล่างนี้คือสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดโรคกระดูกสันหลังคดได้ 

  • อาการเกี่ยวกับเส้นประสาทเเละกล้ามเนื้อ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับระบบประสาทเเละกล้ามเนื้อได้แก่ ภาวะสมองพิการ โรคโปลิโอและกล้ามเนื้อลีบ
  • อาการกระดูกสันหลังคดโดยกำเนิดหมายถึงอาการที่เป็นมาตั้งแต่เกิด ซึ่งโรคกระดูกสันหลังคดประเภทนี้เกิดขึ้นได้น้อยมากแต่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อกระดูกสันหลังเติบโตอย่างผิดปกติในช่วงที่ตัวอ่อนในครรภ์กำลังเจริญเติบโต
  • สารพันธุกรรมชนิดพิเศษ นักวิจัยเชื่อว่ามียีนส์อย่างน้อยหนึ่งชนิดที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคกระดูกสันหลังคด
  • ความยาวของขา ถ้าหากขาข้างใดข้างหนึ่งมีความยาวมากกว่าขาอีกข้างหนึ่งอาจทำให้เกิดโรคกระดูกสันหลังคดได้
  • โรคกระดูกสันหลังคด โรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการของโรคเท้าเเสนปมหรือมาร์แฟนซินโดรม
  • โรคกระดูกพรุนเป็นอาการขั้นที่สองของโรคกระดูกสันหลังคดที่เกิดจากเซลล์กระดูกถูกทำลาย
  • สาเหตุอื่นๆได้แก่ ท่านั่งที่ผิดปกติ การยกของหนัก ความผิดปกติเกี่ยวกับเนื้อเยื่อและอาการบาดเจ็บที่ทำให้กระดูกสันหลังคดโค้ง

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *