ภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder)

ภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder)

07.10
1417
0

โรคซึมเศร้าจากฤดูกาลคือ อะไร 

หลายคนมีช่วงเวลาที่รู้สึกเศร้า หรือรู้สึกว่าไม่เป็นตัวของตัวเอง บางครั้ง อารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อเริ่มฤดูกาลบางฤดู  และจบลงเมื่อฤดูกาลนั้นจบลง ผู้คนอาจเริ่มรู้สึกแย่เมื่อกลางวันสั้นกว่ากลางคืนในฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว เมื่อฤดูใบไม้ผลิมาถึงแล้วกลางวันยาวนานขึ้นก็จะรู้สึกดีขึ้น 

ในบางกรณี อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอาจจะรุนแรง และส่งผลต่อความรู้สึก การคิด และการรับมือกับกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หากคุณรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงในอารมณ์ และพฤติกรรมเมื่อฤดูกาลเปลี่ยน คุณอาจเป็นโรคซึมเศร้าจากฤดูกาล (SAD)

ส่วนมาก อาการของ SAD จะเริ่มในปลายฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงเริ่มต้นของฤดูหนาว และหายไปในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อน ซึ่งเป็นภาวะซึมเศร้าที่พบได้ไม่บ่อย 

สัญญาณและอาการของ SAD

SAD เป็นโรคซึมเศร้าชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล อาการจะเกิดขึ้นประมาณ 4-5 เดือนต่อปี 

อาการส่วนใหญ่อาจมีดังนี้:

  • รู้สึกซึมเศร้าเกือบทุกวัน 
  • ไม่มีความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบทำ 
  • ความเปลี่ยนแปลงของการอยากอาหาร และน้ำหนัก 
  • มีปัญหาการนอนหลับ 
  • รู้สึกขี้เกียจ หรือกระวนกระวายใจ 
  • รู้สึกไม่มีแรง 
  • รู้สึกไม่มีความหวัง หรือไม่มีค่า 
  • จดจ่อไม่ได้ 
  • มีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย และการตายบ่อยครั้ง 

Seasonal Affective Disorder

อาการของ SAD ช่วงฤดูหนาว  อาจมีดังนี้:

  • นอนหลับมากเกินไป 
  • กินมากเกินไป อยากกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมาก 
  • น้ำหนักขึ้น 
  • ปลีกตัวจากสังคม 

อาการของ SAD ช่วงฤดูร้อนอาจมีดังนี้:

สาเหตุของ SAD

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด SAD การศึกษาชี้ให้เห็นว่าอาจมีการลดลงของสารเคมีเซโรโทนินในสมองของผู้ที่เป็นโรคนี้ แสงแดดยังเป็นตัวควบคุมโมเลกุลที่ช่วยให้เซโรโทนินอยู่ในระดับปกติ ในผู้ที่เป็นโรค SAD การควบคุมนี้ทำงานไม่ปกติ ทำให้ระดับของเซโรโทนินลดลงในหน้าหนาว 

การขาดวิตามินดีอาจทำให้เกิดปัญหาเพราะวิตามินดีช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนินในร่างกาย เราได้รับวิตามินดีจากอาหาร และร่างกายของเราจะสร้างวิตามินดีเมื่อได้รับแสงแดด การที่มีแสงน้อยในฤดูหนาวทำให้วิตามินดีลดลง ซึ่งอาจทำให้การสร้างเซโรโทนินลดลงด้วย 

ความคิด ความรู้สึกลบ ๆ และความเครียดมักเกิดขึ้นในผู้ที่เป็น SAD ยังไม่ชัดว่าสิ่งเหล่านี้เป็น “สาเหตุ” หรือ “ผล” ของความผิดปกติทางอารมณ์ แต่ก็สามารถใช้เป็นตัวช่วยในการรักษาได้

การรักษา SAD 

มีการรักษา SAD ที่สามารถช่วยผู้ที่เป็นโรคนี้ได้ มี 4 วิธี ดังนี้:

  • แสงบำบัด (Light Therapy)
  • การรักษาจิตบำบัด (Psychotherapy)
  • การใช้ยาต้านซึมเศร้า 
  • การรับประทานวิตามินดี 

ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ 

การป้องกัน SAD 

เนื่องจากช่วงเวลาของการเกิดโรคซึมเศร้าจากฤดูหนาวนั้นไม่สามารถคาดการณ์ได้ ผู้ที่มีประวัติเกี่ยวกับการเป็นโรคนี้ควรเริ่มรักษาก่อนที่จะถึงฤดูใบไม่ร่วงเพื่อป้องกัน และลดความซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่าการบำบัดด้วยแสง และการรักษาจิตบำบัดในช่วงเวลานั้นไม่ได้ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า มีเพียงยาต้านซึมเศร้าเท่านั้นที่ได้ผลในการป้องกัน แต่ก็มีผลข้างเคียงสูงเช่นกัน ดังนั้น หากผู้ที่เคยเป็นโรคนี้ต้องการที่จะรักษาเพื่อป้องกัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน 


นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *