กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

04.12
11207
0

กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis) คือ การเจริญเติบโตลักษณะหนึ่งที่ผิวหนังซึ่งไม่เป็นอันตรายและไม่ใช่มะเร็ง ส่วนมากจะเป็นสีซีดดำ หรือน้ำตาลที่ใบหน้า หลัง ไหล่ หรือหน้าอก

กระเนื้อ Seborrheic keratoses เรียกอีกอย่างว่า Basal cell papilloma หรือ Seborrheic warts

กระเนื้อมักจะเป็นตั้งแต่วัยกลางคนเป็นต้นไป บุคคลบางคนอาจมีเพียงหนึ่งจุด แต่โดยปกติกระเนื้อจะมีเป็นจำนวนมาก และกระเนื้อไม่ใช่โรคติดต่อ

กระเนื้อพบในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป 30% สำหรับคนที่อายุ 70 ปีขึ้นไป พบกระเนื้อมากกว่า 75%

Seborrheic Keratosis

อาการของกระเนื้อ

กระเนื้ออาจมีลักษณะเหมือนหูด ไฝหรือ มะเร็งผิวหนัง ลักษณะเป็นส่วนใหญ่แล้วเป็นสีน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นสีอ่อนหรือเข้ม บางครั้งมีอ่อนและขาวบริเวณผิวหนัง  โดยหลากหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กมาก จนไปถึง 1 นิ้ว

กระไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด แต่บางครั้งอาจจะทำให้คันได้บ้าง กระมักเกิดขึ้นตามบริเวณใบหน้า ลำตัว แผ่นหลัง คอ หรือหน้าอกโดยมีลักษณะเป็นวงกลม หรือวงรี หากแกะหรือเกาอาจทำให้เกิดเลือดออกได้

สาเหตุของกระเนื้อ

ปัจจุบันแพทย์ผิวหนังยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดกระเนื้อ  

สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นกระเนื้อ มีดังนี้:

  • โดนแสงแดด: ความเสี่ยงของการเป็นกระเนื้อจะเพิ่มมากขึ้นหากบุคคลได้สัมผัสกับแสงยูวีเป็นเวลานาน
  • พันธุกรรม: หากคนในครอบครัวของคุณเป็นกระเนื้อนั่นหมายความว่าคุณมีความเสี่ยงมากกว่าบุคคลอื่น ๆ ที่จะเป็นกระเนื้อเช่นกัน
  • อายุที่เพิ่มขึ้น: อายุที่เพิ่มมากขึ้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้ผิวเป็นกระได้ โดยเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไปจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น

การเจริญเติบโตของกระ มีความคล้ายคลึงกับมะเร็งผิวหนัง แต่กระเนื้อไม่สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งผิวหนังได้

การรักษากระเนื้อ

โดยทั่วไปแล้วกระเนื้อไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเนื่องจากกระเนื้อไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ต่อผิวหนัง แต่หากคนไข้มีความกังวลในเนื่องของความงาม หรือกระเนื้อที่เป็นส่งผลให้เกิดการระคายเคือง แพทย์อาจทำการรักษาให้โดยพิจารณาจากกรณีดังนี้ :  

  • กระเนื้อที่เป็นทำให้ไม่สามารถแยกแยะจากโรคมะเร็งผิวหนังได้ 
  • มีติ่งเนื้อออกมาไม่สวยงาม
  • มีอาการคันระคายเคืองเมื่อสวมใส่เสื้อผ้า หรือเครื่องประดับ

โดยการรักษามีดังนี้ : 

การจี้ด้วยความเย็น Cryosurgery

แพทย์จะเลือกใช้ไนโตรเจนเหลวจี้บริเวณกระเนื้อที่เป็นและกระเนื้อจะหลุดออกไปเองภายในเวลาสองถึงสามวัน  

การจี้ด้วยไฟฟ้า  

การจี้ด้วยไฟฟ้าโดยศัลยแพทย์จะใช้กระแสไฟฟ้าจี้ไปยังบริเวณกระเนื้อหลังจากทายาชา บางครั้งอาจจะใช้การขูดเอาเนื้อเยื่อของกระเนื้ออกด้วย (Curette)  

เลเซอร์

การใช้เลเซอร์เพื่อจี้กระเนื้อออกเป็นทางเลือกหนึ่งที่แพทย์นิยมแนะนำให้คนไข้ใช้เช่นกัน

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

  • กระเนื้อเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น
  • กระมีความผิดปกติจากกระเนื้อทั่วไป
  • กระเนื้อที่เป็นส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองเวลาใส่สวมใส่เสื้อผ้า
  • มีอาการเจ็บปวดบริเวณกระ
  • สีของกระเนื้อมีความผิดปกติ เช่นสีม่วง แดง หรือน้ำเงิน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *