โรคงูสวัด (Shingles) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคงูสวัด (Shingles) : อาการ สาเหตุ การรักษา

20.08
11918
0

งูสวัด (Shingles) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (VZV) ซึ่งเป็นไวรัสตัวเดียวกันกับไวรัสโรคอีสุกอีใส ซึ่งมีผลกระทบต่อปมประสาทรับความรู้สึกด้านเดียวและเส้นประสาทที่มีผิวหนังปกคลุมอยู่

ผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสก็สามารถเป็นงูสวัดได้ในภายหลังซึ่งเชื้อไวรัสนี้สามารถอยู่ในร่างกายได้โดยที่ไม่แสดงอาการได้อยู่หลายปี

โรคงูสวัดส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่โรคนี้สามารถพบได้คนทุกเพศทุกวัย หากคนคนนั้นเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนหน้านี้

อาการงูสวัด

งูสวัดมักจะแสดงอาการบนร่างกายในด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งส่วนมากมักจะเกิดอาการที่เอว หน้าอก หน้าท้อง หรือหลัง และหากโรคงูสวัดมีอาการที่หน้า และในตา ปาก หู ซึ่งไวรัสประเภทนี้จะส่งผลกระทบไปยังอวัยวะภายในได้

งูสวัดมักส่งผลกระทบไปที่ปมประสาทที่รับรู้ความรู้สึกเพียงด้านเดียว ซึ่งใกล้อยู่กับไขสันหลัง เรียกว่า ปมประสาทรากหลัง นี่คือสาเหตุที่ทำไมอาการได้แสดงให้เห็นแค่อวัยวะบางส่วนของร่างกาย ซึ่งอาการเจ็บปวดมีผลมาจากการเจ็บปวดของอวัยวะที่รับรู้ความรู้สึก มากกว่าอาการผดผื่นที่เกิดขึ้นกับตัวเอง

ความจริงแล้ว ผู้ป่วยบางคนมีอาการปวดแต่ไม่มีผดผื่น แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีผดผื่นขึ้นพร้อมกับอาการเจ็บปวดซึ่งมากับอาการอื่นได้เช่นกัน เช่น มีไข้ ตัวหนาวสั่น หรือมีอาการปวดหัว

อาการงูสวัดนั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับอวัยวะที่มีอาการปรากฎหรือแสดงออกมา

อาการที่พบได้ทั่วไปของงูสวัด

อาการที่พบได้ทั่วไปของงูสวัด มีดังนี้

  • ผิวมีความหมองคล้ำ ผิวไหม้ หรือการปวด หรืออาการเจ็บเหมือนมีมีดมาทิ่มแทงตามร่างกาย 
  • มีผื่นขึ้นตามผิวหนังซึ่งคล้ายกับโรคอีสุกอีใส 
  • มีอาการปวดแค่บริเวณที่มีผื่น
  • มีแผลพุพองที่เต็มไปด้วยหนองที่เกิดจากผื่น

อาการงูสวัดที่พบบนร่างกาย

ผื่นแผลพุพองนั้นอาจปรากฏในร่างกายได้เพียงที่เดียวหรือหลายที่ก็ได้ตามแนวเส้นประสาทที่มีอาการ ซึ่งเรียกว่า เดอร์มาโทม 

อาการทั่วไปที่พบบนร่างกาย มักพบได้ตามอวัยวะต่อไปนี้:

  • หน้าอก
  • หน้าท้อง
  • หลัง
  • รอบเอว

อาการโรคงูสวัดนั้นมักเกิดอาการแค่ส่วนเดียวของร่างกาย

ตำแหน่งที่เกิดอาการขึ้น จะขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีเส้นประสาทเทอร์มาโทม ซึ่งมีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสว่ารุนแรงเพียงใด

อาการงูสวัดที่หน้า

หากมีผื่นงูสวัดที่หน้า อาการจะแสดงออกมาแค่ด้านเดียว ซึ่งมักเกิดขึ้นรอบดวงตาและหน้าผาก

ผู้ป่วยอาจมีอาการเหล่านี้ คือ:

  • มีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทเทอร์มาโทม
  • มีผื่นคัน
  • มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อาการปวดหัว

อาการงูสวัดที่ตา

หากเชื้อไวรัสงูสวัดส่งผลมาที่เส้นประสาทตา หมายความว่า คนที่ได้รับเชื้อนี้ไป จะเป็นโรคงูสวัดขึ้นตาได้

ซึ่งโรคนี้มีอาการปวด แดง และบวมที่บริเวณรอบดวงตา ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นที่ชั่วคราวหรือหากมีอาการที่รุนแรงมาก ถึงขั้นทำให้ตาบอดถาวรได้

อาการงูสวัดที่หู

งูสวัดสามารถเกิดขึ้นได้บริเวณรอบหู ซึ่งทำให้เกิดปัญหาความไม่สมดุลและสูญเสียการได้ยิน รวมถึงอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ส่งผลต่อไปที่หน้าได้

การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถมีผลได้ระยะยาวหรือถาวรเลยก็ได้ ดังนั้นคนที่มีอาการงูสวัดที่เกิดขึ้นรอบหูหรือรอบดวงตา ควรพบแพทย์ทันที เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัดได้

อาการงูสวัดที่ปาก

โรคงูสวัดมีผลมาถึงปาก อาจมีอาการดังต่อไปนี้:

  • มีอาการปวดที่หน้า
  • มีอาการปวดข้างในปาก
  • มีอาการปวดฟัน
  • มีแผลที่เนื้อเยื่อในปากที่มีอาการรุนแรง

อาการปวดและไม่สบายตัวที่เกิดจากโรคงูสวัดที่ปากนี้ สามารถทำให้มีความลำบากในการรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม

อาการงูสวัดที่เกิดขึ้นในอวัยวะภายใน

งูสวัดนั้นสามารถส่งผลกระทบไปยังอวัยวะภายในได้ ซึ่งไม่มีผื่นคัน แต่สามารถมีปัญหาทำให้เกิดโรคอื่นได้

เช่น นักวิจัยได้พบอาการของโรคงูสวัดที่ระบบย่อยอาหาร ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของระบทางเดินอาหารและความผิดปกติของหลอดเลือดแดงสมอง ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองและโรคสมองเสื่อมได้

อาการอื่นที่พบในงูสวัด

ซึ่งอาจพบอาการเหล่านี้ ได้แก่:

  • มีไข้
  • มีความเหนื่อยเมื่อยล้า
  • อาการหนาวสั่น
  • อการปวดหัว
  • อาการไม่สบายท้อง

ระยะของอาการงูสวัด

อาการโรคงูสวัดโดยทั่วไปแล้ว มีระยะอาการที่แสดงต่อไปนี้:

  • มีอาการปวด เหน็บชา และอาการคัน ซึ่งเริ่มส่งผลต่อผิวหนังบนร่างกายด้านใดด้านหนึ่ง
  • จะมีผื่นเกิดขึ้นหลังจากที่ผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ 
  • มีตุ่มแดงและคัน ซึ่งพัฒนามาเป็นแผลพุพองต่อเนื่องเป็นเวลา 3-5 วัน
  • แผลพุพองอาจอยู่รวมกัน ซึ่งมีลักษณะเหมือนแผลไฟไหม้ ซึ่งสัมผัสแผลแล้วจะมีอาการปวด
  • อาการอักเสบอาจส่งผลกระทบไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่รอบผื่นได้
  • แผลพุพองจะค่อยๆแห้งและตกสะเก็ดหลังจากมีอาการไป 7-10 วัน ซึ่งเมื่อแผลพุพองหายไปแล้ว ก็จะทิ้งรอยแผลเป็นเล็กน้อยไว้

โรคงูสวัดมักใช้เวลาเป็น 2-4 สัปดาห์กว่าจะหายเป็นปกติ ซึ่งมันสามารถติดต่อกันได้ จนกระทั่งแผลแห้งและตกสะเก็ดไปในที่สุด

คนส่วนใหญ่จะเป็นงูสวัดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น แต่บางคนนั้น อาจเคยเป็นแล้วก็กลับมาเป็นอีกก็ได้

การรักษางูสวัด

แพทย์อาจแนะนำวิธีรักษางูสวัดให้ผู้ป่วยงูสวัดรับประทานยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรคงูสวัด ซึ่งสามารถติดเชื้อได้หลายทาง

วิธีรักษางูสวัดโดยการใช้ยาต้านไวรัส

วิธีรักษางูสวัดโดยการใช้ยาต้านไวรัส สามารถช่วยได้ในเรื่องดังนี้:

  • ช่วยลดความรุนแรงและระยะอาการของงูสวัด
  • ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากงูสวัด
  • ลดความเสี่ยงที่โรคงูสวัดจะกลับมาอีกครั้ง

การจัดการอาการงูสวัด

วิธีรักษางูสวัดเบื้องต้นโดยการจัดการอาการโรคงุสวัดนั้น มีวิธีรักษาดังนี้:

  • ใช้ยาบรรเทาอาการปวด
  • ขจัดความตึงเครียดเท่าที่จะทำได้
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายในท่าที่เบาและง่าย
  • สวมเสื้อผ้าที่หลวมเพื่อความสบายให้ระบายอากาศได้ดี

การบรรเทาอาการคันตามที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของอเมริกาได้แนะนำมา มีดังนี้:

  • ทาโลชั่นคาลามายน์
  • อาบน้ำอุ่นหรืออาบน้ำด้วยน้ำข้าวโอ๊ต
  • อยู่ในที่เย็นสบายและชื้นและเช็ดด้วยผ้าขนหนูที่ชุบน้ำหมาด

สามารถสั่งซื้อโลชั่นคาลามายน์ได้ทางออนไลน์ได้แล้วในวันนี้

รียนรู้เกี่ยวกับอาการคันเพิ่มเติมได้ที่นี่

คนส่วนใหญ่มักฟื้นฟูร่างกายของตัวเองได้ด้วยการรักษาตัวที่บ้าน แต่หากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่นมีไข้ ควรพบแพทย์โดยทันที ซึ่งคนที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัดนั้นมีประมาณ 1-4 เปอร์เซนต์ที่ต้องรับการรักษาที่โรคพยาบาล

โรคงูสวัด (Shingles)

การฉีดวัคซีนงูสวัด

การฉีดวัคซีนนั้นสามารถป้องกันได้ทั้งงูสวัดและโรคอีสุกอีใส

การฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก: วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส

ผู้เชี่ยวชาญนั้นแนะนำให้เด็กได้รับการฉีดวัคซีนโรคอีสุกอีใสหรือไวรัสวาริเซลลาให้เด็กเป็นประจำ

ซึ่งการฉีดวัคซีน 2 ครั้งสามรถป้องกันเชื้อไวรัสโรคอีสุกอีใสได้ถึง 90 เปอร์เซนต์ ซึ่งการฉีดวัคซีนนี้จะป้องกันโรคงูสวัดด้วย

เด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนโรคอีสุกอีใสเป็นครั้งแรกได้ในช่วงเด็กมีอายุ 12-15 เดือน และการฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 เมื่อเด็กมีอายุ 4-6 ปี

การทดสอบการฉีดวัคซีนนั้นมีความปลอดภัยอย่างแน่นอน แต่เด็กบางคนนั้นอาจมีอาการหลังฉีดวัคซีนได้ดังนี้:

  • มีอาการปวดในบริเวณที่ฉีดวัคซีน
  • มีไข้และมีผื่นเล็กน้อย
  • มีอาการปวดตึงที่ข้อชั่วคราว

ซึ่งตั้งแต่มีการฉีดวัคซีนให้เด็กนั้น จำนวนของโรคผู้ป่วยงูสวัดก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

การฉีดวัคซีนนั้นปลอดภัยหรือไม่ เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่

การฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่: วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด

การฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่นั้นแตกต่างจากการฉีดวัคซีนในเด็ก ซึ่งวัคซีนของผู้ใหญ่นั้นเป็นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสงูสวัดที่ชื่อว่าเฮอร์เปสซอสเตอร์ และฉีดให้กับผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปซึ่งมีอาการโรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าวัคซีนนี้สามารถฉีดให้กับคนทั่วไปที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสและงูสวัดได้

วัคซีนที่ใช้ในการฉีดป้องกันงูสวัด คือ วัคซีนงูสวัดชนิดเชื้อเป็น และมีชนิดใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า วัคซีนงูสวัดชนิดเนื้อตาย

คนที่ได้รับการฉีดวัคซีน 2 ครั้งนั้น สามารถป้องกันงูสวัดได้ถึง 90 เปอร์เซนต์ หลังจากนั้นผ่านไป 4 ปี การป้องกันโรคงูสวัดจะลดลงเหลือ 85 เปอร์เซนต์เท่านั้น

สาเหตุของงูสวัด

งูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกันกับโรคอีสุกอีใส ซึ่งหลังจากที่โรคอีสุกอีใสหายไปแล้ว เชื้อไวรัสยังคงอยู่ในร่างกาย ซึ่งมันจะไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นชัดและซ่อนตัวอยุูในปมประสาทในระบบประสาทส่วนปลาย

เชื้อไวรัสงูสวัดนั้นอยู่ในกลุ่มของไวรัสที่เรียกว่า เฮอร์เปสไวรัส หรือเชื้อไวรัสโรคเริม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้งูสวัดยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคเริมงูสวัดอีกด้วย

ซึ่งเชื้อไวรัสโรคเริมสามารถช่อนตัวอยู่ในระบบประสาท ที่สามารถแฝงตัวไปได้ยาวนาน

อาการที่พบได้โรคเริมงูสวัดนั้นสามารถเกิดการกระตุ้นให้เกิดอาการงูสวัดได้เช่นเดียวกัน จากเชื้อโรคที่อยู่ในปมประสาทก็ส่งไปยังเส้นประสาทส่วนอื่นของร่างกาย ทำให้เกิดอาการติดเชื้องูสวัดครั้งใหม่ได้

ตอนนี้สิ่งที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคงูสวัดที่แท้จริงนั้น ยังไม่มีผลการพิสูจน์ออกมา แต่มันก็สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อมีสิ่งที่กระตุ้นทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายเริ่มอ่อนแอลง ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เชื้อไวรัสโรคงูสวัดกลับมาทำงานอีกครั้งได้

สถิติผู้ป่วยงูสวัดในประเทศไทย

สถิตินี้มาจากเว็บไซต์โรงพยาบาลราชวิถีหัวข้อเรื่อง งูสวัดเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซนต์ ซึ่งพบว่า ตอนนี้มีผู้ป่วยโรคงูสวัดเพิ่มขึ้นเป็น 10 เปอร์เซนต์ ซึ่งเชื่อว่าอากาศเปลี่ยนไปจนภูมิคุ้มกันต่ำ พบแค่ในสถาบันผู้ป่วยโรคผิวหนังปีละ 700-800 ราย และพบในปีนี้มีผู้ป่วยไปแล้ว 98 ราย

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *