โรคมะเร็งผิวหนัง (Skin cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคมะเร็งผิวหนัง (Skin cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

09.10
5821
0

ใบบทความนี้เราจะอธิบายเกี่ยวกับอาการประเภทของมะเร็งผิวหนังที่พบมากที่สุดและอธิบายวิธีการตรวจสอบผิวหนังว่าเป็นมะเร็งผิวหนังหรือไป นอกจากนี้เราจะมาช่วยค้นหาวิธีป้องกัน สาเหตุของการเกิดโรคและปัจจัยเสี่ยงรวมไปถึงการวินิจฉัยเเละการรักษา 

อาการเเละสัญญาณเตือน

Basal cell และ squamous cell  carcinoma คือตัวอย่างของเซลล์ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา (nonmelanoma skin cancer)

ในสหรัฐอเมริกาสถาบันเกี่ยวกับโรคมะเร็งผิวหนังกล่าวว่าทุกคนควรเข้ารับการตรวจมะเร็งผิวหนังทั่วทั้งร่างกายตั้งเเต่หัวจรดเท้าเดือนละหนึ่งครั้งเพื่อตรวจหาอาการดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบว่ามีตุ่มไฝเกิดขึ้นใหม่หรือไม่
  • ตุ่มไฝที่มีอยู่มีขนาดเท่าเดิมหรือขนาดใหญ่ขึ้น
  • มีตุ่มไฝหรือเนื้องอกที่มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นหรือไม่
  • มีแผลที่มีลักษณะเปลี่ยนไปหรืออาการคัน มีเลือดออกหรือมีบาดแผลที่ยังรักษาไม่หายหรือไม่ 

โดยส่วนใหญ่อาการทั่วไปของโรคมะเร็งผิวหนังได้แก่ตุ่มที่ขึ้นมาแบบผิดปกติสีชมพูหรือตุ่มขี้แมลงวันสีน้ำตาลหรือไฝ 

โรคมะเร็งผิวหนังมีรูปแบบที่เกิดขึ้นแตกต่างกันและโดยส่วนใหญ่ประเภทของมะเร็งผิวหนังได้แก่

  • basal cell carcinoma
  • squamous cell carcinoma
  • มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma)

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) เป็นมะเร็งชนิดที่ส่วนใหญ่เเล้วเกิดจากตุ่มขี้แมลงวันหรือไฝ

นอกจากนี้ต่อมน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นสามารถเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งผิวหนังเช่นกัน โดยต่อมน้ำเหลืองที่มีขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วจะค่อยๆมีการสะสมของเซลล์ภูมิคุ้มกันภายใต้ผิวหนังซึ่งส่วนใหญ่พบได้ที่บริเวณคอ ขาหนีบและใต้วงเเขน   

ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้อย่างไร 

โรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากเซลล์ Basal และ squamous cell เป็นมะเร็งผิวหนังทั่วไป ซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายเหมือนมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) มะเร็งผิวหนังชนิดนี้สามารถเกิดได้ที่ส่วนของร่างกายแต่โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้า ศีรษะหรือลำคอ

 โรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดจาก basal cell carcinoma มีลักษณะดังต่อไปนี้ 

  • เกิดรอยสีเหลืองซีดขึ้นบนผิวหนังมีลักษณะคล้ายกับเเผลเป็น 
  •  มีผื่นสีเเดงเกิดขึ้นซึ่งบางครั้งทำให้เกิดอาการคัน
  • เกิดผื่นขนาดเล็กที่มีความเข้มของสีตั้งแต่สีชมพูซีด ชมพูอ่อนไปจนถึงสีแดงและยังมีลักษณะสีน้ำเงิน สีน้ำตาลหรือสีดำเกิดขึ้นด้วย 
  • เกิดผื่นสีชมพูที่มีขอบยดขึ้นเเละมีจุดศูนย์กลางตรงกลางต่ำลงและเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดทำให้ผื่นลักษณะนี้เกิดการแพร่กระจายได้ 
  • เกิดความเจ็บปวดที่แผลเปิดโดยอาจเกิดสะเก็ดขึ้นที่แผลหรือมีของเหลวไหลออกมาจากแผลแม้ว่าจะได้รับการรักษาหรือไม่ แผลนี้ก็สามารถกลับมาเกิดขึ้นได้อีก

โรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดจาก squamous cell carcinoma มีลักษณะดังต่อไปนี้ 

  • เกิดผื่นที่มีลักษณะเป็นสีแดงอาจมีสะเก็ดหรือเลือดไหลออกมา
  • เกิดเนื้องอกหรือก้อนนูนขึ้นซึ่งบางครั้งมีจุดศูนย์กลางของก้อนนี้อยู่ต่ำกว่าขอบ
  • เกิดความเจ็บปวดที่แผลเปิดโดยอาจเกิดสะเก็ดขึ้นที่แผลหรือมีของเหลวไหลออกมาจากแผลแม้ว่าจะได้รับการรักษาหรือไม่ แผลนี้ก็สามารถกลับมาเกิดขึ้นได้อีก
  • มีตุ่มนูนเกิดขึ้นซึ่งมีลักษณะกลายกับหูด

อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งผิวแต่ละชนิดมีลักษณะอาการไม่เหมือนกัน สมาคมโรคมะเร็งเเห่งสหรัฐอเมริกาให้คำแนะนำว่าหากผู้ใดพบอาการผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด 

  • มีปานที่มีลักษณะผิดปกติเกิดขึ้นบนร่างกาย
  • มีบาดแผลที่ทำให้เจ็บปวดเเละรักษาไม่หาย
  • มีไฝสีเเดงหรืออาการบวมเกิดขึ้นใหม่รอบๆไฝ
  • มีอาการคับ เจ็บปวดเเละไฝมีความอ่อนนุ่ม 
  • มีไฝที่มีน้ำไหลซึมออก ตกสะเก็ดหรือมีเลือดไหลออก

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) เกิดขึ้นได้อย่างไร

สถาบันทางการเเพทย์ได้ระบุว่าจุดที่สามารถทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) ซึ่งเป็นมะเร็งผิวชนิดที่อันตรายที่สุดสามารถทำการตรวจสอบได้ 2 วิธีดังต่อไปนี้  

การตรวจสอบสามารถทำได้ด้วยวิธี ABCDE และ วิธี ugly duckling 

1. การตรวจด้วยวิธี ABCDE

โดยปกติเเล้วการเกิดจุดขี้แมลงวัน ปาน หรือไฝที่มีสีน้ำตาลไม่เป็นอันตราย แต่อย่างไรก็ตามจุดบนผิวหนังเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนอันดับเเรกของการเกิดมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) ซึ่งเเพทย์เรียกจุดนี้ว่าตุ่มมะเร็งซึ่งสามารถตรวจสอบด้วยวิธีดังต่อไปนี้    

  • A คือความไม่สมมาตร หากลักษณะของตุ่มทั้งสองข้างมีขนาดไม่เท่ากันอาจเป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาได้
  • B คือขอบของไฝที่ไม่มีอันตรายและมีพื้นผิวที่เรียบเนียน แต่ถ้าหากไฝมีขอบที่ผิดปกติอาจเป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาได้และโดยส่วนใหญ่ขอบของไฝจะมีรอยบากเกิดขึ้น 
  • C คือสีของไฝที่ไม่เป็นอันตรายซึ่งมีสีเดียวคือสีน้ำตาล ส่วนมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาทำให้ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนสีที่แตกต่างกันไปเช่นเปลี่ยนจากสีน้ำตาลหรือดำไปเป็นสีเเดง น้ำเงินหรือสีขาว 
  • D คือขนาด ตุ่มไฝที่ไม่เป็นอันตรายมักมัขนาดเล็กกว่าตุ่มไฝที่ทำให้เกิดอันตรายซึ่งโดยปกติมีขนาดใหญ่กว่ายางลบของดินสอประมาณ ¼ นิ้วหรือ 6 มิลลิเมตร 
  • E คือการเจริญเติบโต ถ้าหากตุ่มไฝเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงหรือเติบโตขึ้นสามารถเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งได้ด้วยเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงได้แก่ขนาด รูปร่าง สี หรือมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นจากการเป็นรอยบนผิวหนังไปเป็นตุ่มมะเร็งที่เริ่มมีเลือดออกและมีอาการคัน    

2. การตรวจสอบด้วยวิธี ugly duckling 

วิธี ugly duckling ใช้ตรวจสอบผู้ที่มีตุ่มมะเร็งเกิดขึ้นรวมกันมากกว่าหนึ่งจุด แต่ทั้งนี้หากผู้ใดมีไฝเกิดขึ้นอย่างโดดเด่นหนึ่งจุดสามารถเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งผิวหนังได้เช่นกัน    

แน่นอนว่าตุ่มไฝหรือเนื้องอกทุกชนิดไม่ได้ทำให้เกิดตุ่มมะเร็งชนิดที่อันตราย  อย่างไรก็ตามหากผู้ใดพบลักษณะที่ผิดปกติของผิวหนังตามที่ได้กล่าวมา ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาต่อไป 

โรคมะเร็งผิวหนังสามารถวินิจฉัยโรคอย่างไร 

อันดับเเรกแพทย์จะทำการตรวจสอบผิวหนังและสอบถามประวัติการเข้ารับการรักษา

โดยปกติแพทย์จะสอบถามอาการเมื่อมีปานเกิดขึ้นครั้งเเรกว่ามีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงหรือไม่ เคยมีอาการเจ็บปวด อาการคันหรือมีเลือดออกบ้างหรือไม่ 

นอกจากนี้เเพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับประวัติของคนในครอบครัวและสอบถามเพื่อค้นหาปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่นการใช้ชีวิตเเละการสัมผัสกับเเสงแดด

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายทั้งหมดเพื่อค้นหาตุ่มมะเร็งหรือตุ่มขี้แมลงวันที่มัลักษณะผิดปกติและในขั้นตอนสุดท้ายแพทย์ตรวจตุ่มน้ำเหลืองที่เกิดขึ้นว่าตุ่มนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีอาการเจ็บหรือไม่

แพทย์อาจจะเเนะนำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการตรวจสอบดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบปานที่เกิดขึ้นด้วยเครื่องมือที่ใช้ส่องตรวจผิวหนังหรือใช้เเว่นขยาย
  • นำชิ้นส่วนตัวอย่างของผิวหนังไปตรวจสอบโดย การผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัย (Biopsy) และส่งไปที่ห้องทดลองเพื่อตรวจความผิดปกติของโรคมะเร็ง

สาเหตุเเละปัจจัยเสี่ยง

นักวิจัยยังไม่พบเซลล์ที่ทำให้เนื้อเยื่อกลายเป็นมะเร็งชนิดร้ายแรงได้ อย่างไรก็ตามพวกเขาได้ระบุปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

ปัจจัยส่วนใหญ่ของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาคือการสัมผัสกับเเสงรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ซึ่งรังสีนี้สามารถทำลาย DNA ภายในเซลล์ผิวจึงเซลล์ทำงานผิดปกติเช่นทำให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวเเละเจริญเติบโตผิดปกติ

แสงรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ส่วนใหญ่มาจากดวงอาทิตย์และมาจากการนอนอาบแดดด้วย 

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆได้แก่ 

  • ตุ่มไฝ ผู้ที่มีตุ่มไฝเกิดขึ้นมากกว่า 100 ตุ่มมักเป็นผู้ที่มีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาได้มากที่สุด
  • ผู้ที่มีผิวสีขาวซีดและตกกระ ผู้ที่มีลักษณะดังกล่าวนี้เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาได้มากที่สุดเพราะมะเร็งผิวหนังเมลาโนมักเกิดขึ้นผู้ที่มีผิวหนังสีสว่างเนื่องจากคนเหล่านี้มักเกิดการเผาไหม้ในผิวหนังมากกว่าเมื่อสัมผัสกับเเสงแดด 
  • ประวัติของคนในครอบครัวเกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 10 เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง 
  • ประวัติส่วนบุคคล โดยส่วนใหญ่มะเร็งผิวหนังเมลาโนมามักเกิดขึ้นกับคนที่เคยเป็นมะเร็งชนิดนี้มาก่อน นอกจากนี้ผู้ที่มีเซลล์มะเร็งเช่น squamous cell มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาได้เช่นกัน

การรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง

โดยปกติแพทย์จะนำเซลล์มะเร็ง  basal cell และ squamous cell ออกไปด้วยการผ่าตัดขนาดเล็ก

การฉายรังสีบำบัดเป็นทางเลือกในการรักษาโรดมะเร็งเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถเข้ารักการผ่าตัดได้ แพทย์จะใช้วิธีการรักษานี้บริเวณที่ทำการผ่าตัดได้ยากอย่างเช่นบริเวณเปลือกตา จมูกหรือหู

สำหรับมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา วิธีที่ดีที่สุดรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรคและบริเวณที่เกิดโรคมะเร็ง ถ้าหากเเพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาระยะเริ่มต้น โดบปกติเเพทย์มักจะผ่าตัดนำส่วนที่เป็นมะเร็งนี้ออก

ในบางกรณีเเพทย์อาจจะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดประเภทอื่นหรือการฉายรังสีบำบัด

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *