แพ้ถั่วเหลือง (Soy Allergy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

แพ้ถั่วเหลือง (Soy Allergy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

06.05
1325
0

อาการแพ้ถั่วเหลือง (Soy Allergy)คืออาการภูมิแพ้อาหารที่ผลิตจากถั่วเหล่องที่พบได้ทั่วไป การแพ้ถั่วเหลืองมักพบว่าจะมีอาการเริ่มต้นมาตั้งแต่ในวัยแรกเกิดด้วยการแพ้นมชงผสมสูตรที่มีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ แม้ว่ามักจะพบอาการแพ้ถั่วเหลืองมากในเด็กก็ตามแต่ก้ยังพบว่าในวัยผู้ใหญ่เองก็อาจเกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน

สัญญานของโรคและอาการของการแพ้ถั่วเหลืองมักมีอาการไม่รุนแรง เช่นลมพิษ  หรือคันข้างในหรือรอบๆบริเวณปาก แม้จะพบได้ไม่บ่อยนักแต่ก็มีบางรายที่มีปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงและอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ (การแพ้ชนิดรุนแรง) 

หากคุณหรือลูกของคุณเคยมีอาการแพ้ถั่วเหลืองควรแจ้งให้แพทย์ทราบ การตรวจสอบสามารถช่วยยืนยันอาการแพ้ถั่วเหลืองได้

ผู้ที่อาการแพ้ถั่วเหลืองนั้นหมายความว่าควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลืองด้วย ซึ่งจัดว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะมีอาหารหลายชนิดเช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียม, ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่, ช็อกโกแลตและซีเรียลอาหารเช้านั้นมีถั่วเหลืองเป็นส่วยประกอบร่วมด้วย

สาเหตุของการแพ้ถั่วเหลือง

ระบบภูมิต้านทานจะทำปฏิกิริยาเพราะภูมิแพ้อาหาร อาการแพ้ถั่วเหลืองคือการที่ระบบภูมิต้านทานร่างกายมองว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองเป็นตัวอันตราย โดยจะไปกระตุ้นให้เกิดการผลิตสารภูมิต้านทานที่เรียกว่าอิมมูโนโกลบูลิน อี ขึ้นมาต้านโปรตีนถั่วเหลือง และในครั้งถัดมาเมื่อผู้ป่วยมีโอกาสได้สัมผัสกับถั่วเหลืองอีกครั้ง เจ้าสารภูมิต้านทานตัวนี้ก็จะสามารถจดจำได้และจะส่งสัญญานไปยังระบบภูมิต้านทานเพื่อปล่อยสารฮิสตามีนและสารเคมีอื่นๆเข้าไปสู่กระแสเลือดของผู้ที่แพ้

สารฮิสตามีนและสารเคมีอื่นๆของร่างกายเป็นสาเหตุก่อให้เกิดสัญญานโรคและอาการแพ้ได้อย่างกว้างขวาง สารฮิสตามีนจะทำหน้าทีตอบสนองที่ทำให้เกิดอาการแพ้ส่วนใหญ่  เช่นน้ำมูกไหล(Runny Nose) คันตา คอแห้ง ผื่นและลมพิษขึ้นคลื่นไส้ ท้องเสีย  หายใจลำบากและภาวะช็อคจากการแพ้ชนิดรุนแรง

อาการแพ้ถั่วเหลือง

สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วอาการแพ้ถั่วเหลืองคือภาวะที่ทำให้เกิดความไม่สบายตัวเท่านั้นแต่มักไม่ค่อยมีความรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามแม้จะพบได้ยากแต่ก็พบได้ว่ามีคนที่มีปฏิกิริยาการแพ้ที่อาจรุนแรงและทำให้เสียชีวิตได้ สัญญานโรคและอาการของภูมิแพ้อาหารมักจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เพียวแค่สองสามนาทีไปจนถึงหลายชั่วโมงหลังจากที่รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบสิ่งที่ผู้ป่วยแพ้เข้าไป

อาการแพ้ถั่วเหลืองคือ:

  • รู้สึกชาในปาก
  • มีลมพิษ คัน ผิวลอกเป็นขุ่ย
  • ริมฝีปาก  หน้า  ลิ้นและคอบวม หรือส่วนอื่นๆในร่างกายบวม 
  • หายใจมีเสียงวี๊ด, น้ำมูกไหลหรือหายใจลำบาก
  • ปวดท้อง  ท้องเสีย  คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ผิวมีรอยแดง

ปฏิกิริยาแพ้ชนิดรุนแรงคืออาการแพ้ถั่วเหลืองที่พบได้ยาก ซึ่งมักเกิดขึ้นกับผู้ที่ป่วยโนโรคหอบหืดหรือผู้ที่ป่วยที่มีอาการร่วมกับอาการแพ้อาหารชนิดอื่นๆนอกเหนือกับถั่วเหลืองเช่นถั่วลิสง

อาการแพ้ชนิดรุนแรงมักมีสัญญานและอาการที่รุนแรงมากกว่าเช่น:

  • การหายใจลำบากเพราะคอบวม
  • ภาวะช็อคร่วมกับความดันโลหิตลดต่ำอย่างรุนแรง
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • มึนงง  วิงเวียนศีรษะหรือหมดสติ 

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ควรรีบไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาอาการภูมิแพ้ในทันทีหลังเกิดอาการแพ้จากการรับประทานอาหาร หากเป็นไปได้ควรรีบไปพบแพทย์ในช่วงระหว่างที่ยังมีปฏิกิริยาการแพ้อยู่

ควรรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วนหากพบว่ามีอาการและสัญญานการแพ้ที่อาจทำให้เกิดปฏิกริยาการแพ้ชนิดรุนแรง โดยดูจากสิ่งต่อไปนี้:

  • หายใจลำบาก
  • ชีพจรเต้นเร็ว หรืออ่อน
  • มึนงงหรือวิงเวียนศีรษะ
  • น้ำลายไหลและไม่สามารถกลืนได้
  • มีรอยแดงและรู้สึกร้อนผ่าวทั้งตัว (ผิวหนังแดง)

โปรตีนอาหารที่เกิดจากซินโดรม Enterocolitis (FPIES)    

การแพ้อาหารที่ทำให้เกิดอาการในบางครั้งเราเรียกว่า “การแพ้อาหารล่าช้า” ถึงแม้อาหารทุกชนิดสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้ก็ตามแต่ถั่วเหลืองคือหนึ่งในอาหารที่เด็กส่วนใหญ่มักจะมีอาการแพ้ ปฏิกิริยาที่พบได้ทั่วไปคืออาเจียนและท้องเสีย มักเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากรับประทานที่เป็นตัวกระตุ้นเข้าไปหรืออาจใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่นาทีก็ได้เช่นกันฃ

ต่างจากการแพ้อาหารทั่วไป อาการ FPIES มักแก้ไขได้เมื่อเวลาผ่านไป แต่ก็ไม่ต่างจากการแพ้ถั่วเหลืองรูปแบบปกติ คือต้องป้องกันการเกิดปฏิกิริยาด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีถั่วเป็นส่วนประกอบ

Soy allergy

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยที่อาจไปเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการแพ้ถั่วเหลืองคือ:

  • ประวัติครอบครัว คุณจะมีความเสี่ยงจะมีภาวะแพ้ถั่วเหลืองหรืออาหารชนิดอื่นๆเพิ่มมากขึ้นหากพบว่ามีคนอื่นๆในครอบครัวมีอาการแพ้รูปแบบอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ละอองฟาง, หอบหืด, ลมพิษหรือโรคแพ้ผื่นคัน
  • อายุ ภาวะแพ้ถั่วเหลืองมักจะเกิดในเด็ก โดยเฉพาะเด็กวัยหัดเดินและเด็กทารก
  • การแพ้ชนิดอื่นๆ ในบางรายพลว่าผู้ที่แพ้แป้งสาลี,ถั่ว,นมหรืออาหารชนิดอื่นๆสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้กับถั่วเหลืองได้ด้วย ดังนั้นคนที่แพ้ถั่วเหลืองควรตรวจสอบการแพ้ถั่วชนิดอื่นๆดูด้วย แต่ก็อาจยังสามารถรับประทานได้หากไม่มีปัญหาเกิดขึ้น

ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเรื่องอาหารที่ไว้ดูแลเด็กเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้

หากพบว่ามีอาการแพ้ถั่วเหลือง ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลือง

การป้องกัน

ไม่มีวิธีป้องกันการแพ้อาหาร หากคุณมีบุตร, การให้นมมารดาแก่บุตรแทนการใช้นมที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองหรือนมชงผสมอาจช่วยได้เช่นกัน

หากมีอาการแพ้ถั่วเหลือง วิธีเดียวเท่านั้นที่จะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาก็คือต้องหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลืองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะทราบได้ว่าอาหารชนิดใดบ้างที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองเพราะถั่วเหลืองมักเป็นส่วนประกอบในอาหารทั่วๆไปได้หลายชนิด

ควรอ่านฉลากอย่างระมัดระวัง ถั่วเหลืองมักไปอยู่ในอาหารบางอย่างที่เราไม่คาดคิด เช่นปลาทูน่ากระป๋องและเนื้อสัตว์, ขนมอบ, แครกเกอร์, ธัญพืชอัดแท่ง, เนยถั่วไขมันต่ำ.และซุบกระป๋อง ควรอ่านฉลากทุกๆครั้งก่อนการซื้อผลิตภัณฑ์ เพราะส่วนผสมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ 

น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ขั้นสูงอาจไม่สร้างปฏิกิริยาแพ้เพราะไม่ได้มีส่วนประกอบของโปรตีนถั่วเหลือง เช่นเดียวกันกับซอย เลซิติน ที่อาจไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ แต่โดยทั่วๆไปแล้วหากบนฉลากมีคำว่าว่า “ถั่วเหลือง” ก็ควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ควรหลีกเลี่ยงคือ:

  • นมถั่วเหลือง, ชีสถั่วเหลือง,ไอศกรีมถั่วเหลืองและโยเกิร์ตถั่วเหลือง
  • แป้งถั่วเหลือง
  • เต้าหู้
  • มิโซะ
  • นัตโตะ
  • โชยุ
  • เทมเป้หรือถั่วหมัก
  • ซอสถั่วเหลืองและซอสทามารี
  • ถั่วแระ

นอกจากคำว่า “ถั่วเหลือง” อาจมีคำอื่นๆบนฉลากที่อาจหมายถึงมีถั่วเหลืองในผลิตภัณฑ์นั้นๆร่วมอยู่ด้วยได้ เช่น:

  • Glycine Max
  • โปรตีนผักไฮโดรไลเซท (Hydrolyzed Vegetable Protein (HVP))
  • โปรตีนพืชไฮโดนไลซ์ (Hydrolyzed Plant Protein)
  • โปรตีนเกษตรหรือเนื้อเทียม (Textured Vegetable Protein (TVP))
  • โมโนกลีเซอไรด์ (Monodiglyceride)
  • ผงชูรส โมโนโซเดียมกลูตาเมต (Monosodium Glutamate (MSG))
  • สารแต่งกลิ่นรส (Artificial Flavoring)
  • สารกลิ่นรสตามธรรมชาติ (Natural Flavoring)

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *