โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม
หรือกระดูกสันหลังเคลื่อนไปด้านหน้าเหนือข้อต่อปล้องกระดูกสันหลังชิ้นล่างที่อยู่ติดกัน โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน มักเกิดขึ้นที่หลังส่วนล่างและมักเกิดขึ้นในวัยรุ่นและผู้ใหญ่
ประเภทและระดับของความรุนแรงของโรค
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมักเกิดบริเวณหลังส่วนล่างเนื่องจากมีการเคลื่อนในองศาที่แตกต่างกันและมีแนวระดับของข้อต่อไม่ตรงกัน โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนจึงแบ่งออกเป็นประเภทและระดับความรุนแรงได้ดังนี้ โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมีอยู่ด้วยกัน 6 ประเภทและแบ่งตามสาเหตุ
ประเภท I – ผู้ป่วยบางรายมีโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมาแต่กำเนิด เด็กเล็กอาจมีภาวะที่นำไปสู่โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนโดยค่อย ๆ เกิดขึ้นตามช่วงพัฒนาการของตัวเอง โดยทั้งกรณีที่โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมีมาแต่กำเนิดและเพิ่งเกิดในช่วงวัยเด็กนั้น ผู้ป่วยอาจไม่ได้แสดงอาการหรือปัญหาใด ๆ จนกระทั่งอายุสูงวัย
ประเภท II – เป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ประเภทที่พบบ่อยที่สุดโดยเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังที่เรียกว่า ส่วนที่มีการเชื่อมต่อระหว่างตัวของกระดูกสันหลังกับแผ่น โดยประเภทที่ II สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้:
ประเภท IIA คือโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนที่มีการแตกหักของกระดูกหลายจุดและเกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลังมากเกินไปและเกิดจากการดึงการเหยียดเกิน
ประเภท IIB จะมีการแตกหลายตำแหน่งแต่จะไม่หักและขาดซะทีเดียวและรักษาได้โดยการเสริมกระดูกเข้าไป และกระดูกที่เสริมเข้าไปนี้ทำให้เกิดการยืดและกระดูกเรียงไม่ตรงแนว
ประเภท IIC คือการแตกหักทั้งหมดและทำให้เกิดการบาดเจ็บด้วย การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุทางรถยนต์อาจทำให้เกิดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนประเภท IIC ได้
กระดูกแตกจากประเภท II จะทำให้เกิดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนก็ต่อเมื่อกระดูกเกิดการเคลื่อนไปข้างหน้า
ประเภทที่ 3 – มีสาเหตุมาจากความชราและการสึกหรอตามธรรมชาติในร่างกายของคนเรา
ประเภท IV – เป็นการแตกที่เกิดขึ้นบริเวณใดก็ได้ในกระดูกสันหลัง ยกเว้นในบริเวณที่มีการเชื่อมต่อระหว่างตัวของกระดูกสันหลังกับแผ่น
ประเภท V – เกิดจากเนื้องอกบนกระดูกสันหลังไปกดทับกระดูกสันหลังและทำให้หลังอ่อนแอ
ประเภท VI – เป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนที่ผิดปกติอันเกิดจากสภาพหลังที่อ่อนแอหลังการผ่าตัด
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนยังแบ่งออกเป็นระดับตามระยะห่างของกระดูกสันหลัง ได้แก่:
- ระดับที่ 1: กระดูกสันหลังเคลื่อนไปข้างหน้าไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นระดับความรุนแรงต่ำสุด
- ระดับที่ 2: กระดูกสันหลังเคลื่อนไปข้างหน้าตั้งแต่ 26-50 เปอร์เซ็นต์
- ระดับที่ 3: กระดูกสันหลังเคลื่อนไปข้างหน้าตั้งแต่ 51-75 เปอร์เซ็นต์
- ระดับที่ 4: กระดูกสันหลังเคลื่อนไปข้างหน้าตั้งแต่ 76-100 เปอร์เซ็นต์
- ระดับที่ 5: กระดูกสันหลังหลุดออกจนหมดและแยกออก
อาการของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นอาการทั่วไปของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
บางคนอาจมีโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน มาตั้งแต่กำเนิดและไม่เคยมีอาการใด ๆ บอกเลยว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่อาการจะแสดงเมื่ออายุมากขึ้น
อาการรุนแรงของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน อาจรวมถึงไม่แสดงอาการไปจนถึงปัสสาวะไม่ได้และอั้นปัสสาวะไม่อยู่ในกรณีที่รุนแรงมาก ๆ
อาการที่พบบ่อย ได้แก่ :
- เดินหรือวิ่งลำบาก
- ปวดหลังส่วนล่างหรือก้น
- อาการปวดลงจากด้านหลังลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
- ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอ่อนแรง
- ปวดหลังส่วนล่างและขาที่รุนแรงขึ้นจากการเคลื่อนไหวหรือบิดตัว
- เอ็นร้อยหวายตึง
- ความโค้งด้านในของกระดูกสันหลังเพิ่มขึ้นหรือที่เรียกว่าภาวะแอ่นไปทางด้านหน้า
สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนนั้นแตกต่างกันไปในคนไข้แต่ละคน บางคนเกิดมาพร้อมกับกระดูกบกพร่องและอาจยังไม่ปรากฎอาการใด ๆ จนกว่าจะถึงช่วงที่อายุมากขึ้น ในขณะที่บางคนได้รับบาดเจ็บที่หลังซ้ำ ๆ หรืออาจเคยเกิดครั้งเดียวเท่านั้นก็ได้
การทราบสาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนสามารถช่วยให้แพทย์ระบุประเภทของกระดูกสันหลังเกิดขึ้นได้ และแพทย์จะยังช่วยพิจารณาวิธีการรักษาที่ดีที่สุด
สาเหตุโดยทั่วไป ได้แก่ :
- กระดูกหักจากการบาดเจ็บ
- การบาดเจ็บที่ข้อต่อจากโรคข้ออักเสบหรือความเจ็บป่วย
- ความเสื่อมจากการใช้งานหนักหรือความชรา
- เป็นมาแต่กำเนิด
- โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ความผิดปกติหรือการแตกบริเวณส่วนที่มีการเชื่อมต่อระหว่างตัวของกระดูกสันหลังกับแผ่น
- เนื้องอก
- ศัลยกรรมรักษา
การวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
แพทย์อาจให้ทำการเอกซเรย์ด้านหลังหากสงสัยว่ามีอาการของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
คนไข้หลายคนอาจไม่ทราบว่าตนเองมีโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนเนื่องจากอาจไม่มีอาการ ทั้งนี้แพทย์อาจบังเอิญมาตรวจพบทีหลังจากการตรวจอื่น ๆ ได้
แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยโรคด้วยการตรวจร่างกายและซักประวัติคนไข้เรื่องความเจ็บปวดหรืออาการชาที่เกิดขึ้น หากแพทย์สงสัยว่ามีโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน แพทย์จะสั่งให้เอกซเรย์หลังด้วย
การตรวจเอ็กซ์เรย์ให้เห็นภาพมักเพียงพอที่จะระบุได้ว่ามีอาการของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนหรือไม่ การกำหนดระดับความรุนแรงด้วย
ในบางกรณี แพทย์อาจให้คนไข้มีการตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่ายเพิ่มเติมเพื่อค้นหาตำแหน่งที่แน่นอนของกระดูกหักเพื่อช่วยเป็นแนวทางในการรักษาของแต่ละคน
สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมักพบได้จากการซักประวัติเบื้องต้น เช่น อาการเริ่มต้นเมื่อใดและอย่างไร
การรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
ตัวเลือกในการรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ได้แก่ การดูแลด้วยตัวเองที่บ้าน การบำบัดและการผ่าตัดที่อาจทำได้
ผู้ป่วยอาจเริ่มการรักษาที่บ้านได้หลายวิธี รวมถึงการใช้ยาที่หาซื้อได้เองตามท้องตลาดเพื่อบรรเทาอาการปวด
ในกรณีที่มีการใช้งานกระดูกสันหลังมากเกินไปจนทำให้เกิดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ควรหยุดกิจกรรมใด ๆ ที่ทำเกิดอาการปวดและป้องกันไม่ให้ปวดรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินอาจต้องลองลดน้ำหนักซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนได้
แพทย์อาจสั่งยาบรรเทาอาการปวดและยาต้านการอักเสบเพิ่มเติมได้หากจำเป็น นอกจากนี้ ยังอาจสั่งให้ทำกายภาพบำบัดด้วย
กายภาพบำบัดจะช่วยให้สร้างกล้ามเนื้อลำตัวและหลังได้ การบำบัดทางกายภาพอาจรวมถึงการยืดกล้ามเนื้อเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและเพิ่มความยืดหยุ่น
ในกรณีที่รุนแรงมากขึ้นแพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัด การผ่าตัดมักสงวนไว้สำหรับกรณีที่มีความเสียหายของกระดูกสันหลังที่รุนแรง เช่น เคลื่อนที่หรือมีอาการปวดรุนแรง
การผ่าตัดช่วยเอากระดูกที่เกินออกมาหรือทำให้กระดูกสันหลังกลับเข้าในตำแหน่งเดิม หากใช้การผ่าตัด จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อฟื้นตัวจากหัตถการนี้ในภายหลัง
สรุป
บางคนอาจเป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมาตลอดชีวิตโดยไม่รู้ว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ซึ่งอาจตรวจพบได้โดยบังเอิญตอนไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอย่างอื่นหรือเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่น
สำหรับผู้ที่มีแค่อาการปวด ชาหรืออาการอื่น ๆ อาการโดยรวมยังดีอยู่มาก ผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนส่วนใหญ่จัดการกับโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนได้โดยการใช้ยารักษาร่วมกับการบำบัด
ในกรณีที่รุนแรงที่สุด แพทย์อาจให้พิจารณาทางเลือกในการผ่าตัด หลังการผ่าตัดแล้ว ผู้ป่วยอาจต้องใช้เวลาฟื้นตัวหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก่อนที่จะกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/10302-spondylolisthesis#:~:text=Spondylolisthesis%20is%20a%20spinal%20condition,treatment%20can%20relieve%20your%20symptoms.
- https://www.spineuniverse.com/conditions/spondylolisthesis
- https://www.webmd.com/back-pain/guide/pain-management-spondylolisthesis
- https://www.nhs.uk/conditions/spondylolisthesis/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก