อาการแพลง (Sprain) และข้อตึงอาการทั้งสองนี้หมายถึงอาการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่ออ่อนในร่างกายได้แก่เส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยึดกระดูก รวมถึงกล้ามเนื้อที่เกิดอาการตึง อาการเหล่านี้เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นตามปกติและเกิดขึ้นตามส่วนต่างๆของร่างกายแตกต่างกัน โดยปกติเราสามารถรักษาอาการข้อเคล็ดและกล้ามเนื้อตึงได้เองที่บ้าน
แพลงเกิดจากการที่เส้นเอ็นยึดข้อต่อถูกยืดออกและบิดหรือพันกัน ซึ่งเส้นยึดข้อต่อเป็นเนื้อเยื่อเส้นใยที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกเเละกระดูกส่วนอื่นๆหรือกระดูกอ่อน โดยปกติเส้นเอ็นยึดกระดูกมักอยู่ที่บริเวณรอบข้อต่อ และอาการข้อเคล็ดทั่วไปได้แก่ข้อมือพลิก เข่าพลิก ข้อเท้าและหัวแม่มือ
อาการแพลง
โดยปกติอาการแพลงมักเกิดขึ้นรอบข้อต่ออย่างเฉียบพลัน ซึ่งมีอาการตั้งแต่ปานกลางหรือรุนเเรง ขึ้นอยู่กับเนื้อเยื่อของเส้นเอ็นเกิดความเสียหายอย่างไร โดยอาการที่เกิดขึ้นได้แก่
- เจ็บปวด
- บวม
- ฟกช้ำ
- สามารถขยับข้อต่อได้อย่างจำกัด
- ไม่สามารถลงน้ำหนักลงบนข้อต่อที่เกิดอาการเคล็ดหรือใช้ข้อต่อได้ตามปกติ
- รู้มีเสียงดัง “ป๊อป” เมื่อได้รับบาดเจ็บ
สาเหตุของอาการแพลง
สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการแพลงเกิดจากการผลัดตก ข้อพลิกหรือข้อต่อเคยได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาการบาดเจ็บเท่านี้เป็นสาเหตุทำให้ได้สามารถขยับข้อต่อได้ตามปกติเนื่องจากเส้นเอ็นเกิดการฉีกขาดหรือถูกยืดออกมากเกินไป
สถานการณ์ที่สามารถทำให้เกิดข้อเคล็ด แพลงได้แก่
- การเดินหรือวิ่งบนพื้นที่ไม่เท่ากัน
- ข้อพลิกหรือหมุนเฉียบพลัน
- การผลัดตกจากที่สูงหรือหกล้มแล้วใช้ข้อมือหรือมือค้ำยัน
- การเล่นกีฬาที่ต้องใช้ไม้ตี
- บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่เกิดการปะทะ
การรักษาอาการแพลง
เป็นสิ่งสำคัญที่ควรรักษาด้วยวิธีการปฐมพยาบาล RICE สำหรับทั้งอาการข้อเคล็ด ข้อแพลงและกล้ามเนื้อตึงเพื่อลดอาการบวมและบรรเทาแรงกดทับในบริเวณที้เกิดอาการบาดเจ็บ
RICE ย่อมาจาก
- พักผ่อน : เป็นการหยุดออกกำลังกายหรืออยู่ทำกิจกรรมต่างๆที่ต้องใช้ร่างกายและหลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักที่แขนหรือขาที่เกิดอาการบาดเจ็บ
- น้ำแข็ง : ควรประคบน้ำแข็งที่บริเวณที่เกิดอาการบาดเจ็บเป็นเวลา 20 นาทีทุกๆ 2 ถึง 3 ชั่วโมง โดยสามารถใช้ถุงน้ำแข็งที่ใช้แช่ผักได้ ถ้าหากไม่มีถุงน้ำแข็ง
- การประคบ : เพื่อช่วยลดอาการบวม โดยสามารถใช้สายรัดหรือเทป ควรแก้มัดออกถ้าบริเวณที่เกิดข้อเคล็ดเกิดอาการชาหรือเจ็บปวดมากขึ้น
- ยกขึ้น : ควรยกอวัยวะที่เกิดอาการบาดเจ็บอยู่เหนือหน้าอกให้ได้มากที่สุด เท่าที่สามารถทำได้
สามารถหาซื้อยาทานเองจากร้านขายยาได้เช่น ยาพาราเซลตามอล (Tylenol) และยาไอบลูโพรเฟน (Motrin IB หรือ Advil) ยาเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดเเละบวมได้
ควรไปพบเเพทย์เมื่อไหร่
ผู้ที่ควรไปพบเเพทย์คือ ผู้ที่มีอาการข้อเคล็ดหรือกล้ามเนื้อตึงดังต่อไปนี้
- มีอาการเจ็บปวดและบวมที่รุนเเรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
- มีอาการเจ็บปวดและบวมที่ไม่ดีขึ้นเมื่อรักษาเองที่บ้าน
- มีไข้หรือเป็นหวัด
- เดินหรือยืนลำบากโดยไม่มีอาการเจ็บปวด
- สามารถเคลื่อนไหวบริเวณข้อต่อที่เกิดอาการบาดเจ็บได้อย่างจำกัด
- เกิดอาการชาหรือเจ็บแปลบบริเวณข้อที่เคล็ด
- ข้อต่อผิดรูปหรือข้อต่อไม่เท่ากัน
บทสรุป
โดยปกติอาการข้อเคล็ดหรือตึงควรหายไปเองภายใน 2 วันหรือ 1 สัปดาห์ หลังจากอาการปวดข้อเคล็ดหายเเล้ว ควรมั่นใจว่าส่วนอื่นๆของร่างกายแข็งเเรงและสามารถพยุงข้อต่อเพื่อไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในอนาคต
สำหรับอาการข้อเคล็ดที่รุนเเรงจำเป็นต้องใช้เวลารักษาในระยะยาว ในบางกรณีผู้ที่มีอาการข้อเคล็ดสามารถหายเป็นปกติได้ด้วยการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sprains/symptoms-causes/syc-20377938
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sprains/diagnosis-treatment/drc-20377943
- https://www.healthline.com/health/sprain-vs-strain
- https://www.nhs.uk/conditions/sprains-and-strains/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก