เอวเคล็ด (Sprained Lumbar) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เอวเคล็ด (Sprained Lumbar) : อาการ สาเหตุ การรักษา

03.05
9831
0

เอวเคล็ด (Sprained Lumbar) คืออาการปวดหลังบริเวณบั้นเอว  หรือเคล็ดขัดยอก กล้ามเนื้อหลังอาจตึง หรือแข็ง ตําแหน่งการเกิดอาการปวดจะเริ่มตั้งแต่ขอบลางของซี่โครงไปถึงขอบล่างของแก้มก้น แต่ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการรุนแรงจนปวดร้าวลงไปถึงขา

ปัญหาสําคัญของเอวเคล็ดคือความเจ็บปวดที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดําเนินชีวิตได้ตามปกติ ทำให้เกิดปัญหาด้านหน้าที่การงาน หรือปัญหาชีวิตอื่น ๆ ตามมาได้ ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยแนวทางในการรักษาอาการปวด รวมทั้งกำหนดแนวทางการป้องกันอาการปวดหลังบริเวณส่วนล่างเพิ่มเติมกันอยู่

สาเหตุของเอวเคล็ด

เอวเคล็ดโดยมากเป็นผลต่อเนื่องมาจากโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณหลัง ได้แก่:

  • โรคเอ็นและกล้ามเนื้ออักเสบ
  • โรคหมอนรองกระดูกอักเสบ Herniated disc
  • โรคเสื่อมสภาพของข้อต่อ facet
  • โรคไขสันหลังตีบ
  • โรคกระดูกสันหลังโค้งงอ หรือผิดรูป
  • การได้รับอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลัง
  • โรคมะเร็ง อย่างมะเร็งกระดูกสันหลัง Spinal cancer หรือ มะเร็งส่วนอื่นที่ลุกลามไปยังกระดูกสันหลัง
  • โรคกระดูกสันหลังติดเชื้อ Infectious spinal disease หรืออักเสบ
  • อาการอักเสบบริเวณกระดูกที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

นอกจากนี้เอวเคล็ดยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ หรือจากอวัยวะภายในที่ไม่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังได้ด้วย เช่น

  • โรคไต โรคหลอดเลือด โรคระบบทางเดินอาหาร อวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน   เส้นประสาทไขสันหลังทำงานผิดปกติ หรือ ระบบประสาทรอบนอกทำงานผิดปกติ
  • สาเหตุอื่น ๆ เช่นภาวะจิตใจ

การหาสาเหตุที่ชัดเจนจะช่วยให้การวินิจฉัยโรคมีประสิทธิภาพ

อาการของภาวะปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังแบงได้ 2 ลักษณะคือ 

เอวเคล็ดเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย 

เกิดจากความผิดปกติของการทำงานในกระดูกสันหลัง และอาการปวดสามารถทุเลาลงได้เมื่อพักรักษาตัว สาเหตุเกิดความอ่อนแอของกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกเสื่อม หรือข้อต่อหลวม

Sprained lumbar

เอวเคล็ดโดยไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย 

เป็นอาการปวดที่เกิดได้ตลอดเวลา แม้แต่ในขณะที่กำลังนอนพักอาการ มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ หรือโรคมะเร็ง ซึ่งมักทำให้เกิดอาการข้างเคียงเช่นกระดูกยุบตัว ข้อต่อเคลื่อน

อาการปวดหลังช่วงล่างยังสามารถแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดอาการของโรค ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่

อาการปวดหลังช่วงล่างเฉียบพลัน 

คือ อาการปวดหลังที่มีอาการปวดต่อเนื่องอย่างน้อย 6 สัปดาห์

อาการปวดหลังช่วงล่างกึ่งเฉียบพลัน 

คือ อาการปวดหลังที่มีอาการปวดต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 3 เดือน

อาการปวดหลังช่วงล่างเรื้อรัง 

คือ อาการปวดหลังที่มีอาการปวดต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน

การรักษาอาการปวดหลังช่วงล่าง

การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดกรณีที่เกิดอาการปวดหลัง

  • การรักษาภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมงแรก จะใช้ความเย็นช่วยลดอาการบวม อาการกระตุกของกล้ามเนื้อและความเจ็บปวดของโรค ความเย็นจะช่วยลดการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณที่บาดเจ็บ ไม่ควรใช้ความเย็นหรือน้ำแข็งสัมผัสโดยตรงที่ผิวหนัง แต่ควรห่อน้ำแข็งหรือผลิตภัณฑ์ให้ความเย็นด้วยผ้าขนหนู และประคบครั้งละไม่เกิน 15 นาที
  • กรณีที่อาการปวดหลังช่วงล่างมาก หรือรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้พักผ่อนสัก 1 – 2 วัน พร้อม ๆ กับการบำบัดด้วยความเย็น หรือความร้อน และอาจใช้ยารักษาร่วม เช่นยาต้านการอักเสบเพื่อลดอาการบวม ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการกระตุก และยาแก้ปวด (เป็นยาเสพติดประเภทหนึ่ง) เพื่อบรรเทาอาการปวดที่รุนแรงได้ในเวลาอันรวดเร็ว (อาการปวดเฉียบพลัน) อาการปวดมักหายได้ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์
  • อาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลางอาจได้รับการรักษาด้วยยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ใช้บรรเทาอาการบวมและปวด  NSAIDs ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • การรักษาด้วยวิธีไคโรแพรคติก เป็นการรักษาอาการปวดด้วยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูกอย่างเฉพาะเจาะจง และไม่รุนแรง (อาจเรียกว่าการปรับแต่งกระดูกสันหลัง) เป็นวิธีที่ช่วยฟื้นฟูการทำงานของกระดูกสันหลัง
  • เมื่อบำบัดด้วยความร้อนใน 48 ชั่วโมงแรกนั้นห้ามไม่ให้ความร้อนสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง ให้ห่ออุปกรณ์ให้ความร้อนด้วยผ้าขนหนูหนา ๆ แทน  ความร้อนจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และทำให้เนื้อเยื่ออ่อน ๆ ผ่อนคลาย การบำบัดด้วยความร้อนมักใช้ร่วมกับการบำบัดทางกายภาพ ช่วยเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยก่อนทำการยืดกล้ามเนื้อ และเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายก่อนการออกกำลังกาย ซึ่งจะให้ผลดีกว่าการบำบัดด้วยความร้อนเพียงอย่างเดียว
  • การรักษาเอวเคล็ดด้วยการผ่าตัดจะเป็นกรณีสุดท้ายเท่านั้น เพราะการผ่าตัดมัดมีผลข้างเคียงที่เจ็บปวดมากกว่า โดยทั่วไปการรักษาด้วยการผ่าตัดจะใช้เมื่อเกิดการกระแทกบริเวณไขสันหลัง และความผิดปกติของโครงสร้างจากพันธุกรรม 

การป้องกันอาการปวดหลังช่วงล่าง

  • การเคลื่อนไหวร่างกายด้วยท่าทางที่เหมาะสมจะช่วยลดความตึงเครียดบริเวณหลัง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง  เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงก็จะช่วยพยุงกระดูกได้
  • งดการสูบบุหรี่ เพราะนิโคตินจะลดการไหลเวียนของเลือด ที่ใช้ส่งออกซิเจนและไปหล่อเลี้ยงกระดูกสันหลัง
  • การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อภาระของกระดูกสันหลัง
  • วิธียกและเคลื่อนย้ายสิ่งของอย่างปลอดภัย ตามหลักสรีรศาสตร์ อย่างการคาดเข็มขัดนิรภัยก่อนยกของหนัก ๆ การสวมอุปกรณ์ป้องกันระหว่างเล่นกีฬาเป็นต้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *