โรคตากุ้งยิงเกิดจากอะไร
โรคตากุ้งยิง (stye) เกิดจากการอักเสบบริเวณขอบดวงตา ที่มีลักษณะเป็นหนองเล็กๆเป็นตุ่มที่ตา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วตากุ้งยิงเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า เชื้อแบคทีเรียสตาฟีโลคอคคัส (Staphylococcus)
เกร็ดน่ารู้ของโรคตากุ้งยิง
นี่คือสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคตากุ้งยิง ซึ่งรายละเอียดอื่นในเรื่องโรคตากุ้งยิงนั้น จะอธิบายในบทความนี้
- ตากุ้งยิงสามารถหายได้เองโดยที่ไม่ต้องรักษา
- หากตากุ้งยิงมีอาการบวมที่ดวงตาซึ่งส่งผลต่อการมองเห็นนานกว่า 1 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
- ตากุ้งยิงนั้นสามารถเกิดขึ้นภายนอกหรือภายในดวงตาก็ได้
- วิธีรักษาตากุ้งยิงที่บ้านนั้น คือการประคบอุ่นที่ตาและซื้อยาแก้อักเสบมารับประทาน เองที่บ้าน
อาการตากุ้งยิง
คนที่เป็นตากุ้งยิงนั้นจะมีอาการปวดหรือบวมแดงที่รอบดวงตา ซึ่งทำให้มีน้ำตาไหลและตาแดง ซึ่งบางครั้งตากุ้งยิงนั้นก็เป็นตุ่มที่ตาหรือสิวเม็ดเล็กแถวขอบตา
อาการตากุ้งยิงมีดังนี้:
- มีก้อนที่บวมอยู่รอบดวงตา
- เปลือกตาบวม
- อาการปวดตา
- มีอาการตาแดง
- เจ็บที่ตา
- ขอบตาบวม
- รู้สึกแสบไหม้ที่เปลือกตา
- เปลือกตาตก
- อาการคันที่ตา
- การมองเห็นที่พล่ามัว
- มีขี้ตาติดอยู่ในดวงตา
- ตาไม่สู้แสง
- น้ำตาไหล
- รู้สึกถึงแปลกปลอมบริเวณดวงตา
หากมีอาการตากุ้งยิงมากกว่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งมีอาการบวมที่ทำให้เกิดการมองเห็นที่ไม่ชัดเจน มีอาการเจ็บปวดโดยที่มีเลือดออกจนมีผลต่อส่วนอื่นบนใบหน้า หรือมีอาการบวมที่เปลือกตาหรือตาแดงด้วย ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาโดยด่วน
อาการตากุ้งยิงมีอยู่ 2 ประเภทที่พบได้ทั่วไปคือ:
ตากุ้งยิงภายนอก
สาเหตุตากุ้งยิงของการเกิดตากุ้งยิงภายนอกเกิดขึ้นด้านนอกของเปลือกตา ซึ่งอักเสบ มีหนองเหลือง และเมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ ตากุ้งยิงภายนอกมีสาเหตุมาจากอาการอักเสบที่เกิดขึ้นได้ตามส่วนดังต่อไปนี้:
- ต่อมรูขุมขนที่ขนตาอักเสบ: ซึ่งเป็นรูขุมขนเล็กที่ทำให้ขนตางอก และเป็นที่เกิดแผลตากุ้งได้
- ต่อมไขมันอักเสบ(Zeis): ต่อมไขมันติดอยู่กับรูขุมขนและผลิตไขมันออกมา ซึ่งไขมันนี้ช่วยให้ขนตามีความชุ่มชื้นตลอดเวลา
- ต่อมอะโพไครน์อักเสบ(Moll): ต่อมนี้ช่วยป้องกันขนตาไม่ให้แห้ง ซึ่งต่อมเหงื่อที่อยู่รูขุมขนของขนตา
ตากุ้งยิงภายใน
อาการตากุ้งยิงภายในเกิดจากอาการบวมภายในเปลือกตา ซึ่งปกติแล้วจะมีความเจ็บปวดมากกว่าอาการตากุ้งยิงภายนอก สาเหตุตากุ้งยิงภายในดวงตานั้นเกิดจากการติดเชื้อที่ต่อมมัยโบเบียนที่อยู่ภายในเปลือกตา จึงเรียกว่า ตากุ้งยิงภายใน ต่อมมัยโบเบียนนี้มีหน้าที่ผลิตสารคัดหลั่งในดวงตา ซึ่งหล่อเลี้ยงที่ตาให้ชุ่มชื้น
ผู้ป่วยตากุ้งยิงภายในนั้นอาจมีอาการแสบร้อนที่ตา มีสะเก็ดแผลที่เปลือกตา เปลือกตาตก อาการปวดที่ดวงตา รู้สึกสู้แสงไม่ได้ รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา และรู้สึกไม่สบายตาเมื่อกะพริบตาร่วมด้วย
การรักษาตากุ้งยิง
เป็นตากุ้งยิงรักษายังไง
การรักษาตากุ้งยิงตานั้นอาจไม่จำเป็น เพราะส่วนใหญ่แล้ว ตากุ้งยิงนั้นสามารถหายไปได้เองโดยที่ไม่ต้องรักษา ซึ่งทันทีที่มีตากุ้งยิงมีการแตกตัวเกิดขึ้นนั้น อาการก็จะหายไปอย่างรวดเร็ว
อย่าบีบหนองตากุ้งยิงด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้
การประคบอุ่นที่ตานั้น เป็นการรักษาตากุ้งยิงที่ช่วยบรรเทาอาการปวดที่ตาได้ แต่น้ำอุ่นนั้นต้องไม่ร้อนจนเกินไป การรักษาตากุ้งยิงนี้ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะหากต้องใช้วิธีการรักษานี้กับเด็ก
การประคบอุ่นนี้ ควรประคบที่ตาเป็นเวลา 5 ถึง 10 นาที 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน
ไม่เพียงแค่การประคบอุ่นจะช่วยบรรเทาอาการตากุ้งยิงได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้หนองที่ตาไหลออกมา ซึ่งเมื่อหนองไหลออกมาแล้ว อาการตากุ้งยิงที่เกิดขึ้นมานั้น ก็จะหายไปเป็นปลิดทิ้งอย่างรวดเร็ว
การรับประทานยาแก้ปวดนั้นอาจช่วยบรรเทาตากุ้งยิงได้ หากมีอาการตากุ้งยิงที่มีอาการเจ็บปวดเป็นพิเศษ ซึ่งยาแก้ปวดนั้นสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาหรือสามารถสั่งซื้อที่เว็บไซต์ออนไลน์ ซึ่งยารักษาตากุ้งยิงมีดังนี้ เช่น ยาไอบูโพรเฟ่น หรือ ยาอะซีตามีโนเฟ่น
เมื่อเกิดอาการตากุ้งยิงภายนอกมีอาการที่รุนแรงขึ้น แพทย์จะทำการถอนขนตาที่ใกล้เคียงกับแผลตากุ้งยิงออกไป และบีบและใช้เข็มขนาดเล็กจิ้มให้หนองนั้นออกมา ซึ่งวิธีการนี้ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุนั้นเป็นคนทำให้เท่านั้น หากอาการกุ้งยิงยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น จักษุแพทย์
หากอาการตากุ้งยิงยังคงมีอยู่ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ครีมยาปฏิชีวนะหรือยาหยอดตาที่เป็นยารักษาตากุ้งยิงนั้นด้วย และหากเกิดการติดเชื้อแพร่กระจายไปยังเปลือกตา แพทย์แนะนำให้รับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อลดเชื้อที่อยู่ตามเปลือกตา
ซึ่งวิธีการรักษาตากุ้งยิงที่ดีที่สุดนั้นคือ การงดใช้เครื่องสำอางที่ใช้แต่งตา เช่น อายแชโดว์หรือมาสคาร่า งดการใช้โลชั่นทาแถวบริเวณตา หรืองดใส่คอนแทคเลนส์ จนกว่าตากุ้งยิงนั้นจะหายไป
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/best-stye-remedies
- https://www.nhs.uk/conditions/stye/
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sty/symptoms-causes/syc-20378017
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก