เมื่อนิ้วถูกประตูหนีบหรือถูกตีด้วยฆ้อน อิฐหล่นใส่เท้า-เล็บได้รับบาดเจ็บเป็นอาการที่พบเห็นได้ทั่วไปและทำให้เจ็บปวดมาก และเกิดการกดทับของเลือดที่ไหลมาสะสมบริเวณใต้เล็บ เราเรียกว่าห้อเลือด
อาการห้อเลือด (Subungal hematoma) เกิดขึ้นเมื่อเกิดการบาดเจ็บที่ทำให้เส้นเลือดแตกมีเลือดไหลอยู่ภายใต้เล็บ เลือดดังกล่าวมาสะสมใต้เล็บก่อนจะกลายเป็นสีน้ำตาลและสีดำ
การสวมใส่รองเท้าคับแน่นจนเกินไปก็เป็นสาเหตุของการเกิดห้อเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเล่นกีฬาหรือคนที่ทำกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา รองเท้าที่คับหรือแคบเกินไปจะเพิ่มแรงกดทับที่เล็บเท้า ทำให้เส้นเลือดแตกและเลือดไปสะสมอยู่ใต้เล็บเท้า
การวิ่งหรือการเดินลงเนินเขาหรือการเริ่มวิ่งและหยุดกระทันหันอย่างเช่นในขณะเล่นฟุตบอลหรือบาสเกตบอล ก็เป็นสาเหตุของการเกิดห้อเลือดได้ที่เราเรียกกันว่านักวิ่งเล็บดำ
หากเกิดอาการห้อเลือดขึ้นขนาดเล็กและเจ็บไม่มากนัก ตามปกติแล้วสามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องรับการรักษาใดๆที่ซับซ้อนยุ่งยาก
แต่อย่างไรก็ตามหากเกิดการบาดเจ็บที่บริเวณฐานเล็บหรือเกิดการเจ็บที่ไม่สามารถทนไหว ควรไปพบแพทย์
อาการห้อเลือด
ผู้ที่มีอาการห้อเลือดและมีการบาดเจ็บที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้า ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้:
- มีเลือดออกใต้เล็บ
- รู้สึกเจ็บที่เล็บหรือจับแล้วเจ็บ
- รู้สึกเหมือนมีแรงกดที่ใต้เล็บ
- สีเล็บเปลี่ยนไป
คนที่ใส่เล็บปลอมอาจมองไม่เห็นอาการเล็บห้อเลือดที่เกิดขึ้น หากรู้สึกว่าเจ็บเล็บมากและมีแรงกดควรถอดเล็บปลอมออกเสียก่อนแล้วตรวจเช็คดูที่บริเวณฐานเล็บ
อาการห้อเลือดและมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
แม้จะพบได้ไม่บ่อยนักก็ตาม แต่มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาก็อาจเกิดอาการให้เห็นที่เล็บนิ้วมือหรือเล็บนิ้วเท้าได้เช่นกัน มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเป็นมะเร็งผิวหนังที่น่ากลัวชนิดหนึ่ง
เนื้องอกนั้นอาจดูคล้ายห้อเลือดได้ มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเริ่มแรกจะส่งผลให้เกิดจุดดำขึ้นที่ใต้เล็บ แต่กระนั้นก็ตามสิ่งที่เกิดอาจไม่ใช่สาเหตุของอาการปวดและอาจไม่เกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บเสมอไปก็ได้
ควรรีบปรึกษาแพทย์หากพบว่าเล็บมีร่องรอยที่ผิดปกติหรือมีสีที่เปลี่ยนไปโดยไม่ได้รับบาดเจ็บมาก่อน
การรักษาอาการห้อเลือด
อาการห้อเลือดที่มีเพียงเล็กน้อยไม่ใช่ปัญหาที่รุนแรง ก็สามารถดูแลตนเองเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บที่บ้านได้
ผู้ที่มีอาการสามารถหาซื้อยาบรรเทาอาการปวดและอาการบวมได้เองตามร้านขายยาทั่วไป ร่วมกับวิธี RICEที่สามารถช่วยรักษาอาการห้อเลือดที่ไม่รุนแรงได้ดี:
-
R: พักผ่อน ใช้งานนิ้วห้อเลือดจำกัด
-
I น้ำแข็ง: ใช้ประคบเย็นด้วยน้ำแข็งเพื่อลดอาการบวมใและอาการปวด
-
C กดทับ: ใช้วิธีกดให้แน่นด้วยการพันผ้าในบริเวณที่เกิดในทันที เพื่อลดไม่ให้เลือดไปคั่งที่ใต้เล็บ
-
E การยกให้สูง: พยายามยกมือหรือเท้าให้สูงเพื่อลดอาการบวม
สำหรับในรายที่มีการบาดเจ็บที่รุนแรงการรักษาเพียงเท่านี้อาจไม่เพียงพอ อาการบาดเจ็บของเล็บที่สร้างความเสียหายหรือแตกหักของกระดูกใต้เล็บ ควรรีบปรึกษาแพทย์:
-
เกิดอาการเจ็บที่ไม่อาจทนได้
-
เกิดการบาดเจ็บกับเด็กทารกและเด็กเล็ก
-
เลือดไหลไม่หยุด
-
มีรอยบาดและบาดแผลฉีกขาด
-
เกิดความเสียหายใต้เล็บ
-
เล็บเปลี่ยนสีหรือเป็นสีดำโดยไม่มีการบาดเจ็บ
แพทย์อาจมีความจำเป็นต้องเอาเล็บที่มีการบาดเจ็บรุนแรงออกหรือเย็บในกรณีที่มีแผลลึก ในการรักษา
ในบางกรณีอาจไม่มีความจำเป็นต้องเอาเล็บที่ความเสียหายออกทุกครั้ง แต่อาจใช้วิธีปิดทับไว้เพื่อป้องกันฐานเล็บไว้ในระหว่างการรักษา เพื่อให้เล็บที่เสียหายหลุดในวันหลัง
เมื่อบริเวณฐานเล็บที่เสียหายได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้ว เลือดก็จะหยุดไหลและเล็บใหม่ก็จะงอกขึ้นมาใหม่
หากแพทย์สันนิษฐานว่าเกิดมีกระดูกแตกหัก อาจสั่งตรวจด้วยการเอกซเรย์เพิ่มเติมหากเกิดการแตกหักที่ปลายนิ้ว อาจจำเป็นต้องใส่เฝือกแข็งไว้เป็นเวลาหลายสัปดาห์จนกว่าจะหายและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติม
แพทย์อาจต้องรักษาด้วยการเจาะเล็บเพื่อระบายเลือดที่คั่งอยู่ภายในออกมาจากเล็บ และยังช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมได้ด้วย
แพทย์จะเจาะรูเล็กๆบนเล็บด้วยเข็มหรือเลเซอร์ หลังจากนั้นก็จะพันไว้ด้วยผ้าพันแผลซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการระบายมากกว่า 3 วัน
การรักษาด้วยวิธีนี้ไม่ควรทำเองที่บ้านเพราะอาจเกิดการติดเชื้อหรือเกิดการบาดเจ็บที่ฐานเล็บได้
สัญญานที่บ่งบอกว่าเกิดการติดเชื้อคือ:
-
มีของเหลวหรือหนองไหลออกมาจากใต้เล็บ
-
มีการบวมหรือการปวดที่เพิ่มมากขึ้น
-
มีรอยแดงที่ผิว
-
มีไข้สูง
-
รู้สึกร้อนผ่าวๆหรือรู้สึกตุบๆที่นิ้ว
-
รอยแดงรอบรอยแผลขยายวงกว้างมากขึ้น
หากพบว่ามีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์
การเฝ้าติดตามอาการ
อาการห้อเลือดตามปกติแล้วมักหายได้เมื่อเวลาผ่านไปโดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษา เลือดที่คั่งอยู่จะค่อยๆจางหายไปเองในที่สุดและรอยดำนั้นก็จะหายไป
รอยดังกล่าวอาจใช้เวลา2-3เดือนสำหรับเล็บมือและอาจนานกว่า 9 เดือนสำหรับเล็บเท้า
หากฐานเล็บมีการบาดเจ็บที่รุนแรง เล็บอาจผิดรูปหรือเกิดรอยแตกเมื่องอกขึ้นมาใหม่ หรืออาจไม่งอกอีกเลย ซึ่งถือว่าเป็นอาการที่ไม่ปกติ อาจป้องกันด้วยนการไปพบแพทย์เพื่อรักษาหากเกิดอาการบาดเจ็บขึ้น
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/bleeding-under-nail
-
https://www.medicinenet.com/do_you_have_to_drain_a_subungual_hematoma/article.htm
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก