โรคไหลตายในเด็ก (SIDS) คือการเสียชีวิตที่ไม่สามารถอธิบายได้ของทารกที่มีสุขภาพดีในขณะที่กำลังนอนหลับ โดยมากจะมีอายุน้อยกว่า 1 ปี โรคไหลตายในเด็กบางครั้งเรียกว่า crib death เนื่องจากทารกมักจะเสียชีวิตในเปล
แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่พบว่าโรคไหลตายในเด็กมักเกี่ยวข้องกับความบกพร่องของสมองที่ใช้ควบคุมการหายใจ และความตื่นตัวในขณะนอนหลับ
นักวิจัยยังพบปัจจัยที่อาจทำให้ทารกมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น พร้อมระบุมาตรการที่ช่วยปกป้องทารกจากโรคไหลตายในเด็กได้ โดยหลักการสำคัญการวางเด็กให้นอนในท่าหงาย
สาเหตุของโรคไหลตายในเด็ก
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ทางกายภาพ และรูปแบบการนอนหลับรวทกันล้วนส่งผลให้ทารกเกิดความเสี่ยงของโรคไหลตายในเด็กมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้มักแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน
ปัจจัยทางกายภาพ ที่เกี่ยวข้องกับโรคไหลตายในเด็ก ได้แก่ :
- ข้อบกพร่องของสมอง ทารกบางคนอาจมีปัญหาที่ทำให้พวกเขามีแนวโน้มจะเสียชีวิตด้วยโรคไหลตายในเด็กตั้งแต่เกิด สมองส่วนที่ควบคุมการหายใจ และการกระตุ้นให้ตื่นตัวระหว่างนอนหลับของเด็กเหล่านี้ยังไม่มีพัฒนาการที่เพียงพอจะให้สมองทำงานได้อย่างถูกต้อง
- น้ำหนักแรกเกิดต่ำ การคลอดก่อนกำหนด หรือแม่ที่ผ่านการทำคลอดมาหลายครั้ง มักเพิ่มโอกาสที่สมองของทารกที่คลอดออกมาจะยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นทารกจึงไม่สามารถควบคุมกระบวนการอัตโนมัติอย่างการหายใจ และอัตราการเต้นของหัวใจได้เต็มที่
- การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ทารกหลายคนที่เสียชีวิตจากโรคไหลตายในเด็ก เพิ่งหายจากหวัด ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาทางการหายใจ
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของการนอนหลับ สิ่งของในเปลและตำแหน่งการนอนของทารก อาจทำให้เกิดปัญหาทางสรีระร่างกายของทารกที่เกี่ยวข้องกับโรคไหลตายในเด็ก ได้แก่ :
- การนอนคว่ำหน้าหรือตะแคงข้าง ทารกที่นอนในท่าเหล่านี้อาจมีปัญหาในการหายใจมากกว่าทารกที่นอนหงาย
- นอนบนพื้นที่อ่อนนุ่ม การนอนคว่ำหน้าบนผ้านวมนุ่ม ๆ ที่นอนนุ่ม ๆ หรือเตียงน้ำอาจปิดกั้นทางเดินหายใจของทารกได้
- ใช้เตียงนอนร่วมกัน แม้ว่าความเสี่ยงของโรคไหลตายในเด็ก จะลดลงหากทารกนอนในห้องเดียวกับพ่อแม่ แต่ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น หากทารกนอนบนเตียงเดียวกันกับพ่อแม่ พี่น้อง หรือสัตว์เลี้ยง
- อุณหภูมิสูงเกินไป อุณหภูมิที่สูงเกินไปขณะนอนหลับจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายในเด็กได้
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคไหลตายในเด็ก
นักวิจัยสามารถระบุปัจจัยเสี่ยงของทารกต่อโรคไหลตายในเด็ก ได้แก่ :
- เพศ เด็กผู้ชายมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคไหลตายในเด็กมากกว่าเล็กน้อย
- อายุ ทารกที่มีความเสี่ยงต่อโรคไหลตายในเด็กมากที่สุด คือช่วงที่มีอายุระหว่างเดือนที่ 2 และ 4
- สีผิว แม้ว่ายังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด แจ่พบว่าทารกผิวสีมีแนวโน้มเกิดโรคไหลตายในเด็กมากกว่า
- ประวัติครอบครัว ทารกที่มีพี่น้องหรือญาติเสียชีวิตด้วยโรคไหลตายในเด็ก มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคไหลตายในเด็กด้วย
- ได้รับควันบุหรี่ ทารกที่อยู่ร่วมกับผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคไหลตายในเด็ก
- คุณแม่ที่อายุยังน้อย หรือคลอดก่อนกำหนด และเด็กมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย จะส่งผลให้ทารกมีความเสี่ยงต่อโรคไหลตายในเด็ก
ปัจจัยเสี่ยงจากมารดา
ในระหว่างตั้งครรภ์ มารดาสามารถส่งผ่านความเสี่ยงของโรคไหลตายในเด็กให้ทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะเมื่อมารดามีลักษณะดังนี้:
- อายุน้อยกว่า 20 ปี
- สูบบุหรี่
- ใช้ยา หรือแอลกอฮอล์
- การดูแลครรภ์ไม่ดีเพียงพอ
อาการของโรคไหลตายในเด็ก
เด็กทารกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะเสียชีวิตอย่างฉับพลันในขณะที่กำลังนอนหลับอยู่ ก่อนเสียชีวิตเด็กจะไม่มีอาการป่วย หรือความผิดปกติใด ๆ เลย เด็กมักดูมีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการดีตามปกติ และร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน
การป้องกันโรคไหลตายในเด็ก
ไม่มีวิธีใดสามารถที่รับประกันได้ว่าจะป้องกันโรคไหลตายในเด็กได้ แต่อย่างน้อยก็สามารถช่วยให้เด็กทารกนอนหลับได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้:
กลับท่านอน : วางทารกให้นอนหงายแทนการนอนตะแคงคว่ำ หรือตะแคงข้าง ในช่วงปีแรกของชีวิตทารก ท่านอนทั้ง 2 ท่าไม่เกี่ยวข้องกับการตื่น หรือการพลิกในระหว่างการนอนหลับของทารก
อย่าเชื่อที่คนอื่นพูดไว้เกี่ยวกับท่านอน – ให้เชื่อคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญในการดูแลเด็ก ท่านอนที่ถูกต้องยังช่วยให้ทารกอารมณ์ดีอีกด้วย
ใช้เปลที่ขนาดพอดีกับเด็ก : ใช้ที่นอนที่แน่นพอดี หลีกเลี่ยงการวางทารกบนแผ่นรองที่หนาและนุ่มเกินไป เช่นที่นอนขนแกะ หรือผ้านวมที่หนามาก ๆ ห้ามนำหมอน ของเล่นนุ่ม ๆ หรือตุ๊กตาทิ้งเอาไว้ในเปล เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถรบกวนการหายใจของทารก หากใบหน้าของทารกไปกดทับสิ่งของเหล่านี้เอาไว้
สภาพแวดล้อมที่เย็นสบาย : เพื่อให้ลูกน้อยอบอุ่นแต่ไม่ร้อนให้ใช้ถุงนอน หรือชุดนอนที่เหมาะสม โดยไม่ต้องใช้ผ้าคลุมเพิ่มเติม และห้ามคลุมศีรษะของทารกเอาไว้
การนอนเตียงแยก : ให้ทารกนอนในห้องของผู้ปกครอง แต่ให้นอนคนเดียวในเปลเฉพาะของเด็ก หรือที่นอนอื่น ๆ ที่ออกแบบมาสำหรับทารก เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี
การใช้เตียงที่เหมาะสม : เตียงสำหรับผู้ใหญ่นั้นไม่ปลอดภัยสำหรับทารก ทารกอาจติดกับซอกเตียง และหายใจไม่ออกเมื่อตกลงไประหว่างช่องว่างของหัวเตียงกับฟูก หรือช่องว่างระหว่างที่นอนกับผนัง ทารกอาจหายใจไม่ออกได้ รวมทั้งกรณีที่พ่อแม่นอนหลับอยู่เผลอพลิกตัวมาปิดจมูกและปากของทารกเอาไว้
การให้ทารกดื่มนมแม่ : การให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคไหลตายในเด็กได้
ไม่มีอุปกรณ์เบบี้มอนิเตอร์ และอุปกรณ์เกี่ยวกับเด็กอื่น ๆ ที่อ้างว่าสามารถลดความเสี่ยงของโรคไหลตายในเด็ก
จุกสำหรับดูดของเด็ก : การใช้จุกดูดนมที่ไม่มีสายรัด หรือเชือกในขณะนอนหลับ และก่อนนอนสามารถลดความเสี่ยงของโรคไหลตายในเด็กได้ แต่มีข้อแม้คือ – หากกำลังให้นมทารก ให้งดใช้จุกนมจนกว่าทารกจะอายุ 3 ถึง 4 สัปดาห์ และคุณแม่หมดภาวะดูแลร่างกายตามแพทย์แนะนำแล้ว
หากทารกไม่สนใจจุกนม อย่าพยายามฝืนพงกเขา ให้ลองใหม่อีกครั้งในวันอื่น หากจุกนมหลุดออกจากปากทารกในขณะที่กำลังนอนหลับ ไม่จำเป็นต้องนำกลับเข้าไป
สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ทารก : ไม่มีหลักฐานว่าการฉีดวัคซีนเป็นประจำจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคไหลตายในเด็ก แต่มีหลักฐานบางอย่างบ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีนสามารถช่วยป้องกันโรคไหลตายในเด็กได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sudden-infant-death-syndrome/symptoms-causes/syc-20352800#:~:text=Sudden%20infant%20death%20syndrome%20(SIDS)%20is%20the%20unexplained%20death%2C,often%20die%20in%20their%20cribs.
- https://www.childrenshospital.org/conditions-and-treatments/conditions/s/sudden-infant-death-syndrome-sids/symptoms-and-causes
- https://www.nhs.uk/conditions/sudden-infant-death-syndrome-sids/
- https://www.healthline.com/health/sudden-infant-death-syndrome
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก