อาการเหงือกบวม (Swollen gums) เป็นมักสัญญาณเตือนแนวโน้มของการเกิดปัญหาทั่วไปของโรคที่เกิดในช่องปากเช่นโรคเหงือกอักเสบหรือติดเชื้อ โรคฟันผุและโรครากฟันอักเสบ เป็นต้น ดังนั้นการดูแลสุขอนามัยในช่องปากขั้นพื้นฐานจึงสามารถช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้
อาการเหงือกบวมมักก่อให้เกิดปัญหามากมาย โดยส่วนใหญ่เเล้วมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพของช่องปากหรือภาวะโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากปัญหาสุขภาพภายในช่องปาก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเหงือกบวม
สาเหตุ
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหงือกบวมเกิดจากสาเหตุธรรมดาอย่างเช่น เศษอาหารที่ติดอยู่ในซอกฟัน ส่วนใหญ่อาการเหงือกบวมเนื่องจากเศษอาหารติดในซอกฟันนี้จะอยู่ได้ไม่นานและสามารถหายไปได้เองเมื่อคุณแปรงฟันและเอาเศษอาหารออก นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการเหงือกบวมได้ เช่น
โรคเหงือกอักเสบ
โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) เป็นโรคเหงือกในระยะที่ทำให้เกิดอาการบวมและระคายเคืองภายในเหงือก ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยที่สุดที่จะทำให้เกิดอาการเหงือกบวมและควรต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษา
บางครั้งคุณอาจไม่ทราบว่าคุณเป็นโรคเหงือกอักเสบ เพราะคุณเพียงรู้สึกเจ็บปวดที่เหงือกเล็กน้อยจนอาจละเลยมันไปเมื่ออาการเจ็บปวดนั้นหายไป อย่างไรก็ตามการได้รับการรักษาที่ถูกต้องนั้นจึงมีความสำคัญมาก
อาการอื่น ๆ ที่ควรระวังซึ่งเป็นสาเหตุบ่งบอกถึงโรคปริทันต์ ได้แก่
- มีกลิ่นปาก
- มีกลิ่นลมหายใจเหม็นแม้ว่าคุณทำความสะอาดช่องปากอย่างดีแล้วก็ตาม
- อาการเสียวฟัน
- ฟันหลุดหรือสูญเสียฟัน
- เหงือกอักเสบมีสีแดงเจ็บปวด
- ปวดเมื่อเคี้ยวอาหาร
- มีเลือดออกที่เหงือก
การตั้งครรภ์
เหงือกบวมอาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์แม้ว่าพวกเขาจะมีสุขภาพช่องปากที่สมบูรณ์ก็ตาม
การตั้งครรภ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปที่เหงือกอย่างมากทำให้เกิดอาการเหงือกบวมเพิ่มขึ้นได้รวดเร็ว
การติดเชื้อ
การติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายในช่องปากสามารถนำไปสู่อาการเหงือกบวมได้ การติดเชื้อเรื้อรังอย่างเช่นเชื้อเริมสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดอาการเหงือกบวม นอกจากนี้การติดเชื้อราในช่องปากก็สามารถทำให้เกิดอาการเหงือกบวมได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีอาการแทรกซ้อนจากฟันที่ติดเชื้อเช่นฝีที่ทำให้เกิดอาการบวมโดยเฉพาะบริเวณเหงือก
สาเหตุอื่น ๆ
ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ บางอย่างอาจทำให้เกิดอาการเหงือกบวมได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าสามารถพบได้น้อยกว่าปกติแต่สาเหตุดังต่อไปนี้ก็สามารถทำให้เกิดอาการเหงือกบวมได้
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
- การขาดสารอาหาร
- อาการแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดภายในช่องปาก เช่นส่วนผสมในยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก
- การสวมใส่ฟันปลอมที่ไม่เหมาะสม ที่ครอบฟันหรืออุปกรณ์ทันตกรรมอื่น ๆ
การรักษาเหงือกบวม
การรักษาทางการแพทย์สำหรับอาการเหงือกบวมเริ่มต้นด้วยการพบทันตแพทย์ โดยทุกครั้งทันตแพทย์จะตรวจช่องปากและสอบถามอาการอื่น ๆ ของผู้ป่วยและตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ของพวกเขาเพื่อตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริง
การพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากอย่างเป็นประจำ สามารถช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพภายในช่องปากได้ เนื่องจากเป็นการดูแลสุขภาพช่องปากเบื้องต้นเพื่อป้องกันปัญหาเหงือกบวม เหงือกอักเสบหรืออาการเหงือกติดเชื้อ
ประเภทของยาหรือการรักษาที่ทันตแพทย์แนะนำขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอาการเหงือกบวม การรักษาอาการเจ็บปวดที่เกิดภายในช่องปากที่ไม่รุนแรงทันตแพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้สิ่งเหล่านี้ในการรักษา ได้แก่
- น้ำยาบ้วนปาก
- ขี้ผึ้ง
- ยาสีฟัน
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/gums-swollen
- https://www.webmd.com/oral-health/guide/gum-problem-basics-sore-swollen-and-bleeding-gums
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gingivitis/symptoms-causes/syc-20354453
- https://oralucent.com/swollen-gums-causes-symptoms-treatment
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก