เอ็นอักเสบ หรือเส้นเอ็นอักเสบ (Tendinitis) คือ การอักเสบที่มักเกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นถูกใช้งานมากเกินไป หรือร่างกายเกิดการบาดเจ็บ นำไปสู่การอักเสบบริเวณเส้นเอ็น เช่น ขณะออกกำลังกาย ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บเฉียบพลันร่วมกับการอักเสบ
เอ็นอักเสบมักเกิดบริเวณ ข้อศอก ข้อมือ ต้นขา และส่วนต่างๆของร่างกายได้
หากร่างกายเกิดอาการที่ส่วนใด ก็จะถูกเรียกชื่อตามตำแหน่ง หรืออวัยวะนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น เอ็นร้อยหวายอักเสบ รวมไปถึงการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา อาทิ เทนนิส กอล์ฟ และการอักเสบของหัวไหล่
เอ็นอักเสบสามารถเกิดได้เพศและทุกวัย แต่มักพบมากในผู้ใหญ่ที่เล่นกีฬาเยอะ และในผู้สูงอายุ เพราะความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นจะลดน้อยลงตามวัย
การอักเสบของเอ็นแบบเรื้อรัง จะมีลักษณะคล้ายกับการอักเสบแบบเฉียบพลัน เพียงแต่กินระยะเวลายาวนานกว่า และทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของเอ็นตามมา
เอ็นอักเสบคืออะไร
เส้นเอ็น เป็นเนื้อเยื้อที่ทำหน้าที่เชื่อมกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก มีลักษณะยืดหยุ่น เหนียว และเป็นเส้นๆ สามารถทนต่อแรงตึง เส้นเอ็นจะถูกเหยียดออกจากกระดูกหรือกล้ามเนื้อโดยข้อต่อ
เอ็นและกล้ามเนื้อจะทำงานประสานกัน และออกแรงผลัก ถึงแม้ว่าเอ็นและเส้นเอ็นจะมีลักษณะเหนียวและเป็นเส้นๆ แต่ถือว่าเป็นเนื้อเยื้ออ่อน เนื่องด้วยมันมีลักษณะอ่อนกว่าเหมือนเทียบกับกระดูก
ถ้าหากปลอกรอบๆเส้นเอ็นเกิดการอักเสบ ไม่เพียงแต่เส้นเอ็นเท่านั้นที่จะเกิดการอักเสบ แต่เนื้อเยื้อบริเวณโดยรอบเส้นเอ็นจะอักเสบไปด้วย
ประเภทของการอักเสบของเส้นเอ็น
การอักเสบของเอ็นมักแตกต่างกันไปตามบริเวณที่เกิดการอักเสบ
- เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles tendinitis) คือการอักเสบของเอ็นบริเวณส้นเท้า และน่อง มักเกิดจากการเล่นกีฬา รวมไปถึงการสวมใส่รองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า หรือไม่รองรับฝ่าเท้า ซึ่งมีอาการคล้ายผู้ป่วยโรครูมาตอยด์
- เอ็นหัวไหล่อักเสบ (Supraspiantus tendinitis) เกิดจากเอ็นโดยรอบบริเวณส่วนบนของหัวไหล่เกิดการอักเสบ เป็นเหตุให้เกิดอาการปวดเวลาขยับแขน โดยเฉพาะเวลายกแขนขึ้น
- ในเวลากลางคืน ผู้ป่วยบางรายเมื่อวางแขนเฉยๆกลับพบอาการปวดไหล่มาก หากเกิดในลักษณะเดียวกันในบริเวณหัวไหล่ดังกล่าว ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด
- การเจ็บข้อศอก จากกอล์ฟหรือเทนนิส (Tennis or golfer’s elbow) เป็นอาการอักเสบของเส้นเอ็นแขนในบริเวณที่ยึดเกาะปุ่มกระดูกด้านข้างข้อศอก ซึ่งจะแตกต่างกันไประหว่างกีฬาเทนนิสและกอล์ฟ หากปวดด้านข้างข้อศอกและร้าวลงไปที่ข้อมือ มักเกิดกับการเล่นเทนนิส หากปวดส่วนกลางของเอ็นข้อศอกด้านในมักจะเกิดกับการตีกอล์ฟ ซึ่งจะปวดเฉียบพลันหากพยายามที่จะออกแรงยกข้อศอกขึ้น และปวดบ้างเวลาหมุนศอกและข้อมือลง
- ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ (De Quervain’s stenosing tenosynovitis) เป็นการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณโดยรอบนิ้วโป้งและข้อมือ เอ็นบริเวณดังกล่าวจะมีลักษณะหนาและบวมขึ้นมา ทำให้ปวดเวลาขยับนิ้วโป้ง
- โรคนิ้วล๊อค (Trigger finger or thumb) เกิดจากปลอกหุ้มเอ็นบริเวณฝ่ามืออักเสบ ทำให้เส้นเอ็นที่เชื่อมระหว่างนิ้วมือ เคลื่อนตัวยาก หรือทำให้นิ้วมือไม่สามารถงอหรือเหยียดได้
- เอ็นข้อมืออักเสบ (Tendinitis of the wrist) มักเป็นผลมาจากการเล่นแบตมินตัน หรือการทำงานที่ใช้ข้อมือมากๆ ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บและเกิดการเสื่อมสภาพของเอ็นที่ข้อมือ มากกว่าเกิดการอักเสบ
อาการของเส้นเอ็นอักเสบ
มักเกิดกับเส้นเอ็นที่เชื่อมติดกับกระดูก อาการส่วนใหญ่ได้แก่
-
ปวดมากเวลาเคลื่อนไหว
-
มีความรู้สึกเหมือนเอ็นจะฉีกขาดขณะเคลื่อนไหว
-
บวม แดง และร้อน
-
อาการจะเป็นตลอดแนวเส้นเอ็น บริเวณนั้นๆ
หากเกิดการฉีกขาด เส้นเอ็นจะหลุดดออกจากรอบเชื่อมข้อต่อกระดูกหรือกล้ามเนื้อ นำมาสู่การเคลื่อนไหวที่ยากลำบาก
อาการอาจเกิดขึ้น 2-3วัน หรือยาวนานหลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุทั่วไปได้แก่
-
การบาดเจ็บโดยอุบัติเหตุ
-
การเคลื่อนไหวในท่าทางซ้ำๆตลอดเวลา
เอ็นอักเสบ มักเกิดในบุคคลที่มีอาชีพ หรือกิจกรรมที่ต้องเกิดการเคลื่อนไหวแบบเดิมซ้ำๆจนเกิดการบากเจ็บที่เส้นเอ็น
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆได้แก่
-
อายุ : อายุที่มากขึ้นทำให้เส้นเอ็นขาดความยืดหยุ่น
-
อาชีพ : บางอาชีพที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบทซ้ำๆ, ท่าทางที่ต้องยกแขนเหนือศีรษะบ่อยๆ, แรงสั่นสะเทือน และการออกแรงผลักมากๆ ก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงที่จะปวดเกร็งบริเวณดังกล่าว
-
กีฬา : การเล่นกีฬาที่ต้องมีท้วงท่าเดิมๆซ้ำๆ สามารถทำให้เกิดเอ็นอักเสบได้ เช่น วิ่ง, เทนนิส, ว่ายน้ำ, บาสเก็ตบอล, กอล์ฟ, โบว์ลิ่ง และเบสบอล
-
สภาวะสุขภาพ : บุคคลที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและรูมาตอยด์ มักจะมีการกำเริบของเอ็นอักเสบ
หากบุคคลเหล่านี้มีอาการปวดจากเอ็นอักเสบที่แย่ลง ควรรักษาด้วยยา
การวินิจฉัยอาการเส้นเอ็นอักเสบ
แพทย์จะซักประวัติถึงอาการและตรวจร่างกาย ด้วยการทดสอบการเคลื่อนไหวบริเวณเอ็นที่มีปัญหา
หากมีอาการบวม จำเพาะบริเวณเส้นเอ็นเพียงจุดเดียว ก็สรุปได้ว่าเป็นเอ็นอักเสบ
หากอาการปวดไม่หายไป ภายหลังได้พักใช้งานข้อ, ประคบเย็น และทายาลดปวดแล้ว แพทย์อาจต้องทำการส่งตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น X-ray ดูว่ามีผลึกแคลเซียมมาเกาะเส้นเอ็นหรือไม่ เพื่อช่วยในการวินิจฉัย หรือการตรวจอัลตราซาวน์ หรือ MRI เพื่อดูการบวมรอบปลอกหุ้มเอ็น
การรักษาเส้นเอ็นอักเสบ
เป้าหมายของการรักษาคือ การบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติม เช่น
-
พักการใช้ข้อ : การพักการใช้งาน ทำให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูการอักเสบได้โดยธรรมชาติ หากไม่พักการใช้งานอาจนำมาสู่ภาวะแทรกซ้อนได้
-
ประคบอุ่นและเย็น : การใช้เจลเย็น หรือผ้าอุ่นๆ ช่วยให้ลดปวดและบวมลงได้ในบริเวณที่เป็น โดยทำการประคบ 10-15นาที หรือ 1-21ครั้งต่อวัน ซึ่งการประคบเย็นจะได้ผลในการลดปวดลดบวมดีที่สุดหากประคบทันทีหลังมีอาการ และภายหลัง 48ชม. การประคบอุ่นจะได้ผลในการลดปวดบวมที่ดีกว่า ทั้งนี้ต้องระวังไม่ประคบเจลเย็นโดยตรงกับผิวหนัง ควรมีผ้ามารองก่อนสัมผัสผิวหนัง เพื่อป้องกันบาดเจ็บต่อผิวหนังจากความเย็น รวมไปถึงไม่ประคบผ้าที่ร้อนจนเกินไป อาจเกิดผิวหนังพุพองได้
-
การลดปวด
-
ibuprofen หรือยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอย ซึ่งสามารถซื้อจากร้านขายยา สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดจากเอ็นอักเสบได้
-
การฉีดสเตียรอย แม้จะเป็นการลดปวดที่เห็นผลเร็ว แต่การฉีดยาเข้าไปในบริเวณเส้นเอ็นยิ่งทำให้เอ็นอ่อนแอลง เสี่ยงเกิดการฉีกขาดได้
-
การกายภาพบำบัด : ก็สามารถช่วยในเรื่องของการลดปวดและเสริมสร้างเอ็นให้แข็งแรงได้
-
การออกกำลังการยืดเหยียด : นักกายภาพบำบัดมักจะแนะนำการออกกำลังกายที่จำเพาะสำหรับเสริมสร้างเอ็นและกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยท่ากายบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อต่างๆ
-
การใช้คลื่นกระแทกหรือการผ่าตัด : ในกรณีที่เอ็นอักเสบสาเหตุจากมีผลึกแคลเซียมมาเกาะ การใช้คลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Therapy :ESWT) จะสามารถส่งแรงสั่นสะเทือนจากผิวหนังลงไปสู่เอ็นกระแทกให้ผลึกแคลเซียมแตกออกและนำแคลเซียมที่แตกออกด้วยการผ่าตัด
-
-
การดามหรือเข้าเฝือกบริเวณข้อ : เพื่อให้ข้อได้พัก ในบางรายที่มีการปวดรุนแรงอาจจำเป็น
การป้องกันเส้นเอ็นอักเสบ
การเกิดเอ็นอักเสบจะเกิดได้น้อยลงหากเราปฏิบัติตาม ดังต่อไปนี้
-
ออกกำลังกาย : กิจกรรมที่ถูกออกแบบให้เกิดการหยืดเหยีบดของกล้ามเนื้อรอบๆเอ็น จะช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำของเอ็นอักเสบได้ อาจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ เช่นนักกายภาพบำบัด มาช่วยสอน
-
การอบอุ่นร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกาย : ในการออกกำลังกายสิ่งที่จะช่วยให้ร่างกายลงความเสี่ยงจากอาการบาดเจ็บนั้นคือการหยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือเรียกว่าการอบอุ่นร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกาย
-
การเคลื่อนไหวในอิริยาบทเดิมๆ : การเคลื่อนไหวในท่าทางเดิมซ้ำๆ อาจเป็นความเสี่ยงที่สามารถทำให้เกิดเอ็นอักเสบที่แย่ลง และกลับเป็นซ้ำ ฉะนั้นควรเลี่ยงการเคลื่อนไหวอิริยาบทเดิมซ้ำๆ พักการใช้งานบ้าง จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้ การอยู่ในท่าทางเดียวเป็นเวลานานทำให้เกิดความไม่สุขสบาย ควรให้ร่างกายได้เปลี่ยนอิริยาบทบ้าง และค่อยกลับมาทำต่อภายหลังก็เป็นแนวคิดที่ดี หากเป็นอาชีพที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ควรปรึกษานายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเอ็นอักเสบดังกล่าว
ข้อควรรู้เกี่ยวกับเส้นเอ็นอักเสบ
-
เอ็นอักเสบมักพบบ่อยเมื่อร่างกายใช้งานเส้นเอ็นมากจนเกินไป หรือเอ็นเกิดการบาดเจ็บจากแรงตึงที่กระทำต่อเส้นเอ็น
-
บริเวณที่มักพบเอ็นอักเสบบ่อยครั้ง ได้แก่ เอ็นร้อยหวายอักเสบ, เอ็นข้อศอกอักเสบจากการเล่นเทนนิส และเอ็นเข่าอักเสบจากการทำงานบ้าน
-
การรักษาหลักๆคือ การพักการใช้งานบริเวณที่เกิดการอักเสบ ประคบเย็น และอุ่น และการทายาลดปวด
-
หากไม่ได้รับการรักษา เส้นเอ็นอาจเกิดการฉีกขาด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดต่อไปได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก