โรคบาดทะยัก (Tetanus) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคบาดทะยัก (Tetanus) : อาการ สาเหตุ การรักษา

10.09
1974
0

โรคบาดทะยัก (Tetanus) คือการติดเชื้ออย่างรุนเเรงจากเชื้อ  Clostridium tetani. เชื้อนี้เป็นแบคทีเรียที่สร้างสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาททำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ถ้าสปอร์ของเชื้อ Clostridium tetani สะสมอยู่ในบาดเเผลสารพิษที่อยู่ในระบบประสาทจะรบกวนระบบประสาทส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ 

หากเกิดการติดเชื้อจะมำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อชักกระตุกอย่างรุนแรง หายใจได้ลำบากและทำให้เสียชีวิตได้ แม้ว่าจะมีการรักษาโรคบาดทะยักอยู่แต่ยังไม่ได้ผลเท่าใดนัก วิธีป้องกันโรคบาดทะยักที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน

โรคบาดทะยัก (Tetanus)

โรคบาดทะยักคืออะไร

โรคบาดทะยักคืออาการติดเชื้อจากแบคทรีเรียอย่างรุนเเรง

แบคทรีเรียมีอยู่ในดิน ปุ๋ยและสารอื่นๆในสิ่งเเวดล้อม ผู้ที่มีประสบการณ์โดนวัตถุเล็กที่มีสารพิษบาดเป็นเเผลเล็กๆ อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่ส่งผลต่อร่างกายทั่วหมดได้และทำให้เสียชีวิตได้

โรคบาดทะยักเป็นโรคฉุกเฉินทางการแพทย์จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาบาดเเผลอย่างรวดเร็วและได้รับยาปฏิชีวนะ

สาเหตุของโรคบาดทะยัก

โรคบาดทะยักเกิดจากการติดเชื้อแบคทรีเรียที่ชื่อว่า  Clostridium tetani

สปอร์ของเชื้อแบคทรีเรีย Clostridium tetani สามารถอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลานาน โดยส่วนใหญ่เชื้อแบคทรีเรียชนิดนี้พบได้ในปุ๋ยมูลสัตว์และดินที่มาสารปนเปื้อนแต่ไม่ได้มีอยู่สิ่งแวดล้อมทั่วไป 

เมื่อเชื้อแบคทรีเรีย Clostridium tetani เข้าสู่ร่างกายเชื้อแบคทรีเรียชนิดนี้จะเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและปล่อยสารพิษที่ชื่อว่า tetanospasmin ซึ่งเป็นสารพิษที่ส่งผลต่อระบบประสาท  เมื่อเชื้อ tetanospasmin เข้าสู่กระเเสเลือดจะทำให้เชื้อกระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้เร็วขึ้นจึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคบาดทะยัก เชื้อบาดทะยัก tetanospasmin จะเข้าไปขัดขวางระบบประสาทที่ส่งจากสมองไปยังระบบประสาทส่วนไขสันหลังและจากนั้นเชื้อจะเข้าสู่กล้ามเนื้อทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อชักกระตุกหรือกล้ามเนื้ออ่อนเเรง

โดยส่วนใหญ่เชื้อ Clostridium tetani สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังและบาดแผล การทำความสะอาดบาดเเผลและการตัดเนื้อเยื่อที่ตายเเล้วออกเป็นการช่วยป้องกันการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นได้

วิธีที่ทำให้ติดเชื้อโรคบาดทะยักได้ง่ายโดยทั่วไปได้แก่

  • บาดแผลที่เกิดจากการติดเชื้อจากน้ำลายหรือมูลสัตว์
  • บาดแผลผุพอง
  • บาดแผลที่เกิดจากการถูกกดหรือทับ
  • บาดแผลที่เซลล์ของเนื้อเยื่อตาย
  • บาดแผลที่เกิดจากการแทงด้วยของมีคม

วิธีที่ทำให้ติดเชื้อโรคบาดทะยักได้ยากได้แก่

  • การผ่าตัดทางการแพทย์
  • แผลที่ผิวหนังชั้นตื้น
  • แผลจากแมลงกัดต่อย
  • กระดูกหักแบบแผลเปิด
  • การใช้ยาที่ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • การติดเชื้อในกล้ามเนื้อ
  • การติดเชื้อทางทันตกรรม

อาการของโรคบาดทะยัก

โดยปกติอาการโรคบาดทะยักมักเกิดขึ้นช่วง 7 ถึง 10 วันหลังจากเริ่มติดเชื้อ อย่างไรก็ตามมีบางกรณีที่ใช้เวลาจาก 4 วันถึง 3 อาทิตย์และบางกรณีอาจมีระยะเวลานานหลายเดือน

โดยปกติทั่วไปบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บเกิดจากระบบประสาทส่วนกลางซึ่งเป็นระยะฟักตัวที่นานที่สุด ส่วนผู้ป่วยที่มีระยะฟักตัวของเชื้อระยะสั้นมีแนวโน้มที่จะมีอาการเจ็บปวดที่รุนเเรง

อาการที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อได้แก่อาการชักกระตุกของกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้ออ่อนล้า อาการกล้ามเนื้ออ่อนล้าเริ่มต้นขึ้นที่กล้ามเนื้อที่ใช้เคี้ยวอาหารจึงเป็นที่มาของชื่อโรคขากรรไกรแข็ง

อาการกล้ามเนื้อชักกระตุกอาจเเพร่กระจายไปยังคอและลำคอทำให้เกิดอาการกลืนลำบากนอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีอาการของกล้ามเนื้อบีบเกร็งที่ใบหน้าของพวกเขาอีกด้วย

อาการหายใจลำบากเป็นผลมาจากการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อคอเเละหน้าอกในผู้ป่วยบางรายอาจติดเชื้อที่กล้ามเนื้อหน้าท้องเเละกล้ามเนื้อแขนขา 

ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนเเรงอาจมีอาการปวดที่กระดูกสันหลังเนื่องจากกล้ามเนื้อหลังเกิดการติดเชื้อ ซึ่งอาการนี้มักเกิดขึ้นกับเด็กที่ติดเชื้อบาดทะยัก

อาการของผู้ที่ติดเชื้อบาดทะยักส่วนใหญ่มีอาการดังต่อไปนี้

การรักษาบาดทะยัก

การตัดเเผลที่ติดเชื้อบาดทะยักออกเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการผ่าตัดต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ลักษณะของบาดเเผลที่เกิดการติดเชื้อบาดทะยักมีดังต่อไปนี้

  • แผลที่มีอาการไหม้ที่ควรผ่าตัดหลังจากเกิดแผลเป็นเวลา 6 ชั่วโมง 
  • บาดแผลพุผองที่มีเนื้อเยื่อถูกทำลาย
  • บาดแผลที่ได้รับการบาดเจ็บทุกชนิดที่มีการสัมผัสกับดินและปุ๋ยธรรมชาติ
  • รอยแตกร้าวของกระดูกที่กระดูกสัมผัสกับการติดเชื้อเช่นกระดูกหักแบบแผลเปิด
  • บาดแผลหรือรอยเเผลไหม้ในผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อจากสารพิษ

ผู้ป่วยที่มีลักษณะของแผลตามที่ได้กล่าวมาควรได้รับภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยัก (TIG) เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แม้ว่าพวกเขาจะได้รับการฉีดวัคซีนมาเเล้วก็ตาม

ภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยัก (TIG) ประกอบด้วยสารแอนติบอดี้ที่ทำหน้าฆ่าเชื้อ Clostridium tetani. โดยการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำและเป็นการป้องกันเชื้อบาดทะยักในระยะสั้น 

การใช้ภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยัก (TIG) เป็นเพียงการรักษาในระยะสั้นและไม่สามารถใช้ทดแทนการฉีดวัคซีนบาดทะยักเป็นการป้องกันโรคบาดทะยักในระยะยาวได้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยัก (TIG) นี้ปลอดภัยต่อผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร

แพทย์จะจัดยาปฏิชีวนะเพลิซิลีน (penicillin) หรือยาปฏิชีวนะเมโทรนิดาซอล ( metronidazole) เพื่อรักษาโรคบาดทะยัก โดยยาปฏิชีวนะทั้งสองประเภทนี้จะป้องกันไม่ให้แบคทรีเรียเติบโตและผลิตสารที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาทที่เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อชักกระตุกและกล้ามเนื้ออ่อนเเรง

ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ยาปฏิชีวนะเพลิซิลีน (penicillin) หรือยาปฏิชีวนะเมโทรนิดาซอล ( metronidazole) อาจจะต้องใช้ยาเตรตาไซลีน ( tetracycline)แทน

การรักษาอาการชักกระตุกในกล้ามเนื้อและภาวะกล้ามเนื้ออ่อนเเรงผู้ป่วยจะได้รับยาดังต่อไปนี้

  • ยากลุ่ม Anticonvulsants เป็นยาป้องกันอาการชักได้แก่ ยา diazepam (Valium) ที่ช่วยป้องกันอาการกล้ามเนื้อชักกระตุก ทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายจากความวิตกกังวลซึ่งเป็นการออกฤทธิ์ระงับประสาท
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น ยา baclofen ที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนหน้าของสมองเเละประสาทในไขสันหลังทำให้เกิดอาการตึงในกล้ามเนื้อน้อยลง 
  • ยาระงับอาการติดเชื้อในระบบประสาทเเละกล้ามเนื้อเป็นยาที่เข้าไปยับยั้งการติดเชื้อในเส้นใยกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันอาการชักกระตุกในกล้ามเนื้อ ยาเหล่านี้ได้แก่ยาคลายกล้ามเนื้อ pancuronium และ ยา vecuronium 

การผ่าตัด

หากแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยว่าแผลที่เป็นโรคบาดทะยักมีขนาดใหญ่มากอาจจะต้องผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่เป็นแผลติดเชื้อออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และตัดกล้ามเนื้อที่ติดเชื้อบางส่วนออก

การตัดเล็มเนื้อตายของบาดแผลออก (Debridement) เป็นการตัดเนื้อเยื่อที่ตายเเล้วออกหรือตัดเนื้อที่มีสารพิษออก ในกรณีที่เกิดบาดแผลบาดทะยักรุนแรงซึ่งบาดแผลอาจติดเชื้อจากความสกปรกต่างๆ

โภชนาการอาหาร

ผู้ป่วยที่เป็นโรคบาดทะยักจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีแคลอรี่สูงเพื่อช่วยเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ

การใช้เครื่องช่วยหายใจ

ผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยทำให้หายใจได้สะดวกมายิ่งขึ้น เครื่องช่วยหายใจใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการติดเชื้อที่กล่องเสียงหรือกล้ามเนื้อของระบบหายใจ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *