ภาวะลิ้นติด (Tongue-tie) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะลิ้นติด (Tongue-tie) : อาการ สาเหตุ การรักษา

23.05
3133
0

ภาวะลิ้นติดหรือ (Tongue-tie) คืออาการที่แถบผิวหนังที่เชื่อมระหว่างลิ้นกับปากด้านล่างสั้นผิดปกติ

ภาวะลิ้นติดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด และภาวะนี้อาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป ทารกบางคนที่เกิดมาพร้อมกับภาวะลิ้นติดอาจไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ  แต่เด็กคนอื่นอาจเกิดปัญหาการเคลื่อนไหวของลิ้นที่ จำกัด

ภาวะลิ้นติดคืออะไร

แถบผิวหนังที่เชื่อมต่อลิ้นกับด้านล่างของปากเรียกว่า (Frenulum) ภาวะลิ้นติดเกิดขึ้นเมื่อ frenulum สั้นเกินไป

ภาวะลิ้นติดแบบอ่อนเกิดเมื่อลิ้นถูกเชื่อมติดกับด้านล่างของปากด้วยเนื้อเยื่อบาง ๆ ที่เรียกว่าเยื่อเมือก ในกรณีที่รุนแรงลิ้นอาจหลอมรวมกับปากด้านล่างได้

การวินิจฉัยอาการของภาวะลิ้นติดมักพบเมื่อตรวจร่างกายทารกหลังคลอดตามปกติ แต่อาจเป็นเรื่องยากที่จะสังเกตเห็น แต่จะชัดเจนขึ้นเมื่อทารกเริ่มกินนมแม่

การให้นมลูกกับภาวะลิ้นติด

ทารกจำเป็นต้องงับบริเวณหัวนมของแม่เพื่อดื่มนม  ลิ้นของลูกจะต้องหุ้มเหงือกส่วนล่างเอาไว้เพื่อยึดหัวนม

ภาวะลิ้นติดอาจทำให้เกิดปัญหาในการดูดนมเนื่องจากทารกอาจดูดนมได้ไม่ดี หัวนมของคุณแม่อาจแห้งและแตกได้เช่นกัน

ทารกอาจมีความลำบากในการดูดนม และการอ้าปากแต่ละครั้งจะทำได้ยาก

ปัญหาอื่น ๆ ที่ตามมาเมื่อทารกมีภาวะลิ้นติด ได้แก่ :

  • ความยากลำบากในการยึดติด หรือติดยึดตลอดเวลาที่ดูดนม
  • ดูดนมแต่ละครั้งจะใช้เวลานาน และพักเพียงสั้น ๆ ก่อนดูดนมอีกครั้ง
  • เด็กดูหิวตลอดเวลา
  • น้ำหนักไม่ขึ้นตามมาตรฐานที่กำหนด
  • เกิดเสียงคลิก ๆ เวลาที่ดูดนม
  • กัดหรือบดฟัน
  • อาเจียนทันทีหลังอาหาร

นอกจากอาการเจ็บ และหัวนมแตกของแม่แล้ว ปริมาณน้ำนมก็อาจจะน้อย และเกิดอาการเต้านมอักเสบ หรือโรคเต้านมอักเสบได้

สิ่งสำคัญคือปัญหาในการให้นมอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งไม่ใช่ภาวะลิ้นติดเพียงอย่างเดียว หากคุณแม่พบปัญหาในการให้นมลูก ควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์ทันที

สาเหตุของภาวะลิ้นติด

ตามปกติเนื้อเยื่อใต้ลิ้นจะมีลักษณะหนา สั้น และยึดติดกับใต้ลิ้นแน่น จะแยกตัวออกจากบริเวณใต้ลิ้น และด้านล่างของปากมาตั้งแต่เกิด แต่หากเนื้อเยื่อดังกล่าวยังคงยึดเกาะติดกันอยู่จะทำให้เกิดภาวะลิ้นติดได้ อย่างไรก็ตาม แพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด ภาวะลิ้นติด แต่ผู้ป่วยบางคนอาจเผชิญภาวะนี้เนื่องจากปัญหาทางพันธุกรรม

Tongue-tie

อาการของภาวะลิ้นติด

ทารกแรกเกิดประมาณ 4 ถึง 11% มักมีอาการของภาวะลิ้นติด และเกิดในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง แต่ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้มีอาการที่จะมีประสิทธิภาพการทำงานของลิ้นลดลง หรือเกิดปัญหาในดูดนม

เมื่อลิ้นติดกับด้านล่างของปากใกล้กับส่วนปลายลิ้นอาจมีลักษณะแข็ง งอหรือเป็นรูปหัวใจ

อย่างไรก็ตามการผูกลิ้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสังเกตเห็น และลิ้นสามารถเชื่อมติดกับด้านล่างของปากได้ทุกส่วนของปากด้านล่าง

ทารกที่เกิดภาวะลิ้นติดอาจไม่สามารถแลบลิ้นออกมาเกินริมฝีปากล่างได้ และไม่สามารถขยับลิ้นไปด้านข้าง หรือขึ้นลงได้เช่นกัน

ภาวะลิ้นติดอาจทำให้เกิดปัญหาในการพูดเมื่อทารกเริ่มพูด การออกเสียงตัวอักษรที่ต้องยกระดับของลิ้นเช่น “t”,  “n” หรือ “d” จะทำได้ยาก

การระบุและวินิจฉัยภาวะลิ้นติดต้องทำโดยแพทย์ ด้วยการตรวจร่างกาย และดูประวัติการรักษาโรคของมารดาและทารก และเมื่อพบปัญหาในการให้นม

การรักษาภาวะลิ้นติด

การรักษาภาวะลิ้นติดจำเป็นเมื่ออาการของโรคทำให้ทารกมีปัญหาในดื่มนม

การรักษาที่สามารถทำได้ง่ายที่สุดคือการตัดเนื่อเยื่อ frenulum  บางครั้งเรียกว่าวิธีการแบ่งลิ้น หรือ (Frenulotomy)

แพทย์จะตัดส่วนของผิวหนังที่เชื่อมระหว่างใต้ลิ้นกับด้านล่างของปากอย่างรวดเร็ว เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด  ทารกอาจไม่ต้องรับการบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากการผ่าตัด

ขั้นตอนนี้จะทำให้ลิ้นเป็นอิสระ และช่วยให้ลิ้นเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระมากขึ้น คุณแม่อาจได้รับคำแนะนำให้กระตุ้นทารกด้วยการให้กินนมแม่ทันทีหลังการรักษา เพราะจะช่วยให้ทารกสงบลงได้

อาจมีเลือดออกเล็กน้อยหลังการผ่าตัด แต่ในบางกรณีก็อาจมีเลือดออกมามากได้เช่นกัน

การรักษาในกรณีของเด็กโต

หากทารกอายุเกิน 6 เดือนขั้นตอนการรักษาจะต้องใช้ยาชาช่วย อาจใช้เวลาถึง 10 วันในการรักษาลิ้นให้หายหลังการผ่าตัด และทารกอาจรู้สึกไม่สบายได้

อาจเกิดฝ้าสีขาวที่บริเวณใต้ลิ้น แต่มักหายได้เองภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด

ตัวเลือกการรักษาอื่น ๆ ได้แก่ :

  • การผ่าตัดด้วยเลเซอร์: สามารถดำเนินการได้ภายใน 2 ถึง 3 นาที และหายภายใน 2 ชั่วโมง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาชา
  • การจี้ด้วยไฟฟ้า: เหมาะสำหรับกรณีภาวะลิ้นติดเพียงเล็กน้อย และสามารถทำได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่

การรักษาภาวะลิ้นติดในเด็กโตและผู้ใหญ่

ภาวะลิ้นติดที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหากับเด็กและผู้ใหญ่ได้ เนื่องจากความตึงที่เกิดเมื่อปากพัฒนาขึ้น อย่างไรก็ตามทารกที่ไม่มีปัญหาในการให้นม ภาวะลิ้นติดก็อาจไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ เมื่ออายุมากขึ้น

หากลิ้นมีการเคลื่อนไหวได้จำกัด อาจทำให้เกิดปัญหาในการพูด และปัญหาเมื่อกินอาหารบางประเภทได้

การรักษาอาการในเด็กโตและผู้ใหญ่ต้องใช้ยาชา และเย็บแผลหลังการรักษา และอาจต้องเข้ารับการบำบัดฝึกพูดด้วยหลังการผ่าตัด

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *