วัณโรค Tuberculosis (TB) : อาการ สาเหตุ การรักษา

วัณโรค Tuberculosis (TB) : อาการ สาเหตุ การรักษา

21.08
5745
0

วัณโรค Tuberculosis คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ที่มีผลกระทบต่อปอดโดยตรง แต่ว่าเชื้อนี้แพร่กระจายได้ ผ่านละอองในอากาศ วัณโรคนั้นสามารถรักษาและป้องกันได้ แต่ในบางกรณีก็ส่งผลอันตรายถึงชีวิต

ในอดีตวัณโรคเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้มากในทั่วโลก หลังจากการปรับปรุงเรื่องสุขอนามัยของมนุษย์และการพัฒนาของยาปฏิชีวนะทำให้อัตราการเสียชีวิตด้วยวัณโรคลดลง

อย่างไรก็ตามในปี 1980 จำนวนผู้เสียชีวิตจากวัณโรคเพิ่มขึ้นอีกครั้ง องค์การอนามัยโลก (WHO) อธิบายว่า “ วัณโรคเป็นโรคระบาด และเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิต 10 อันดับแรกของโลก รวมถึงสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้จากการติดเชื้อเพียงครั้งเดียว”

องค์การอนามัยโลกประเมินว่าในปี 2019 ประชากรราวๆ 10 ล้านคนทั่วโลกนั้นจะติดเชื้อวัณโรคเพิ่ม และ 1.5 ล้านคนเสียชีวิตจากโรคนี้

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีภาระวัณโรค วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง จากการคาดประมาณขององค์การอนามัยโลก ปี 2559 ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับมาเป็นซ้ำ 119,000 ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี 10,000 ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา RR/MDR-TB 4,700 ราย สำนักวัณโรครายงานผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทยปี 2559 พบว่ามีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค (ผู้ป่วยรายใหม่และกลับเป็นซ้ำ) 70,114 ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี 6,794 ราย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 11 ของผู้ที่ได้รับการตรวจเชื้อเอชไอวี วัณโรคดื้อยาหลายขนาน 955 ราย และวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก 13 ราย โดยมีผลสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำร้อยละ 82.9

ปัจจุบันการดื้อยาปฏิชีวนะ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเกิดความกังวลเรื่องวัณโรค เนื่องจากบางเชื้อโรคไม่ตอบสนองต่อการรักษา ทำให้การรักษาวัณโรคทำได้ยากขึ้น

วัณโรคเกิดจากการที่หายใจแล้วนำแบคทีเรียเข้าไปในร่างกาย แบคทีเรียนั้นคือ Mycobacterium tuberculosis (M. tuberculosis)

วัณโรคนั้นถือเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง เนื่องจากสามารถติดวัณโรคได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่มีเชื้อวัณโรค

การติดเชื้อวัณโรค (TB แฝง) นั้นคือผู้ป่วยมีเชื้อแบคทีเรีย TB ในร่างกายและไม่ปรากฏอาการใดๆ ซึ่งในกรณีนี้คนจะติดเชื้อวัณโรค แต่ไม่เป็นไม่มีอาการป่วยจากวัณโรค

อาการวัณโรค

ผู้ป่วยวัณโรคที่แฝงตัว จะไม่มีอาการของวัณโรคและไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ แต่จะพบร่องรอยของโรคปรากฏบนเอ็กซ์เรย์ทรวงอก อย่างไรก็ตามการตรวจเลือด หรือการทดสอบผิวหนังจะสามารถวินิจฉัยได้ว่ามีการติดเชื้อวัณโรค

ผู้ป่วยวัณโรค คือ ผู้ที่เป็นโรควัณโรคและมีอาการไอที่ก่อให้เกิดเสมหะ อ่อนเพลีย มีไข้ หนาวสั่น เบื่ออาหารและน้ำหนักลด อาการจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่อาการวัณโรคนั้นสามารถหายไปเอง และสามารถกลับมาได้

วัณโรค Tuberculosis

อาการวัณโรคที่เกิดกับปอด

อาการวัณโรคปอดสามารถทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้:

  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • ปวดท้อง
  • ปวดข้อหรือกระดูก
  • ความสับสนทางอารมณ์
  • ปวดศีรษะ
  • ชัก

สาเหตุของวัณโรค

Tuberculosis เป็นสาเหตุของวัณโรค สามารถแพร่กระจายไปในอากาศเป็นละอองเมื่อ เกิดจากผู้ป่วยจาม ไอ หัวเราะหรือพูดคุย

ผู้ป่วยวัณโรคสามารถแพร่เชื้อได้ อย่างไรก็ตามคนที่เป็นโรคส่วนใหญ่หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะไม่สามารถแพร่เชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดวัณโรคไปสู่ผู้อื่นได้อีกต่อไป

วินิจฉัยวัณโรค

ผู้ป่วยวัณโรคแฝงแม้ไม่ได้แสดงอาการใดๆ แต่ก็เป็นผู้ที่ติดเชื้อ TB สามารถทำการตรวจสอบเพื่อวินิจฉัยได้ คุณควรเข้ารับการวินิจฉัยหากเข้าข่ายดังนี้:

  • ใช้เวลากับบุคคลที่เป็นผู้ป่วยหรือมีความเสี่ยงต่อวัณโรค
  • อาศัยในบริเวณที่มีอัตราผู้ป่วยวัณโรคสูง
  • ทำงานในสภาพแวดล้อมที่อาจมีเชื้อวัณโรค

แพทย์จะทำการซักถามมเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วย รวมถึงประวัติการรักษา จากนั้นจะทำการตรวจสอบร่างกายเบื้องต้นได้แก่การฟังเสียงปอดและตรวจสอบการอักเสบของต่อมน้ำเหลือง

การตรวจสอบ TB มี 2 วิธีการด้วยกัน :

  • การตรวจสอบด้วยชิ้นส่วนเนื้อเยื่อ TB skin test
  • การตรวจสอบเลือด TB blood test

อย่างไรก็ตามอาการวัณโรคอาจไม่ปรากฏหรืออาจแฝงอยู่ แพทย์จะแนะนำวิธีการตรวจสอบเพิ่มเติมคือ  Sputum test และ Chest X-ray

ผู้ป่วยวัณโรคจำเป็นต้องได้รับการรักษาแม้ว่าจะเป็นวัณโรคแบบแฝงก็ตาม

การรักษาวัณโรค

การตรวจพบวัณโรคและรักษาด้วยยาปฏิชีวนะตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นสามารถประสบผลสำเร็จได้ การใช้ยาแก้วัณโรคและระยะเวลาของการรักษาขึ้นกับ:

  • อายุและสุขภาพโดยรวม
  • ประเภทของวัณโรค คือ แบบแสดงอาการหรือแบบแฝง
  • ตำแหน่งของการติดเชื้อ
  • ความดื้อยาของเชื้อวัณโรค

วิธีรักษาวัณโรคชนิดแฝงจะแตกต่างกับการรักษาวัณโรคแบบปกติ แพทย์จะทำรักษาโดยให้ผู้ป่วยใช้ยาปฏิชีวนะสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องนาน 12 สัปดาห์ หรือทุกวันในระยะเวลา 9 เดือน

การรักษาวัณโรคอาจจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดเป็นเวลา 6-9 เดือน ยิ่งผู้ป่วยที่เชื้อดื้อยา การรักษาก็จะยิ่งซับซ้อนขึ้น

การรักษาวัณโรคนั้นจำเป็นต้องให้หายขาด แม้ว่าอาการจะไม่ปรากฏแล้วก็ตาม หากใช้ยาไม่ครบตามแพทย์สั่ง แม้ว่าอาการจะหายไปแล้วก็ตาม แต่เชื้อวัณโรคยังคงหลงเหลืออยู่ ทำให้สามารถเจริญต่อไปได้หรืออาจนำไปสู่การพัฒนาการดื้อยาของเชื้อ ทั้งนี้การรักษาก็ขึ้นอยู่กับส่วนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวัณโรคด้วย 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *