โรคหลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคหลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

17.06
28667
0

โรคหลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis) หมายถึง อาการอักเสบของหลอดเลือดที่สามารถส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และผลกระทบกับอาการจะขึ้นกับบริเวณที่มีผลกระทบ

Vasculitis คือ กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดอักเสบ นั่นแสดงว่ารวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และหลอดเลือดแดง โดยโรคนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผนังของหลอดเลือด ซึ่งอาจรวมถึงรอยแผลเป็น อ่อนลง ตีบ และหนาขึ้น

โรคหลอดเลือดอักเสบมีทั้งชนิดฉับพลัน ชั่วคราว และเรื้อรัง ในบางกรณีอวัยวะในร่างกายอาจได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ ทำให้ไม่มีออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย สามารถนำไปสู่อันตรายที่ถึงแก่ชีวิต

อาการโรคหลอดเลือดอักเสบ

สัญญาณบ่งชี้ และอาการของโรคหลอดเลือดอักเสบแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลอดเลือด และอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ อาการทั่วไปของหลอดเลือดอักเสบมีดังนี้

  • ไข้
  • เหนื่อยง่าย เมื่อยล้า
  • น้ำหนักลด 
  • เบื่ออาหาร
  • เจ็บปวดข้อ
  • เจ็บปวดกล้ามเนื้อ
  • ชา และอ่อนแรง

ต่อไปนี้เป็นโรคหลอดเลือดอักเสบที่มีอาการเฉพาะแตกต่างกันไป

โรคเบห์เซ็ต (Behcet’s Disease)

อาการนั้นมีหลากหลาย อาจจะเป็นๆ หายๆ ได้

  • ปาก: มีแผลที่สร้างความเจ็บปวด เริ่มจากแผลธรรมดา และกลายเป็นแผลเปื่อยในที่สุด
  • ผิวหนัง: พบก้อนคล้ายสิว ในขณะที่บางคนอาจมีก้อนสีแดง นูนขึ้น และอ่อนนุ่ม โดยเฉพาะที่ขา
  • อวัยวะเพศ: พบแผลกลมสีแดง ทั้งในเพศชาย และเพศหญิง
  • ตา: พบตาอักเสบแบบ Uveitis
  • ข้อต่อ: โดยทั่วไปจะมีอาการบวม และปวดที่หัวเข่า หรืออาจจะเป็นที่ข้อเท้า ข้อศอก หรือข้อมือ
  • หลอดเลือด: เส้นเลือดมีการอักเสบ ส่งผลให้แขนขาบวม
  • ระบบทางเดินอาหาร: ปวดท้อง ท้องร่วง และอาจจะมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
  • สมอง: พบสมอง และระบบประสาทอักเสบอาจทำให้ปวดศีรษะ มีไข้ ไม่มีสมดุล และมึนงง

โรคเบอร์เกอร์ (Buerger’s Disease)

โรคเบอร์เกอร์ส่งผลต่อหลอดเลือดแดง และเส้นเลือดที่แขนและขา  หลอดเลือดจะบวม และอุดตันด้วยลิ่มเลือดที่เรียกว่า Thrombi ซึ่งในที่สุดจะสร้างความเสียหายทำลายผิวหนัง นำไปสู่การติดเชื้อ และแผลเปื่อยเน่าในที่สุด จากการวิจัยพบว่า การเกิดโรคสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่

โดยปกติความเจ็บปวดจะเริ่มที่แขนขา และลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ผู้ป่วยมักจะมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย

  • ชาแขนขา
  • รู้สึกเสียวซ่าแขนขา
  • มือ และเท้าซีดขาวในอากาศเย็น
  • แผลที่ผิวหนัง
  • เนื้อบริเวณนิ้วมือ และเท้า ตายเน่า
  • ความเจ็บปวดอย่างรุนแรง บริเวณที่ได้รับผลกระทบ

หลอดเลือดในระบบประสาทส่วนกลางอักเสบ(Central Nervous System Vasculitis)

โรคนี้เกี่ยวข้องกับสมอง และไขสันหลัง โดยอาการของโรคมีดังนี้

  • สภาพจิตใจเปลี่ยนแปลง
  • ปวดศีรษะ
  • ความมึนงง
  • อัมพาต หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปัญหาการมองเห็น
  • โคม่า
  • อาการชัก
  • ภาวะซึมเศร้า
  • Myelopathy เป็นความผิดปกติของไขสันหลัง

โรคเชิร์ก-สเตราส์ ซินโดรม (Churg-Strauss Syndrome)

เป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่หายาก ทำให้หลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำขนาดเล็กอักเสบ พบในผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้หรือหอบหืด

อาการหลักๆ คือ หอบหืด โดยอาจจะเป็นมานานก่อนที่โรคหลอดเลือดอักเสบจะกำเริบ

  • โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
  • เนื้องอก (ติ่ง) ในจมูก

ในระยะต่อไปอาจจะนำไปสู่ความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวมากเกินไป

Vasculitis

โรคโปรตีนในเลือดผิดปกติ (Cryoglobulinemia)

ภาวะนี้เชื่อมโยงกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ C ทำให้เลือดข้นผิดปกติเกิดจากการอักเสบของหลอดเลือด

อาการจะแตกต่างกันไปตามประเภทและอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ โดยปกติ อาการและอาการแสดง ได้แก่:

  • การหายใจมีปัญหา
  • เหนื่อยล้า
  • ปัญหาไต Glomerulonephritis 
  • ปวดข้อ
  • เจ็บกล้ามเนื้อ
  • เป็นรอยจ้ำๆ
  • มือ และเท้าซีดเมื่อเจอความเย็น
  • แผลที่ผิวหนัง

โรคหลอดเลือดใหญ่อักเสบ (Giant Cell Arteritis)

โรคนี้เป็นการอักเสบของหลอดเลือด ที่ทำให้เกิดอาการต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะ
  • ปวดไหล่
  • ปวดสะโพก
  • ปวดกรามขณะเคี้ยว
  • มีไข้
  • มองเห็นภาพซ้อน

โรคหลอดเลือดเล็กอักเสบ (Henoch-Schönlein Purpura)

หลอดเลือดขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่าเส้นเลือดฝอยหากเกิดอาการอักเสบในผิวหนัง หรือในไต ส่งผลให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณก้นและหลังส่วนล่าง สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบ หรือบางครั้งทำให้เกิดอาการปวดเกร็งในช่องท้อง

โรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease)

โรคนี้เป็นกลุ่มอาการหายากที่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิด โดยจะมีอาการอักเสบในผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ

โรคทากายาสุ (Takayasu’s Arteritis)

โรคนี้เป็นหลอดเลือดอักเสบชนิดหายาก โดยการอักเสบทำลายหลอดเลือดแดงใหญ่ซึ่งเป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่ที่นำเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบจากการขาดเลือด

โรค Wegener’s Granulomatosis

โรคนี้ทำให้หลอดเลือดอักเสบ และได้รับความเสียหาย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ รวมถึงปอด ไต และทางเดินหายใจส่วนบนที่เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย จึงถือว่าเป็นโรคที่อันตรายอย่างมาก

โรค Rapidly Progressive glomerulonephritis

ภาวะนี้เป็นอาการผิดปกติของไตที่ลุกลามอย่างรวดเร็ว สุดท้ายนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

อาการแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนสามารถเกิดได้หลากหลายมากสำหรับโรคหลอดเลือดอักเสบ จะแตกต่างกันไปตามโรคแต่ละชนิดที่กล่าวมาแล้ว แต่อาการแทรกซ้อนที่พบมากได้แก่

  • อวัยวะเสียหาย : เนื่องจากเลือดขนส่งออกซิเจน และสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการทำงานของอวัยวะ
  • โรคเกิดซ้ำ : แม้ว่าจะรักษาสำเร็จไปแล้วแต่ก็สามารถกลับมาเป็นอีกได้ และบางโรคจำเป็นต้องการการรักษาระยะยาว

สาเหตุของโรคหลอดเลือดอักเสบ

โรคหลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis) เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีหลอดเลือดโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งสาเหตุยังไม่เป็นที่ประจักษ์ แต่สิ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดได้แก่

  • การติดเชื้อ
  • มะเร็งบางชนิด
  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
  • อาการแพ้

หลอดเลือดอักเสบเป็นสาเหตุของ

  • ผนังหลอดเลือดหนาขึ้น
  • หลอดเลือดตีบตัน
  • การไหลเวียนของเลือดลดลง

การไหลเวียนของเลือดที่น้ลดลง ส่งผลให้ออกซิเจน และสารอาหารที่เข้าสู่อวัยวะ และเนื้อเยื่อของร่างกายจะลดลงตามด้วย ส่งผลให้หลอดเลือดที่ได้รับผลกระทบมีความไวต่อลิ่มเลือดมากขึ้น และหากหลอดเลือดอ่อนแรง อาจจะทำให้หลอดเลือดโป่งพองได้

การรักษาโรคหลอดเลือดอักเสบ

การรักษาหลอดเลือดอักเสบนั้นมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเภทโรคหลอดเลือดที่ผู้ป่วยเป็น รวมทั้งความรุนแรงของอาการ อายุ และสุขภาพโดยทั่วไป

แต่กรณีของ Henoch-Schonlein purpura อาการจะหายไปโดยไม่ต้องรับการรักษา

ต่อไปนี้คือยาที่ใช้บ่อยที่สุดสำหรับรักษาหลอดเลือดอักเสบ

ยาสเตียรอยด์ (Steroids)

ยาชนิดนี้ใช้เพื่อลดการอักเสบ เช่น  Prednisone หรือ Methylprednisolone (Medrol) ผลข้างเคียงอาจรุนแรงหากใช้ในระยะยาว ได้แก่

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • เบาหวาน
  • กระดูกพรุน

ยารักษาระบบภูมิคุ้มกัน

หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ แพทย์อาจสั่งยาที่แรง ที่มีฤทธิ์หยุดการทำงานเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น

  • Azathioprine (Imuran)
  • Cyclophosphamide (Cytoxan)
Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *