

แครนเบอร์รี่ (Cranberry) เป็นไม้พุ่มที่เขียวตลอดปี เจริญเติบโตในที่ลุ่มหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ แครนเบอร์รี่มีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนเหนือตอนกลางของสหรัฐอเมริกา เป็นต้นพุ่ม ใบเขียวเข้ม ดอกสีชมพู และผลไม้รูปไข่สีแดงเข้ม
แครนเบอร์รี่ถูกใช้ในการป้องกัน และรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTIs)
แครนเบอร์รี่ยังใช้ในการบรรเทาเรื่องนิ่วในไต ต่อมลูกหมากโต โรคหวัด และอาการอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนในเรื่องของความสามารถของแครนเบอร์รี่ในเรื่องเหล่านี้ได้ แครนเบอร์รี่สามารถแปรรูปไม่ว่าจะเป็นน้ำผลไม้แครนเบอร์รี่ ค็อกเทลแครนเบอร์รี่ เยลลี่ และซอส
กลไกทางประโยชน์ของแครนเบอร์รี่
หลายคนเคยอาจะคุ้นเคยว่าแครนเบอร์รี่ช่วยรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยทำให้ปัสสาวะเป็นกรด และขัดขวางการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่นักวิจัยไม่เชื่อแบบนั้น พวกเขาเริ่มดำเนินการวิจัย ด้วยสมมติฐานว่า สารเคมีบางชนิดในแครนเบอร์รี่ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเกาะติดกับเซลล์ที่อยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนได้ แต่ดูเหมือนแครนเบอร์รี่ไม่มีความสามารถในการขจัดแบคทีเรียที่เกาะติดกับเซลล์ไปแล้ว อย่างไรก็ตามนี่อาจอธิบายได้ว่าทำไมแครนเบอร์รี่ถึงมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แต่อาจไม่ได้ผลในการรักษา
แครนเบอร์รี่เหมือนกับผักและผลไม้อื่นๆ มีกรดซาลิไซลิกจำนวนมากซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในแอสไพริน การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่เป็นประจำจะเพิ่มปริมาณกรดซาลิไซลิกในร่างกาย โดยกรดซาลิไซลิกสามารถลดอาการบวม ป้องกันลิ่มเลือด และมีฤทธิ์ต้านเนื้องอก
วิธีการใช้ และสรรพคุณของแครนเบอร์รี่
ลูกแครนเบอร์รี่อาจจะมีประสิทธิภาพกับการติดเชื้อ
แครนเบอร์รี่อาจจะมีประสิทธิภาพต่อการติดเชื้อของไต กระเพาะปัสสาวะ หรือทางเดินปัสสาวะ (UTI) งานวิจัยบบางงานพบว่า การรับประทานแครนเบอร์รี่แคปซูล หรือชนิดเม็ดบางชนิดสามารถช่วยป้องกัน UTI ในผู้ที่เคยเป็นโรค UTI มาก่อน อย่างไรก็ตาม การวิจัยยังไม่ชัดเจนว่าการดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ช่วยป้องกัน UTI ไม่ให้เกิดซ้ำได้หรือไม่ การรับประทานผลิตภัณฑ์แครนเบอร์รี่บางชนิด หรือการดื่มน้ำแครนเบอร์รี่อาจป้องกันไม่ให้เกิด UTI ในผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และในเด็กที่เคยเป็นโรค UTI มาก่อน แต่แครนเบอร์รี่ไม่ได้ช่วยป้องกัน UTI ในบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับ UTI ซึ่งรวมถึงผู้ที่ได้รับการผ่าตัดใกล้กระเพาะปัสสาวะห รือทางเดินปัสสาวะ และผู้ที่มีภาวะกระเพาะปัสสาวะบาดเจ็บ (Neurogenic bladder) ที่เกิดจากการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง แม้ว่าแครนเบอร์รี่อาจช่วยป้องกันโรค UTI สำหรับบางคน แต่ก็ไม่ได้รับการยืนยันให้ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
น้ำแครนเบอร์รี่ไม่ได้มีประสิทธิภาพต่อเบาหวาน
ความเชื่อที่ว่าแครนเบอร์รี่ช่วยรักษาโรคเบาหวานนั้นไม่เป็นจริง มีการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแครนเบอร์รี่ ไม่ได้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน
ผลข้างเคียงของแครนเบอร์รี่
การรับประทาน: น้ำผลไม้แครนเบอร์รี่ และสารสกัดจากแครนเบอร์รี่โดยทั่วไปแล้วปลอดภัยสำหรับทุกคน แต่การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่มากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น การปวดท้องเล็กน้อย และท้องเสียในบางคน อีกทั้งการดื่มมากกว่า 1 ลิตรต่อวัน เป็นระยะเวลานานสามารถเพิ่มโอกาสในการเป็นนิ่วในไต
ข้อควรระวังในแครนเบอร์รี่
สตรีตั้งครรภ์ และให้นมบุตร: ยังมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการยืนยันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานแครนเบอร์รี่ที่ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุผลด้านการรักษา หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน
เด็กๆ: น้ำแครนเบอร์รี่นั้นปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่พอดี
ผู้ที่แพ้แอสไพริน: แครนเบอร์รี่มีกรดซาลิไซลิกจำนวนมาก กรดซาลิไซลิกมีฤทธิ์คล้ายกับแอสไพริน ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ปริมาณมาก หากมีอาการแพ้แอสไพริน
ผู้ที่เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ (Atrophic gastritis): น้ำแครนเบอร์รี่อาจเพิ่มปริมาณวิตามินบี 12 ที่ร่างกายดูดซึมสำหรับผู้ที่เป็นโรคดังกล่าว
ผู้ป่วยเบาหวาน: ผลิตภัณฑ์น้ำแครนเบอร์รี่บางชนิดมีรสหวานด้วยการเพิ่มน้ำตาล หากคุณเป็นเบาหวาน ควรใช้ผลิตภัณฑ์แครนเบอร์รี่ที่มีสารให้ความหวานทดแทน
ผู้ที่มีกรดในกระเพาะอาหารต่ำ (Hypochlorhydria) น้ำแครนเบอร์รี่อาจเพิ่มปริมาณวิตามินบี 12 ที่ร่างกายดูดซึมสำหรับผู้ที่เป็นโรคดังกล่าว
นิ่วในไต: น้ำแครนเบอร์รี่ และสารสกัดจากแครนเบอร์รี่มีสารเคมีที่เรียกว่า ออกซาเลตจำนวนมาก มีหลักฐานที่่ยืนยันว่า สารสกัดจากแครนเบอร์รี่บางชนิดสามารถเพิ่มระดับออกซาเลตในปัสสาวะได้มากถึง 43% เนื่องจากนิ่วในไตส่วนใหญ่เกิดจากออกซาเลตร่วมกับแคลเซียมทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกังวลว่า แครนเบอร์รี่อาจเพิ่มความเสี่ยงของนิ่วในไต เพื่อความปลอดภัย คสรหลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์สกัดจากแครนเบอร์รี่ หรือดื่มน้ำแครนเบอร์รี่มากเกินไป หากคุณมีประวัตินิ่วในไต
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก